ทีมดับไฟใต้ จากยุคยิ่งลักษณ์ สู่ รัฐบาลพิธา 1
โพลประชามติแบ่งแยกดิน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น “รัฐปาตานี” กลายเป็น “เงื่อนไข”
ขบวนการสันติสุขของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ยากยิ่งกว่ายากวงเสวนาของ “ขบวนการนักศึกษาแห่งชาติ” สำรวจเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติให้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ “ปกครองตนเอง” หรือ “รัฐปาตานี” หรือไม่ กลายเป็น “น้ำผึ้งหยดเดียว” นำไปสู่การยุบพรรค-ตามกฎหมายพรรคการเมืองตอกย้ำด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะแบ่งแยกมิได้นำไปสู่การออกมาปฏิเสธของพรรคประชาชาติ-พรรคเป็นธรรม-พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค ที่มี “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 30 – รัฐบาลพิธา 1 ที่มีนโยบายแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมี “ดรีมทีมดับไฟใต้” คนใหม่-หน้าเดิม“กัณวีร์ สืบแสง” เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ต้องการให้การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็น “วาระแห่งชาติ” ภายใต้ยุทธศาสตร์ “พลเรือนนำทหาร” และมี “เจ้าภาพ” ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ “ทุบโต๊ะ” อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ “กัณวีร์” ยังเสนอให้ผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (facilitator) มาจากประเทศที่ “เป็นกลาง” ซึ่ง “ผู้อำนวยความสะดวก” คนปัจจุบัน คือ “พล.อ.ตันซรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน”“กันวีร์” เคย “เปิดตัว” เป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตสวนหลวง-ประเวศ พรรคไทยสร้างไทย ของ “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 โดยได้เข้ามาทำงานในคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนก่อนมาทำงานการเมือง “กัณวีร์” รับราชการในสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กองความมั่นคงกิจการชายแดนและการป้องกันประเทศ
อย่างไรก็ตามการรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา (19 กันยายน 2549 กับ 22 พฤษภาคม 2557) ทำให้ “กัณวีร์” หมดไฟความหวังจึงลาออกต่อมาได้ทำงานในสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นเวลา 12 ปี 8 ประเทศ ได้แก่ รไทย ฟิลิปปินส์ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกานดา บังคลาเทศ และ เมียนมาร์“กัณวีร์” เป็นหัวหน้าสำนักงานภาคสนาม UNHCR ในซูดานใต้และหลายเมืองในดาร์ฟู ซูดานเหนือ ถูกส่งไปเป็นหัวหน้าทีมเผชิญสถานการณ์ฉุกเฉิน (ERT) ซูดานใต้ ครั้งประกาศเอกราชต่อซูดานเหนือ รวมถึงฟิลิปปินส์ช่วงวิกฤตไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
ปลายปี 2564 “กันวีร์” ลาออกจาก UNHCR โดยมีตำแหน่งสุดท้าย คือ หัวหน้าสำนักงาน UNHCR ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยมีสำนักงานอยู่เมืองพะอัน รัฐกระเหรี่ยง ของเมียนมาร์ปัจจุบัน “กัณวีร์” ยังเป็นประธานมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ – Peace Rights Foundation โดยมีภารกิจแรก คือ การช่วยผู้ลี้ภัยในเมียนมาร์และผู้ลี้ภัยที่ข้ามแดนมาฝั่งไทยตลอดระยะเวลาของ “กันวีร์” ในฐานะประธานมูลนิธิสิทธิเพื่อสันติภาพ มีบทบาทในด้านสิทธิมนุษยชนมากมาย อาทิ การแก้ปัญหาชาวอุยกูร์ โดยเฉพาะการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 1 คีย์แมน ที่มีบทบาทในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก คือ “พล.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เลขาธิการพรรคประชาชาติ และว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ
พล.ต.อ.ทวีจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 37 หรือ เตรียมทหารรุ่นที่ 20 (ตท.20) และเริ่มต้นชีวิตรับราชการเป็นข้าราชการตำรวจเป็นรองสารวัตรสอบสวน สถานีตำรวจภูธรท่าใหม่ จังหวัดจันทบรี รองผู้บังคับการกองปราบปรามในปี 2547 ยุครัฐบาลยุคทักษิณ 1 พล.ต.อ.ทวี เบนเข็มจากข้าราชการตำรวจมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยมีเส้นทางที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เป็นรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมโดยเฉพาะในปี 2554 การดำรงตำแหน่งเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีบทบาทในการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมากอย่างไรก็ตาม หลังการรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง คสช.ที่ 11/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ให้พล.ต.อ.ทวี มาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป
