สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 พ.ย. 65
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ชุมพร (154 มม.) จ.พิษณุโลก (134 มม.) และ จ.ระนอง (75 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 43,683 ล้าน ลบ.ม. (75%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,765 ล้าน ลบ.ม. (75%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ติดตามหน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนในพื้นที่ภาคใต้
กรมชลประทาน ได้เร่งดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้
• จ.สงขลา จัดเจ้าหน้าที่พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง บริเวณหมู่ที่ 2 ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในเขตพื้นที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
• จ.สุราษฎร์ธานี ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลขนาดท่อ 12 นิ้ว (1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณประตูระบายน้ำท่าม่วง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานีเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่โดยสามารถสูบน้ำ 52,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
• จ.นราธิวาส ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยระบบไฮดรอลิก ขนาดท่อ 30 นิ้ว (7,200 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง) จำนวน 1 เครื่อง บริเวณบ้านท่าแพ หมู่ที่ 10 ต.มะรือโบออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาสเพื่อรับมือและช่วยเหลืออุทกภัยในพื้นที่ โดยสามารถสูบน้ำ 158,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือน้ำหลาก และบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ดังนี้
• ขุดลอกลำน้ำ ต.บางพลวง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ทำให้มีปริมาตรในการกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภค บริโภค และใช้ในการเกษตร ประชาชนได้รับประโยชน์ 131 ครัวเรือน 407 คน
• ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ให้สามารถใช้น้ำ เพื่ออุปโภค บริโภค บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่บ้านโนนสวรรค์ ม.7 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี โดยมีผู้รับประโยชน์ จำนวน 150 ครัวเรือน ประชากร 523 คน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลชุดปฏิบัติงานช่าง ปฏิบัติงานขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ ประสบภัยแล้ง ณ บ.โนนสวรรค์ ม.7 ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ให้สามารถใช้น้ำเพื่ออุปโภค –บริโภค บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ โดยมีผู้รับประโยชน์ จำนวน 150 ครัวเรือน ประชากร 523 คน ผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 80
สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 27 – 29 พ.ย. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคใต้มีกำลังอ่อน ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยมีฝน ส่วนในวันที่ 30 พ.ย. – 2 ธันวาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 43,685 ล้าน ลบ.ม. (75%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 35,765 ล้าน ลบ.ม. (75%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 4,765 ล้าน ลบ.ม. (94%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,156 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 14,158 ล้าน ลบ.ม. (78%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 35,379 ล้าน ลบ.ม. (75%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,438 ล้าน ลบ.ม. (7%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 355 ล้าน ลบ.ม. (4%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมโยธาธิการและผังเมือง ประชุมหารือแนวทางการกำหนดรูปแบบการจัดทำผังการจัดการน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน และผังภูมิสังคมพื้นที่ (Geo-social Mapping) ครั้งที่ 1/2565 เพื่อบูรณาการข้อมูล และกำหนดรูปแบบแนวทางในการดำเนินงานร่วมขับเคลื่อนการจัดทำผังน้ำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นส่วนหนึ่งของผังภูมิสังคมพื้นที่ Geo – social Mapping ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