จับตาความขัดแย้ง จีน – ไต้หวัน ฉุดเศรษฐกิจโลกกระทบเศรษฐกิจไทย

ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายทศวรรษ นับตั้งแต่การเยือนไต้หวันของนางแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ และตามมาด้วยการเยือนไต้หวันของผู้แทนจากรัฐบาลสหรัฐฯติดต่อกัน 4 ครั้ง นำไปสู่การปิดล้อม และซ้อมรบทางทหารของจีนรอบเกาะไต้หวันของจีนโดยใช้กระสุนจริง รวมทั้งการซ้อมรับการรุกรานจากจีนและเพิ่มงบประมาณกลาโหมของไต้หวัน
หลายฝ่ายต่างจับตาจนสถานการณ์ความเปราะบางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างจีนและไต้หวันที่มีอยู่เดิมว่าอาจลุกลามไปสู่สงคราม การแบ่งขั้วที่ขยายความขัดแย้งออกนอกภูมิภาคยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกที่มีปัญหาหลายด้านมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ไต้หวัน และจีน แม้จะมีขนาดของประเทศ และภูมิภาคต่างกัน แต่ก็มีความสำคัญต่อแผนที่เศรษฐกิจโลกเนื่องจากปัจจุบันไต้หวันเป็นประเทศผู้ผลิตชิป และเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ของโลก ขณะที่จีนเป็นทั้งผู้นำเข้า และส่งออกรายใหญ่สินค้าโลก ความขัดแย้งที่นำไปสู่การปิดล้อมและคว่ำบาตรของทั้งสองประเทศ ที่มีสหรัฐฯหนุนหลังไต้หวันอยู่ในลักษณะนี้ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังหลายประเทศ และหลายอุตสาหกรรม และอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยได้ยาก
หน่วยงานเศรษฐกิจจับตาความขัดแย้งจีน – ไต้หวัน
หน่วยงานเศรษฐกิจต่างให้ความสำคัญกับการติดตามและเฝ้าระวัง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ-จีน ต่อกรณีไต้หวัน ที่จะส่งผ่านผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ในเบื้องต้นการที่จีนประกาศมาตรการเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ 8 ประการ ได้แก่ 1.ยกเลิกการเจรจาระหว่างผู้บัญชาการภาคพื้น ปฏิบัติการสงครามระหว่างจีน-สหรัฐฯ 2.ยกเลิกการเจรจาประสานนโยบายระหว่างกระทรวงกลาโหมจีน-สหรัฐฯ 3.ยกเลิกการประชุมตามกลไก ปรึกษาหารือเพื่อความมั่นคงด้านการ์ทหารทางทะเลระหว่างจีน-สหรัฐฯ 4.ระงับความร่วมมือจีน-สหรัฐฯ ในการส่งตัวผู้อพยพผิดกฎหมายกลับประเทศ
5.ระงับความร่วมมือจีน-สหรัฐฯ ด้านความช่วยเหลือทางกฎหมายในคดีอาญา 6.ระงับความร่วมมือจีน-สหรัฐฯ ในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ 7.ระงับความร่วมมือจีน-สหรัฐฯ ด้านการปราบปรามยาเสพติด และ 8.ระงับการเสวนาระหว่างจีน-สหรัฐฯ ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการคว่ำบาตรนางแนนชี้ เปโลซีและครอบครัวด้วย นอกจากนี้ จีนยังประกาศมาตรการตอบไต้หวัน ที่สำคัญ ได้แก่ การประกาศซ้อมรบทางทะเล ต่อเนื่องไปอีก 1 เดือนตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. – 8 ก.ย. 2565 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งทางเรือของประเทศต่าง ๆ ที่สินค้าเข้าและสินค้าออกจาก ไต้หวัน รวมถึงการคว่ำบาตรทางการค้าหลายรายการ เช่น การระงับการส่งออกทรายธรรมชาติไปยังไต้หวันซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญต่อการก่สร้างและผสมคอนกรีต รวมถึงการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ หรือชิปคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไต้หวันโดยครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 70% ของทั่วโลก และมีจีนเป็นผู้นำเข้าสำคัญ รวมทั้งการระงับการนำเข้าจากไต้หวันหลายรายการ เช่น การระงับการนำเข้าผลไม้และปลา ขนมบิสกิตและขนมอบ น้ำมันสำหรับปรุงอาหาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและซอสถั่วเหลือง

จากข้อมูลในปี 2564 พบว่ามูลค่าการส่งออกไปยังจีนของไต้หวันอยู่ที่ 13 3,109.5 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 28.4% ของการส่งออกของไต้หวันทั้งหมด หรือเฉลี่ยเดือนละ 1 1,813.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากความขัดแย้งระหว่างจีน และไต้หวันทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิต การส่งออก และเศรษฐกิจโดยรวมของไต้หวันอย่างรุนแรงขึ้นตามลำดับ และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของโลกโดยเฉพาะสินค้าที่ไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดสูง
‘สภาพัฒน์’ ชี้ 4 ด้านกระทบเศรษฐกิจไทย
ทั้งนี้ ในส่วนของเศรษฐกิจไทย คาดว่าผลกระทบจากความขัดแย้งดังกล่าว จะส่งผลผ่าน 4 ช่องทางสำคัญ ได้แก่

