สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 เม.ย. 68

1. สรุปสถานการณ์น้ำวันนี้ : ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีอากาศร้อนในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คาดการณ์ : วันที่ 18 – 22 เม.ย. 68 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุม ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้จะมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 59% ของความจุเก็บกัก (47,495 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 40% (23,350 ล้าน ลบ.ม.)
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ระดับน้ำต่ำกว่าระดับควบคุมต่ำสุดหรือมีน้ำใช้การน้อยกว่า 30% 12 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่มอก และทับเสลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง และสิรินธร
ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ และกระเสียว
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และคลองสียัด
-เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำเก็บกักน้อยกว่า 30% จำนวน 89 แห่ง ดังนี้
ภาคเหนือ 11 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 50 แห่ง ภาคกลาง 5 แห่ง ภาคตะวันออก 12 แห่ง ภาคตะวันตก 9 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง
สทนช. บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวางแผนการบริหารจัดการน้ำตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำ และลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วนตลอดฤดูแล้ง และสร้างการรับรู้ ประชาสัมพันธ์การแจ้งเตือน การให้ความช่วยเหลือผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ : สทนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากบางส่วนของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 15 – 17 เมษายน 2568 ดังนี้
1. ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ และตาก
2. ภาคกลาง บริเวณ จ.สระบุรี
3. ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ตราด
4. ภาคตะวันตก บริเวณ จ.กาญจนบุรี และเพชรบุรี
5. ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ ตรัง สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส
สทนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงที
5. ข่าวประชาสัมพันธ์ : วานนี้ (16 เม.ย. 68) นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการแจ้งข้อมูลของส่วนราชการและการสร้างการรับรู้แก่ประชาชน กรณีเกิดแผ่นดินไหวและสาธารณภัยอื่น โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการกำหนดเกณฑ์การแจ้งเตือนภัย ผู้แทนแต่ละหน่วยงานได้นำเสนอเกณฑ์การแจ้งเตือนภัยต่อที่ประชุม เช่น กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี ได้ชี้แจงเกณฑ์การแจ้งเตือนภัยแผ่นดินไหว ส่วนกรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ชี้แจงเกณฑ์การแจ้งเตือนภัยน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งแต่ละหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานร่วมกัน และพร้อมที่จะปรับปรุงระเบียบปฏิบัติประจำ (SOP) ด้านการแจ้งเตือนให้มีความประสานสอดคล้องเพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถทำงานด้านการแจ้งเตือนภัยร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มอบหมายให้ สทนช. ดำเนินการดังนี้
1. ให้เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการบูรณาการด้านระบบคาดการณ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมทุกลำน้ำสายหลักและสายรอง
2. ให้หน่วยงานวิเคราะห์ร่วมกันบูรณาการคาดการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องน้ำป่าไหลหลากที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่สามารถแจ้งเตือนได้ทันท่วงที
3. ให้พิจารณาโดยให้ความสำคัญในการดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) สำหรับโครงการการจัดหาระบบตรวจวัดและแจ้งเตือนภัยในระดับท้องถิ่น
4. ให้ขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนป้องกันแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วมในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 เม.ย. 68