ต่อมาราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่งที่ปรึกษาประจำนักนายกรัฐมนตรี หลังจากพล.ต.อ.ทวีลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561ปิดฉากชีวิตราชการอย่างเจ็บปวดพล.ต.อ.ทวีลงสนามการเมืองในตำแหน่งเลขาธิการพรรคประชาชาติ ที่มี “วันมูหะมัดนอร์ มะทา” เป็นหัวหน้าพรรค โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในปี 2562 เป็น ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งอย่างไรก็ดี พล.ต.อ.ทวี ได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ และมีโอกาสอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรก หลังจากนายวันมูหะมัดนอร์ ลาออกจาก ส.ส.การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 พรรคประชาชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็น ว่าที่ ส.ส.ชายแดนใต้ถึง 7 ที่นั่ง จากทั้งหมด 13 ที่นั่ง ได้แก่ ยะลา ได้ทั้งหมดยกจังหวัด 3 ที่นั่ง และได้คะแนนในระบบบัญชีรายชื่อ เป็น อันดับ 1 จำนวน 126,485 คะแนนปัตตานี 3 ที่นั่ง คะแนนระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 จำนวน 180,144 คะแนน และนราธิวาส 1 ที่นั่ง คะแนนระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 จำนวน 190,498 คะแนนขณะที่นโยบายแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนของพรรคประชาชาติ เช่น ส่งเสริมธุรกิจฮาลาล 1 หมื่นล้านบาท ส่งเสริมพหุวัฒนธรรม 1 หมื่นล้านบาท การพูดคุยเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 2 คนที่ขาดไม่ได้ คือ “เสธ.แมว” พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และหัวหน้าพูดคุยเพื่อสันติภาพในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตรพล.ท.ภราดรมีบทบาทในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายภาคใต้ในฐานะที่สวมหมวก “เลขาสมช.” ในตำแหน่ง “เลขานุการคณะกรรมการ”ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.)ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ มี “พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา” รองนายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นประธาน
อย่างไรก็ตาม พล.ท.ภราดร ถูกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ตั้งแต่แต่วันที่ 24 เมษายน 2557 หลังจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่า มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 ที่เห็นชอบรับโอนและแต่งตั้งนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช.ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังเกษียณอายุราชการ พล.ท.ภราดร ได้สมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย มีตำแหน่งแห่งที่เป็นที่ปรึกษาดด้านความมั่นคง ประธานคณะอนุกรรมการด้านความมั่นคง และเลขานุการคณะกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทยบทบาทของ “เสธ.แมว” ถูกโฟกัสควบคู่สายสัมพันธ์กับ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี“เสธ.แมว” เป็น “หลาน” ของ “ปรีดา พัฒนถาบุตร” อดีตรัฐมนตรีและอดีต ส.ส.เชียงใหม่หลายสมัย ที่สำคัญ เป็น “บุตรชาย” ของ “พล.ท.กอบกุล พัฒนถาบุตร” ซึ่ง “เป็นเพื่อน” กับ “เลิศ ชินวัตร” บิดาของ “ทักษิณ ชินวัตร”พล.ท.ภราดร จบโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 (ตท.14)รวมถึง “บิ๊กแป๊ะ” พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น “ตท.รุ่น 14” และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 25 (จปร.25) มีบทบาทสำคัญในขบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์เช่นเดียวกันพล.อ.นิพัทธ์ นับเป็น “ทหารเสือราชินี” เพราะเริ่มชีวิตราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ และผู้บังคับกองร้อยฝึก ร.21 พัน.3 รอ. ปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ ปราจีนบุรีทว่าหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช. ออกคำสั่ง คสช.ให้ พล.อ.นิพัทธ์ พ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหมและให้ไปดำรงตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหมเป็นพิเศษเฉพาะราย และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติปัจจุบันพล.อ.นิพัทธ์ เป็นคณะที่ปรึกษาของ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และมีชื่อ “ติดโผ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน “ครม.พิธา1”
อีก 1 คน ที่เป็นกุนซืออยู่เบื้องหลัง คือ “เสธ.โหน่ง” พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่งคงแห่งชาติ ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ “เพื่อนซี้” เสธ.แมว เป็น “ตท.14 คอนเนกชั่น” ข้ามห้วยจาก ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทยหลังรัฐประหารพฤษภาคม 57 พล.ท.พงศกร เป็นอีกคนที่ถูกพล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจหัวหน้าคสช. ออกคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่ 21/2558 พ้นจากตำแหน่งรองเลขาธิการ สมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเส้นทางทางการเมืองของพล.ท.พงศกร หลังจากเกษียณ-ลาออกจากราชการ ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค-รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อทว่า พล.ท.พงศกร “ตกม้าตาย” เพราะยังหลับนอนอยู่ “บ้านพักหลวง” แม้จะเกษียณอายุราชการมาแล้วก็ตา จนต้องลาออกจากกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) เพื่อตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ให้ลุก-ลามไปถึง “ธนาธร-ปิยบุตร”เป็นดรีมทีมเจรจาสันติภาพ – ดับไฟใต้ จากยุคยิ่งลักษณ์ สู่ รัฐบาลพิธา 1