รถเก่ามาแลกรถใหม่ – อีวี (ไม่ใช่รถยนต์คันแรก)

ทันทีที่ไม่มี “นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์” นั่ง ตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี กระแสต่อต้านรถยนต์ไฟฟ้า ก็เบาลง…เบาลงจนหายวูบ ดับไป

เพราะด้วยเหตุผล กลไดไม่มีใครทราบ…แต่ที่แน่นอนคือ ค่ายญี่ปุ่น โดยเฉพาะ โตโยต้า เมิน รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) มาโดยตลอด
และยังย้ำทุกครั้งที่พบ “นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ว่า “ยังไม่พร้อมที่จะประดิษฐ์รถอีวี” ในขณะนี้ แต่จะให้ความสำคัญในการประดิษฐ์ “รถยนต์ไฮบริด” เป็นเป้าประสงค์หลัก
และแล้ว ปรากฏการณ์ จุดประกายรถอีวี ก็หวนกกลับมาอีกครั้ง หลังจาก “นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์” มานั่งในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน ยังไม่ทันข้ามเดือน

การประชุมบีโอไอนัดแรกเมื่อ ก็มีมติ สนับสนุนการผลิตและพัฒนารถอีวีเต็มที่ ทั้งลดภาษี ขยายประเภทยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อ รถโดยสารและรถบรรทุก รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้า
อ่านข่าว : บีโอไอ ออกแพคเกจกระตุ้นลงทุนรถ EV
ทั้งนี้ก็เพื่อเร่งรัดการผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100 % ในประเทศ…
แต่ดูเหมือนกระแสเสียงที่ถูกคาดการณ์กันว่าจะ “อื้ออึง” จากมาตรการดังกล่าว…กลับเงียบหายไป เพราะค่ายรถยนต์ที่ออกมาขานรับมีเพียงไม่กี่ค่าย จาก ยุโรป และ จีน

ขณะที่ค่ายรถญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเจ้าพ่อยานยนต์ในไทยตัวจริง ต่างก็เงียบกริบ…โดยเฉพาะ โตโยต้า ฮอนด้า เงียบกริบ เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมก็โหมข่าวเกี่ยวกับ ฝุ่น PM 2.5 ที่มาหลังฤดูฝน พร้อมกับฟื้นโครงการถยนต์ใหม่แลกรถยนต์เก่า อย่างต่อเนื่อง
แต่ในรอบนี้ได้พุ่งเป้าไปที่ รถอีวี ไม่สน รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน เพื่อเปิดทางให้ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่จากประเทศ จีน เข้ามามีโอกาสลุ้นทำค่ายรถยนต์ในประเทศไทย แข่งก็รถยนต์ค่าย ญี่ปุ่น ขาใหญ่ดั่งเดิม
ซึ่งล่าสุดเมื่อ 18 พ.ย.63 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 หรือ ศบศ. ไฟเขียว ทันที กับหลักการนำรถเก่าที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มาเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการส่งเสริมมาตรการกระตุ้นการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าและบริหารจัดการซากยานยนต์

ขณะที่ “นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คลัง ทำตัว งงๆ ไม่รู้เรื่องตลอดเวลา…
ต่างจากภาคเอกชน อย่าง “บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)” หรือ “EA” ได้ขานรับในทันที ด้วยการเปิดเผยถึงความคืบหน้าก่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่เดินหน้าไปกว่า 90% แล้ว และจะเริ่มผลิตเซลล์แบตเตอรี่ได้ใน เดือน ม.ค.ปี 2564
จากนั้นจะก้าวเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 3 เดือน ซึ่งจะสามารถป้อนแบตเตอรี่เข้าสู่สายธุรกิจผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ในกลุ่มของบริษัทฯ ประกอบด้วย รถยนต์ไฟฟ้า (EV) รถบัสโดยสารไฟฟ้า (E Bus) และเรือโดยสารไฟฟ้า (E Ferry) ได้ทันที

และสำหรับโครงการลงทุนปี 2564 โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นการลงทุนในโครงการต่อเนื่องจากปี 2563 ที่มุ่งเน้นธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน
เหล่านี้แสดงให้เห็นแล้วว่า อิทธิพลของรถอีวี กำลังแผ่ขยายเข้าสู่ชีวิตคนไทยมากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่าในอนาคต อีกไม่กี่ปีคนไทยก็จะหันใช้รถอีวีมากขึ้น มากขึ้น ในขณะที่รถยนต์เก่าที่ใช้น้ำมัน ก็กลายเป็นสิ่งที่ “น่ารังเกียจ” ต้องทำลาย หรือ ขายทิ้ง ออกนอกประเทศไป
เพราะมันคือ “เกม”
“เกม” ที่สะท้อน “สงครามทางการค้า” ที่กำลังจะเกิดขึ้น อย่างแท้จริง!!!