เปิด “Timeline” แผนรับซื้อไฟ ก.พลังงาน

โรงไฟฟ้าชุมชน อาจจะเหลือแค่ชื่อ หากไม่บรรจุวัตถุประสงค์ Quick win แปลงร่างเป็นโรงไฟฟ้าขยายผล เพราะโยกโควตาจาก SPP Hybrid มาลงแทน
ส่วน แผน PDP 2018 มีแววว่าอายุสั้นจะลง เพราะ PDP 2022 กำลังมา…
หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 20 ต.ค.63 มีมติเห็นชอบแผนพลังงาน 5 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1) ที่มีเรื่องโรงไฟฟ้าชุมชน จำนวน 1,933 เมกะวัตต์ บรรจุอยู่ในแผน
2.ร่างแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) 3.ร่างแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561-2580 (EEP 2018) 4.ร่างแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561-2580 (Gas Plan 2018) และ 5.แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563-2567

ล่าสุด นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เผย แนวทางการดำเนินการ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 หรือ แผน PDP 2018 Rev.1 ว่า
ในส่วนของโครงการ โรงไฟฟ้าชุมชน กรอบการรับซื้อ 1,933 เมกะวัตต์ในปี 2563-2567 นั้น จะมีโครงการนำร่องไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ ประกาศเปิดรับซื้อได้ต้นปี 2564 หรือประมาณเดือน ม.ค. 2564 และจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายใน ปี 2566
โดยขนาดของโรงไฟฟ้าชุมชนอยู่ที่ 3-6 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีการประมูลแข่งขันด้านราคา ซึ่งจะคำนึงถึงศักยภาพสายส่ง สาย จำหน่ายไฟฟ้าที่จะมารองรับ ศักยภาพของเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในพื้นที่ส่งเสริมพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และจะมีการประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินงานของโครงการนำร่องก่อนนำไปพิจารณาขยายผล ในเป้าหมายรับซื้อส่วนที่เหลือ
หากไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ อาจจะพิจารณายกเลิกการดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือ

สำหรับ โรงไฟฟ้า Quick win ขนาดกาลังผลิต 100 เมกะวัตต์ เดิมอยู่ในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงไฟฟ้าขยายผล และเปลี่ยนโควต้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน มาใช้โควตาที่เหลือจาก SPP Hybrid ที่ถูกยกเลิก เนื่องจากไม่สามารถดาเนินการได้ตาม PPA ของ กกพ.
ทั้งนี้เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโรงไฟฟ้าที่สร้างเสร็จแล้วแต่ไม่สามารถขายไฟฟ้าได้ เนื่องจากติดปัญหาสายส่งในอดีต แต่ปัจจุบันสายส่งได้รับการปรับปรุงแล้ว
หรือโรงไฟฟ้าที่ยังไม่มี PPA ซึ่งใช้เชื้อเพลิงจากชีวมวล และก๊าซชีวภาพในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะเปิดรับซื้อประมาณ 100 เมกะวัตต์
ด้านราคารับซื้อเบื้องต้นไม่เกิน 2.44 บาทต่อหน่วย โดยใช้วิธีการแข่งขันด้านราคาเพื่อให้ไม่ก่อให้เกิดภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้า คาดจะประกาศเปิดรับซื้อได้ต้นปี 2564
ส่วนโครงการพลังงานทดแทน หรือ RE เปิดรับซื้อใหม่ในระยะสั้น ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar ภาค ประชาชน/พลังงานแสงอาทิตย์อื่นๆ) กำลังผลิตรวม 250 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2563 – 2567 ปีละ 50 เมกะวัตต์
โครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน กำลังผลิตรวม 400 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2565 โครงการชีวมวลประชารัฐ (ศอ.บต.) กำลังผลิตรวม 120 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2565 – 2566 ปีละ 60 เมกะวัตต์

โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม กำลังผลิตรวม 270 เมกะวัตต์ เข้าระบบปี 2565 – 2567 ปีละ 90 เมกะวัตต์
โดยกระทรวงพลังงาน จะจัดทำนโยบายเปิดรับซื้อ และกำหนดอัตรารับซื้อไฟฟ้า สำหรับแต่ละโครงการนำเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการออกระเบียบ ประกาศรับซื้อ และ คัดเลือก ต่อไป
สำหรับแนวทางการลดระดับกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) ในระยะสั้น นั้น นายกุลิศ บอกว่า อยู่ระหว่างการหารือร่วมระหว่าง สนพ. สานักงาน กกพ. และ กฟผ.
แต่แนวทางเบื้องต้น จะนำไปขายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ พม่า กัมพูชา และเร่งปลดโรงไฟฟ้าเก่าออกจากระบบเร็วขึ้น (Buy Out) เป็นต้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายใน 6 เดือน
นอกจากนั้น กระทรวงพลังงานยังเตรียมจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่ สำหรับ PDP2022 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จ้าง นิด้า จัดทำโมเดลพยากรณ์คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2564

นายกุลิศ ยังบอกอีกว่า ต่อไปนี้ กระทรวงพลังงานจะมีการทบทวนแผน PDPทุกๆ 5 ปี ซึ่งอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเริ่มกระบวนการจัดทำค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเป็นสำคัญ
เช่น สถานการณ์การใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลกระทบจาก COVID-19 การประเมินการเติบโตของเศรษฐกิจ และ GDP ใหม่
รวมทั้ง แนวโน้มการใช้ไฟฟ้าและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกี่ยวข้อง เช่น EV, Solar, ESS, และ Prosumer การเตรียมความพร้อมในการเป็น Regional Power Hub ของ กฟผ.
และนำผลการศึกษาของ สนพ. ที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานมาประกอบการ

จัดทาแผน PDP2022 เช่น การจัดทา PDP รายภูมิภาค ความเหมาะสมของสัดส่วนโรงไฟฟ้าฐาน ระดับกาลังผลิตสารองที่เหมาะสม รวมถึงทิศทางการลดการปล่อย CO2 ตาม NDC ในภาคพลังงานของประเทศ เป็นต้น
ส่วนการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ นั้น นายกุลิศ บอกว่า อีก 6 เดือน กระทรวงพลังงานจะจัดประชุมสัมมนารับฟังความเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนทั่วไป ภาครัฐและภาคเอกชน
ทั้งนี้ก็เพื่อรับทราบความต้องการ ปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนพลังงานแห่งชาติ โดยรวม 5 แผน TIEB ให้เป็นแผนเดียวกัน ตามข้อเสนอแนะของ สศช. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 (ปี 2022) และเสนอ กพช. และ ครม. เห็นชอบต่อไป