กางไทม์ไลน์ยุบสภา-เลือกตั้ง ครม.บิ๊กตู่ รักษาการยาว
15 มี.ค. 2566 คือ วันธงชัยของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่จะประกาศยุบสภาและเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง
ปี่กลองเลือกตั้งโหมโรงตั้งแต่เข้าโค้ง 180 วันก่อนสภาครบวาระ วันที่ 23 มี.ค. 2566 หรือหลังวันที่ 24 ก.ย.ปีที่ผ่าน พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านพาเหรดลงพื้นที่หาเสียง-ฉีกข้อห้ามของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขาดลุ่ย
ทันที่ประกาศพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ยุบสภา วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย จัดแจงไทม์ไลน์หลังรัฐบาลยุบสภา หรือ สภาอยู่ครบวาระ 4 ปี โดยเปรียบเทียบไทม์ไลน์ยุบสภา-เลือกตั้งระหว่างปี 2562 กับปี 2566
ปี 2562 เลือกตั้ง วันที่ 24 มี.ค. 2562 ประกาศผล วันที่ 7-8 พ.ค. 2562 เสด็จเปิดสภา วันที่ 24 พ.ค. 2562 ตั้งประธานสภา วันที่ 25 พ.ค. 2562 เลือกนายกรัฐมนตรี วันที่ 5 มิ.ย. 2562
โปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี วันที่ 9 มิ.ย. 2562 ตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที 10 ก.ค. 2562 ครม.ใหม่ถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเข้ารับหน้าหน้า วันที่ 16 ก.ค. 2562
รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รักษาการ 4 เดือน
ปี 2566 ยุบสภา-ครบวาระ เดือนมีนาคม 2566 พล.อ.ประยุทธ์ถือกฤกษ์วันที่ 15 มี.ค. 66 หรือ วันที่ 22 พ.ค. 66 ซึ่งตามปฏิทินเป็นวันธงชัยและเป็นวันครบรอบ 9 ปีรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557
เลือกตั้ง ต้นเดือนพฤษภาคม โดยมีตัวเลือก 3 วัน ได้แก่ วันที่ 7 พ.ค. วันที่ 14 พ.ค. และวันที่ 21 พ.ค. 66 ซึ่งโน้มโน้มเป็นไปได้มากที่สุด คือ วันที่ 7 พ.ค. 66
ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ต้นเดือนก.ค. 66 เสด็จเปิดสภา กลางเดือนกรกฎาคม 66 ตั้งประธานสภา กลางเดือนก.ค. 66
เลือกนายกรัฐมนตรี ปลายเดือนก.ค. 66 โปรดเกล้าฯตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ปลายเดือนกรกฎาคม 66 ตั้ง ครม. ต้นเดือนสิงหาคม 66 ครม. ถวายสัตย์ฯ ต้นเดือนส.ค. 66
รัฐบาลรักษาการ 4 เดือนครึ่ง
ผลของการยุบสภา-สภาครบวาระ 4 ปี ผลต่อกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ค้างอยู่ในสภาทั้งสอง จำนวน 29 ฉบับ ตกไป แต่หลังเลือกตั้ง รัฐบาลขอให้ยกขึ้นพิจารณาต่อไปได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันเสด็จฯเปิดสภา
สำหรับร่าง พ.ร.บ.ที่ค้างอยู่ในสภาที่ส่อแท้ง จำนวน 29 ฉบับ แบ่งเป็น ร่าง พ.ร.บ. 22 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (แก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกฎหมายคู่ชีวิต
ร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.อาหาร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. …. ร่างพ .ร.บ.การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.ยกเลิกพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ….
ร่างพ.ร.บ.กำหนดวิธีการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นและได้รับการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้าหรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.ประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนกลาโหม พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.ตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ 7 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.การจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. …. ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. และ ร่างพ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ร่าง พ.ร.บ.ที่ถวายไปแล้ว จำนวน 11 ฉบับ ยังดำเนินต่อไปได้ ระหว่างนั้น ถ้าจำเป็นเร่งด่วนอาจออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ได้ การออก พ.ร.ฎ. กฎกระทรวง ยังทำได้ตามปกติ
สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ที่ถวายไปแล้ว จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2566 ร่างพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566
ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566 ร่างพ.ร.บ.สถาปนิก (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ร่างพ.ร.บ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2566
ร่างพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2566 ร่างพ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ร่าง พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2566
ร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ.2566 ร่าง พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566
การหาเสียง หากใช้รถหลวงต้องเติมน้ำมันเอง ใช้ รปภ.ราชการให้ทำได้ตามปกติที่เคยทำ แต่อย่าเกินจากปกติ ผู้หาเสียงต้องไม่แต่งเครื่องแบบและไม่ใช้เวลาราชการ หรือ งบราชการ ส่วนการใช้สถานที่ราชการหาเสียงให้ขออนุญาตตามระเบียบก่อน
ผลต่อ ครม. ครม.พ้นตำแหน่ง แต่ยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า ครม.ใหม่จะเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ ข้าราชการการเมืองทุกตำแหน่งยังปฏิบัติหน้าที่ได้และพ้นตำแหน่งวันเดียวกับ ครม.
ถ้ารัฐมนตรีลาออกก็ไม่กระทบ ครม. ยังประชุมได้และปรับ ครม.ได้ ครม.ยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ภายใน 60 วัน นับจากวันที่ ครม.ใหม่ถวายสัตย์ฯ
การปฏิบัติหน้าที่ของ ครม.ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 1.ไม่อนุมัติงานหรือโครงการ หรือสร้างความผูกพัน ครม.ใหม่ เว้นแต่เป็นเรื่องอยู่ในงบประมาณประจำปี 2.ไม่แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการ พนักงาน หรือให้พ้นตำแหน่ง เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจาก กกต.
3.ไม่อนุมัติให้ใช้งบกลาง เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจาก กกต. 4.ไม่ใช้ทรัพยากรหรือบุคลากรของรัฐกระทำการอันมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่ฝ่าฝืนระเบียบ กกต.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 78 กำหนดให้ ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่เอาเปรียบ cและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กำหนดข้อห้ามไว้
1.ไม่จัดโครงการที่เป็นการเอาเปรียบ 2.ไม่ประชุม ครม.อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) 3.ไม่จัดประชุมโดยใช้งบของรัฐ เว้นแต่จัดตามวาระ 4.ไม่โอนงบประมาณเพื่อแจกประชาชน และ 5.ไม่ใช้ทรัพยากรหรือคนของรัฐเอาเปรียบ
นับถอยหลัง 7 พ.ค. 2566 คืนอำนาจให้กับประชาชนตัดสินชี้ขาดพล.อ.ประยุทธ์ ไปต่อหรือไม่