1.ช่องทางด้านการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์ ในกรณีที่มีการปิดล้อมน่านน้ำของไต้หวันทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการขนส่ง และจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยไปไต้หวันให้มีแนวโน้มลดลง โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังต้หวันในปี 2564 อยู่ที่ 4,673 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 1.7% ของการส่งออกสินค้าของไทยทั้งหมด และถือเป็นคู่ค้าอันดับที่ 10 ของไทย โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เป็นต้น
2. ช่องทางด้านห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าวัตถุดิบสำคัญที่ไทยต้องนำเข้าจากไต้หวัน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าที่จะต้องนำมาผลิตสินค้า เกี่ยวเนื่องกับอิเล็กทรอนิกส์ โดยมูลค่าการนำเข้ารวมของไทยจากไต้หวันในปี 2564 อยู่ที่ 10,513 ล้านดอลลาร์ สินค้าอันดับหนึ่งที่ไทยนำเข้าจากไต้หวัน คือ แผงวงจรไฟฟ้า โดยมีมูลค่านำเข้าอยู่ที่ 4,616 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 43.9% ของมูลค่าการนำเข้าจากไต้หวันทั้งหมด และคิดเป็น 30.5% ของมูลค่าการนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของไทย ซึ่งหากเกิดปัญหาทำให้การนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้ามีปัญหา จะทำให้ห่วงโซ่การผลิตสินค้าที่จะต้องใช้แผงวงจรไฟฟ้าเป็นหลักในกระบวนการผลิต เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ประเภทต่าง ๆ ของไทย ได้รับผลกระทบและเกิดการหยุดชะงักด้านการผลิต
3.ช่องทางด้านแรงงาน เนื่องจากไต้หวันเป็นปลายทางที่คนทยเลือกเดินทางไปทำงานสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยมีแรงงานไทยที่ทำงานในไต้หวัน อยู่ที่ 48,542 คน รองลงมาเป็นประเทศอิสราเอล 20,555 คน เกาหลีใต้ 12,950 คน ญี่ปุ่น 7,665 คน และสวีเดน 6,680 คน ตามลำดับ ซึ่งความขัดแย้งระหว่างจีนและไต้หวันอาจจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของแรงงานไทยในไต้หวันได้
และ 4.ช่องทางด้านการท่องเที่ยว ข้อมูลนักท่องเที่ยวจากต้หวันมายังไทยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 อยู่ที่ 8,060 คนคิดเป็น0.4% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศทั้งหมดและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหากไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างนและไต้หวัน ซึ่งหากความขัดแย้งดังกล่าวส่งผลต่อการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจของไต้หวันและความไม่สะดวกในการเดินทางออกจากไต้หวัน อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวจากไต้หวันมายังไทยในช่วงที่เหลือของปี 2565 ลดลง
แนะไทยหาช่องทางดึงอุตสาหกรรมเป้าหมายลงทุน
อย่างไรก็ตามสภาพัฒน์มองว่าภายใต้ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเตรียมความพร้อมในการรับมือในกรณีหากมีการยกระดับความรุนแรงมากขึ้น โดยในส่วนของเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่การเตรียมการเพื่อบรรเทา ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังจำเป็นต้องดำเนินมาตรการสนับสนุนเพื่อพลิกวิกฤให้เป็นโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้โอกาสในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพไปยังประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งและการกีดกันทางการค้า เช่น การเจรจาเพื่อส่งออกสินค้าไปจีนเพื่อทดแทนสินค้าที่เคยนำเข้าจากไต้หวัน เป็นต้น
ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบจาก ความตึงเครียดระหว่างจีน และไต้หวัน ที่นัยต่อเศรษฐกิจและการค้าโลกแม้ว่า EIC มองว่าความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวัน เคยมีมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะหลังจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (Democratic Progressive Party) ที่มีนโยบายสนับสนุนการแยกตัวออกจากจีนชนะการเลือกตั้งไต้หวันตั้งแต่ปี 2016
EIC ประเมิน 3 Scenarios ขัดแย้งจีน–ไต้หวัน

