แนวทางเปลี่ยนบัตรเดบิตเป็นบัตรชิปการ์ด 5 แบงค์ใหญ่
ตั้งแต่ปี 2559 ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสถาบันการเงิน ได้ร่วมกันผลักดันการปรับเปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มจากรูปแบบบัตรแถบแม่เหล็ก (magnetic card) ให้เป็นบัตรชิปการ์ด (chip card) ที่เป็นมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ป้องกันการปลอมแปลงบัตร (counterfeit card fraud) และการโจรกรรมข้อมูล (skimming) นำไปทำบัตรปลอม และใช้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม
ปัจจุบันมีบัตรแถบแม่เหล็กที่ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นชิปการ์ด 20 ล้านใบ มีการกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครประมาณ 30% นอกเหนือจากนี้จะกระจายอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง 19% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 26% ภาคเหนือ 14% และภาคใต้ 12% โดยบัตรคงค้างของธนาคารพาณิชย์มีสัดส่วนสูงกว่าบัตรของธนาคารรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการผลักดันให้มาเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการด์ แต่คาดว่าจะยังมีบัตรบางส่วน เช่น บัตรเอทีเอ็มที่ไม่มีวันหมดอายุ หรือบัตรที่ไม่มีการใช้งานมานาน (Inactive) คงค้างอยู่ในระบบบ้าง โดยปัจจุบันบัตรประเภท Inactive มีจำนวนประมาณเป็น 30% ของบัตรทั้งหมด พบว่ามีผู้เปลี่ยนบัตรเป็นชิปการ์ดไปแล้วประมาณ 47 ล้านใบ และยังคงมีบัตรแถบแม่เหล็กคงเหลือที่ยังไม่ได้เปลี่ยนอีกประมาณ 20 ล้านใบทั่วประเทศ ซึ่งหลังจากการผลักดันให้เปลี่ยนเป็นบัตรชิปการ์ดพบว่าปัญหาด้านความปลอดภัยมีลดลงเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน ป้องกันความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น และให้ผู้ถือบัตรสามารถใช้งานบัตรได้อย่างต่อเนื่อง ธปท.จึงประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ยังใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มแบบแถบแม่เหล็กอยู่ในปัจจุบันรีบติดต่อธนาคารที่ใช้บริการได้ทุกสาขาเพื่อเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ดให้แล้วเสร็จ โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร
บัตรตรแบบชิปการ์ด จะมาแทนบัตรแบบแถบแม่เหล็ก เพื่อเป็นการยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และป้องกันความเสี่ยงจากภัยไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้น และให้ผู้ถือบัตรสามารถใช้งานบัตรได้อย่างต่อเนื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ยังใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มแบบแถบแม่เหล็กอยู่ในปัจจุบันรีบติดต่อธนาคารที่ใช้บริการได้ทุกสาขา เพื่อเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรชิปการ์ดให้แล้วเสร็จ โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน บัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มใบเดิม และสมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนบัตร
แนวทางดำเนินการแลกบัตรแถบแม่เหล็กไปเป็น ชิปการ์ด
ธนาคารกรุงไทย
มีลูกค้าในระบบที่ใช้บัตรดั้งเดิมประมาณ 12 ล้านราย ก็ยังสามารถใช้บัตรเก่าได้จนกว่าจะถึงปลายปี 2562 ส่วนกรณีที่บัตรชำรุดหรือเสียหาย สามารถติดต่อเพื่อเปลี่ยนบัตรใหม่หรืออัพเกรดบัตรใหม่ได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมค่าเปลี่ยนที่ธนาคารทุกสาขาทั่วประเทศ ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีธนาคารจะคิดในอัตราปกติตามแต่ละประเภทของบัตร โดยบัตรแบบธรรมดาก็จะคิดที่ 200 บาทต่อปี เช่นเดิม
ธนาคารกสิกรไทย
แจ้งว่าลูกค้าบัตรเดิมที่เป็นแถบแม่เหล็ก หากยังไม่ประสงค์จะเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้ได้เหมือนเดิม และอัตราค่าธรรมเนียมรายปีก็จะเหมือนเดิมจนกว่าบัตรจะหมดอายุ ส่วนลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนบัตรก็สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา โดยให้นำสมุดบัญชีและบัตรประชาชนมา ทางธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรใบใหม่ให้ ลูกค้าชำระเพียงค่าธรรมเนียมรายปีเท่านั้น เช่น K-Debit Card ค่าธรรมเนียมรายปีจะอยู่ที่ 200 บาท
ธนาคารไทยพาณิชย์
แจ้งว่าลูกค้าบัตรแบบเก่าจะยังสามารถใช้บัตรเดิมต่อไปได้ถึงปลายปี พ.ศ. 2562 โดยเงื่อนไขทุกอย่างเหมือนเดิม แต่หากลูกค้าต้องการเปลี่ยนบัตรก็สามารถติดต่อธนาคารได้ทุกสาขา นำสมุดบัญชี บัตรประชาชน และบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตใบเดิมมาทำบัตรใหม่โดยมีค่าธรรมเนียมบัตรใหม่ 100 บาท แต่มีโปรโมชั่นให้กับลูกค้าโดยหากมาเปลี่ยนภายในเดือนกรกฎาคมนี้ ก็จะยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรให้ ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรใหม่ปีแรกจะลดให้เหลือ 250 บาทจาก 300 บาท บัตรใหม่นี้จะมีความคุ้มครองทรัพย์สินและเงินสดสูงสุด 5,000 บาทต่อปีด้วย หากลูกค้าเปลี่ยนเป็นบัตรใหม่ภายในสิ้นปีนี้
ธนาคารกรุงเทพ
ถือเป็นเจ้าแรกที่มีการออกบัตรเอทีเอ็มใหม่ที่เป็นชิปการ์ดมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังมีลูกค้าที่ถือบัตรเอทีเอ็มแบบเก่าอยู่ ธนาคารได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าสามารถมาเปลี่ยนบัตรได้โดยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนจนถึงปลายปี 2559 นี้ แต่จะยกเว้นการฟรีค่าธรรมเนียมสำหรับกรณีบัตรหาย หรือบัตรชำรุด
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ไม่มีการยกเว้นค่าธุรกรรมเนียมการเปลี่ยนบัตรเป็นแบบใหม่ และต้องติดต่อเพื่อเปลี่ยนบัตรกับธนาคารสาขาเจ้าของบัญชีเท่านั้น หากติดต่อต่างสาขาก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม 30 บาท ด้วย
สำหรับคนที่เปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กมาเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ด ก็คงจะเป็นความชิค ไม่ตกเทรนด์ แถมยังได้บัตรใบใหม่ดีไซน์ทันสมัยขึ้นด้วย แต่นอกจากนี้แล้วจะมีอะไรเปลี่ยนไปแค่ไหน
1. บนบัตรมี Chip Card ให้เห็น
2. เครื่องรับบัตรฯ ไม่ต้องใช้แบบรูดแล้ว
3. ลดภาระการถือบัตรหลายใบ
4. รองรับนวัตกรรมการชำระเงินใหม่ๆ
5. ยกระดับสู่การชำระแบบ e-Payment
6. ได้ส่วนลด/สิทธิพิเศษเพิ่ม
7. สอดคล้องกับมาตรฐานสากล