อียูให้ 7 พันยูโร ช่วยผู้อพยพขึ้นฝั่งหนึ่งคน
คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอจะให้เงินประเทศสมาชิกจำนวน 6,000 ยูโร สำหรับการช่วยผู้อพยพแต่ละคนให้ขึ้นฝั่งจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะชะงักงันทางการทูตในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ผู้ลี้ภัยนับร้อยรายลอยอยู่บนเรือในทะเลนานหลายวัน
ภายใต้ข้อเสนอที่มีการเผยแพร่เมื่อวันที่ 24 ก.ค. คณะกรรมาธิการจะให้เงินทุนสำหรับศูนย์ควบคุมในยุโรป ซึ่งหวังว่าจะเป็นการปรับปรุงกระบวนการช่วยเหลือผู้อพยพจากทะเล
มีข้อเสนอนี้เกิดขึ้นหลังจากรมว.กระทรวงมหาดไทย Matteo Salvini ของอิตาลียังคงพูดจาแสดงแนวคิดต่อต้านผู้อพยพ โดยปฏิเสธที่จะยอมให้เรือกู้ชีพมาจอดในท่าเรือของอิตาลีในช่วงหลายเดือนนี้
โดยศูนย์ช่วยเหลือประกอบด้วยทีมขึ้นฝั่ง ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่ประจำพรมแดน ล่าม และผู้เชี่ยวชาญในการคัดกรองการขอลี้ภัยและดำเนินการ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาล
เมื่อเรือผู้อพยพขึ้นฝั่งในยุโรป เป้าหมายคือการลงทะเบียนและการคัดกรองการขอลี้ภัยให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากนี้ ผู้อพยพจะต้องเลือก 1 ใน 3 ทางเลือก คือ เดินทางกลับประเทศต้นทาง ถูกโอนไปให้ประเทศสมาชิกอื่น หรือถูกโอนไปที่ศูนย์รับผู้ลี้ภัยแห่งชาติ
โดยในส่วนหนึ่งของแผน คณะกรรมาธิการจะให้งบประมาณที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการโอนย้ายผู้อพยพจำนวน 500 ยูโรต่อคน กับประเทศที่รับผู้อพยพขึ้นฝั่ง
ประเทศในยุโรปเกี่ยงกันเรื่องความรับผิดชอบ ทำให้ผู้อพยพหลายร้อยคนถูกทิ้งให้ลอยบนเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนานหลายวันในเดือนมิ.ย. โดยหลายคนเดินทางผ่านทวีปแอฟริกาเพื่อมาให้ถึงชายฝั่งของลิเบีย
สเปนรับภาระหนักอึ้ง โดยต้อนรับผู้อพยพนับร้อยรายเข้าประเทศในฤดูร้อนนี้ ขณะเดียวกัน รมว.Salvini ของอิตาลี ผลักดันให้มีความรับผิดชอบร่วมกันมากขึ้นกับทั้งเจ้าหน้าที่ชายฝั่งลิเบีย เพื่อปกป้องและส่งพวกเขากลับทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่กลุ่มสิทธิออกมาเตือน ควรจะประณามผู้อพยพที่ก่อให้เกิดความรุนแรงและและการละเมิดมากขึ้น
ท่ามกลางวิกฤตผู้อพยพที่ร้าวลึก ผู้นำอียูฉีกข้อตกลงที่ทำเมื่อช่วงต้นเดือนเพื่อจัดตั้งศูนย์ดำเนินการในยุโรปที่จะคัดกรองผู้ขอลี้ภัยถูกกฎหมายและผู้อพยพที่ผิดปกติ ซึ่งจะถูกส่งกลับ
แต่ดีลที่ตกลงกันอยู่บนพื้นฐานของจิตอาสา และรัฐบาลยังไม่ได้ประกาศแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ในอาณาเขตประเทศใดๆ
ทูตยุโรปมีกำหนดจะปรึกษาหารือกันเรื่องแนวคิดนี้ในวันที่ 25 ก.ค. และจะมีการประชุมอีกครั้งตามที่กำหนดไว้คือวันที่ 30 ก.ค. ขณะที่จะมีการปฏิบัติตามแนวคิดนำร่องที่มีความยืดหยุ่นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ คณะกรรมาธิการระบุในแถลงการณ์
“ ตอนนี้เราต้องการแก้ไขปัญหาของยุโรปเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐาน เราพร้อมที่จะสนับสนุนประเทศสมาชิก และประเทศที่ 3 ในการประสานความร่วมมือกันเพื่อให้ผู้อพยพขึ้นฝั่งจากทะเล ” Dimitris Avramopoulos คณะกรรมาธิการยุโรประบุ “ เรื่องนี้เราต้องลงมือทำทันที เราจำเป็นต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ใช่เฉพาะตอนนี้ แต่ในระยะยาวด้วย ”
จนถึงตอนนี้ มีผู้อพยพ 42,000 คนที่เดินทางข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมาที่ยุโรปในปีนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ลดลงจากที่เคยพุ่งสูงสุดในปี 2558 ที่มีผู้อพยพเดินทางเข้ามาที่ยุโรปมากกว่า 1 ล้านคน