GDP เกาหลีใต้ต่ำกว่า 1% ต่อเนื่อง 2 ไตรมาส
ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ต่ำกว่า 1% ในไตรมาส 2 – 3 จากเงินลงทุนบริษัทที่ต่ำลงสวนทางกับการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลธนาคารกลางเกาหลีเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.
โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP มีการเปลี่ยนแปลงสำหรับเงินเฟ้อ จำนวน 400.2 ล้านล้านวอน หรือราว 11.85 ล้านล้านบาทในไตรมาสเดือนก.ค. – ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.6% จากไตรมาสก่อน อ้างอิงจากธนาคารกลางเกาหลีใต้
ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตเดียวกันกับในไตรมาส 2 หลังจากขยายตัว 1% ในไตรมาสแรก
การลงทุนบริษัทอ่อนแรงลงโดยเฉพาะในภาคการก่อสร้างเนื่องจากรัฐบาลเผยมาตรการออกมาเป็นชุดเพื่อควบคุมการลงทุนในตลาดอสังหาริมทรัพย์
โดยการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างดิ่งร่วงลง 6.7% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
การใช้จ่ายงบประมาณขยายตัว 1.5% ในไตรมาสเดือนก.ย. จากผลกำไรที่เพิ่มขึ้นของประกันสุขภาพสาธารณะ
ตัวเลขการส่งออก ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก ขยายตัวเติบโตขึ้น 3.9% ในไตรมาส แต่ตัวเลขนำเข้าลดลง 0.7%
BOK คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเกาหลีใต้จะขยายตัว 2.7% ในปี 2561 สำหรับ 9 เดือนแรกของปีนี้ โดย GDP จริงเติบโต 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เพื่อให้บรรลุแนวโน้มการเติบโตของ BOK ตัวเลข GDP จริงต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.84% ในไตรมาส 4 บนพื้นฐานต่อไตรมาส
เพื่อหนุนการบริโภคภาคเอกชน รัฐบาลลดภาษีบริโภคสำหรับรถยนต์และภาษีน้ำมันลงในส่วนน้ำมันเบนซินและดีเซล แต่เศรษฐกิจยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงด้านลบ
BOK ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 1.50% เป็น 1.75% ในช่วงปลายเดือนพ.ย.เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินสำหรับทั้งครัวเรือนและบริษัท กดดันการลงทุนของบริษัทและภาระหนี้ของครัวเรือน ซึ่งเร่งซื้อบ้านใหม่
ในส่วนอุตสาหกรรม การผลิตของผู้ผลิตเติบโตขึ้น 2.3 ในไตรมาส 3 จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ภาคก่อสร้างลดลง 5.7% ในไตรมาสเดือนก.ย
ผลผลิตอุตสาหกรรมบริการขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5% จากการเติบโตในภาคส่วนสวัสดิการสังคมและสุขภาพ
รายได้ประชาชาติจริง (GNI) ซึ่งเป็นมาตรวัดรวมของรายได้ในประเทศและต่างประเทศของประชาชน ปรับเพิ่มขึ้น 0.7% ในไตรมาส 3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า.