ทั้งนี้ EIC ได้ประเมินว่าสถานการณ์ความขัดแย้งอาจเกิดได้ 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 คือ จีนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อไต้หวันในเชิงสัญลักษณ์ และเพิ่มการซ้อมรบแค่ชั่วคราว ขณะที่สหรัฐ ยังไม่คว่ำบาตรจีนโดยตรง สถานการณ์จึงยังไม่ยกระดับความรุนแรง ด้านสหรัฐ ยังคงใช้นโยบายความคลุมเครือทางยุทธศาสตร์ (Strategic ambiguity) เพื่อลดความเสี่ยงการเผชิญหน้ากับจีนด้วยการสนับสนุนนโยบาย One-China policy ของจีนอย่างเป็นทางการ
ขณะเดียวกัน ก็ให้การสนับสนุนไต้หวันทางเศรษฐกิจ และยุทโธปกรณ์ ขณะที่จีนยังคงอ้างอธิปไตยเหนือไต้หวัน แต่ไม่ต้องการยกระดับความรุนแรงเช่นกัน เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจจีนยังซบเซา และกำลังจะมีการจัดประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ในปีนี้ อย่างไรก็ดี ความตึงเครียด และข้อพิพาทประเด็นการเมืองระหว่างประเทศจะเพิ่มขึ้น (เป็น New normal) และเร่งให้การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ (Decoupling) เกิดเร็วขึ้น
ในกรณีนี้ EIC ประเมินว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการค้าโลกจะมีจำกัด เศรษฐกิจโลกยังสามารถขยายตัวได้ที่ 3.2% และการค้าโลกขยายตัวได้ที่ 4.1% ในปีนี้
หากความตึงเครียดรุนแรงขึ้น จะกระทบการค้า และห่วงโซ่อุปทานโลกอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีเลวร้ายที่เกิดสงคราม หลายประเทศจะเข้าสู่ภาวะถดถอยความตึงเครียดระหว่างจีน และไต้หวันส่งผลกระทบต่อการเดินเรือผ่านช่องแคบไต้หวัน และน่านน้ำใกล้เคียง ห่วงโซ่อุปทานโลก และเศรษฐกิจภูมิภาค
กรณีที่ 2 ในกรณีที่จีนใช้มาตรการปิดน่านน้ำไต้หวัน และระงับการนำเข้าส่งออกสินค้าส่วนใหญ่ของไต้หวัน แต่ยังไม่ถึงขั้นเกิดสงคราม ห่วงโซ่อุปทานโลกจะได้รับผลกระทบมากขึ้นมากกว่าในกรณีฐาน โดยเฉพาะเซมิคอนดักเตอร์ที่ไต้หวันเป็นผู้ผลิตสำคัญที่สุดของโลก ขณะที่สหรัฐ เริ่มใช้มาตรการ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อจีน ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกสูงกว่าการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย เนื่องจากจีนมีความสำคัญ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากกว่า

ในกรณีนี้ EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้เพียง 2.4% ในปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจไต้หวันอาจถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐ และจีนชะลอลงมากขึ้น
และกรณีที่ 3 ในกรณีที่เกิดสงครามระหว่างจีน และไต้หวัน คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง โดยเศรษฐกิจไต้หวัน จีน และสหรัฐ รวมถึงพันธมิตรทั้งสองฝ่ายจะเข้าสู่ภาวะถดถอย การค้าโลกจะแบ่งเป็นสองขั้วชัดเจน ทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงักในหลายพื้นที่ ในกรณีนี้ EIC ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้เพียง 1.4% เท่านั้นในปีนี้
นอกจากนั้นผลจากการแบ่งขั้วระหว่างจีนกับสหรัฐ จะเร่งตัวรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี ทั้งสองประเทศมีแนวโน้มพึ่งพาตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะห่วงโซ่อุปทานที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ โดยสหรัฐ ได้ผ่านร่าง CHIPS and Science Act เพื่อกระตุ้นการลงทุนผลิตเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ และห้ามบริษัทต่างๆ ส่งเทคโนโลยีสำคัญไปให้จีน ขณะที่จีนก็มีนโยบายกระตุ้นการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ภายในประเทศเช่นกัน
มองผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย 4 ด้าน

นอกจากนี้ EIC ประเมินว่า ความขัดแย้งระหว่างจีน และไต้หวันที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศภูมิภาครวมถึงไทยผ่าน 4 ช่องทาง คือ
1.การค้าระหว่างประเทศ การนำเข้าและส่งออกของไต้หวัน และกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากการขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ทำได้ลำบากขึ้น แต่ในบางกลุ่มสินค้าอาจได้ประโยชน์จากการนำเข้าและส่งออกสินค้าทดแทน (Product substitution)
2.การลงทุนระหว่างประเทศ บริษัทข้ามชาติอาจหันมาลงทุนในประเทศหรือภูมิภาคใกล้เคียง (Reshoring) เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์โลกที่สูงขึ้น
3.อัตราเงินเฟ้อ ห่วงโซ่อุปทานสำคัญของสหรัฐ และจีนได้รับผลกระทบ จึงต้องหันมาพึ่งพาการผลิตในประเทศหรือภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นกว่าเดิม อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น และ
และ 4.ความผันผวนในตลาดการเงินสูงขึ้น เนื่องจากนักลงทุนอาจกังวลความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์โลกและปิดรับความเสี่ยง (Risk off) ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และค่าเงินภูมิภาครวมถึงเงินบาทอ่อนค่าลง