เผือกร้อน ผู้ว่าฯชัชชาติ ล้างหนี้สายสีเขียว
ทันทีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรองนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) คำแรกที่หลุดออกจากปากชัชชาติ คือ ไม่มีฮานีมูนพีเรียด
1.3 ล้านคะแนนที่เทให้กับนายชัชชาติ สะท้อนให้เห็นภาระอันหนักอึ้งบนบ่าของ ผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 17 ที่ต้องแบกความคาดหวังของคนกรุงเทพฯ โดยมีปัญหาเร่งด่วน 4 เรื่องเป็น เผือกร้อน
การต่อสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงส่วนต่อขยายกลายเป็นเผือกร้อนของนายชัชชาติ ตั้งแต่วันแรกที่ผู้ว่าฯ กทม.ใหม่ถอดด้านต้องเข้ามาสะสาง
ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ดีกรี อดีตรมว.คมนาคม ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปักธงนโยบายการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วยต่อขยายไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนที่จะก้าวเท้าเข้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครเสียอีก คือ
ลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน เพื่อให้เข้าถึงรถไฟฟ้าได้มากยิ่งขึ้น การทำตั๋วร่วม เพื่อไม่เสียค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน
โอน รถไฟฟ้าทุกสายที่ให้บริการในเขตกทม. ไปอยู่ในกำกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.เพื่อให้ รฟม.บริหารรถไฟฟ้าแบบองค์รวม เช่น เอากำไรจากสายหนึ่งไปอุดหนุนอีกสายหนึ่ง
สำหรับรถไฟฟ้าที่อยู่ในการดูแลของ กทม.นอกจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีทอง รถไฟฟ้าสายสีเทาเหนือช่วงวัชรพล-ทองหล่อ สารสีเทาใต้ช่วงทองหล่อ-ช่องนนทรี รถไฟฟ้าสายสีเงินช่วงบางนา–สุวรรณภูมิ
ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม.เป็นคู่สัญญากับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดและบริษัทบีทีเอส ประกอบด้วย 9 สัญญาซึ่งเป็นสัญญาที่ลงนามไว้ก่อนแล้ว-ปัจจุบันและ “ร่างสัญญา” รวมถึง “ข้อตกลง” แบ่งออกเป็น
1.สัญญาสัมปทานที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปานในปี 2572 (2542-2572) ได้แก่สัญญาช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน (สายสีลม) และสถานีหมอชิต-อ่อนนุช (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 30 ปี (2542-2572)
2.สัญญาว่าจ้างเดินรถ-ซ่อมบำรุงและบริหารจัดการที่จะสิ้นสุดสัญญาในปี 2585 (2572-2585) ได้แก่ สัญญาช่วงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า (สายสีลม) และสถานีหมอชิต-สำโรง (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 30 ปี (2555-2585)
สัญญาสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า (สายสีลม) และสถานีหมอชิต–สำโรง (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 30 ปี (2555-2585)
สัญญาสถานีคูคต-ห้าแยกลาดพร้าวและสถานีสำโรง–เคหะ (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 25 ปี (2560-2585) สัญญาสถานีคูคต–ห้าแยกลาดพร้าว และสถานีสำโรง–เคหะ (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 25 ปี (2560-2585)
3.สัญญาจ้างติดตั้งระบบงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) คือ สถานีคูคต-ห้าแยกลาดพร้าว และสถานีสำโรง-เคหะ (สายสุขุมวิท) ระยะเวลารวม 4 ปี (2560-2564)
4.บันทึกข้อตกลง ว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต–สะพานใหม่ – คูคตของ รฟม.ให้กทม. ปี 2561
5.ร่างสัญญาร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่รอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม) ระยะเวลารวม 30 ปี (2572-2602) ที่ทำเอาไว้ในยุคพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม.คนก่อนหน้านี้ ยังอยู่ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
นอกจากนี้ ผู้ว่าฯกทม.คนที่ 17 ยังต้องมานั่งปวดหัวกับเทคนิคข้อกฎหมาย ในการรื้อสัญญา ล้มการเจรจาก่อนหน้านี้ที่ทำไว้ตั้งแต่ยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กลับมานับ 1 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน พ.ศ.2562
รวมถึงการแก้ปัญหาภาระหนี้ก้อนโตกว่า 80,000 ล้านบาทจากรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงที่ 3 ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่–คูคตและช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ ของกทม.จนนำไปสู่การเจรจาต่อรองล้างหนี้แลกสัมปทาน 30 ปี
โดยเฉพาะภาระหนี้จากการรับโอนจาก รฟม.โดย กทม.ออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกู้เงินเพื่อใช้ในการรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอ ชิต–สะพานใหม่–คูคต และช่วงแบริ่ง–สมุทรปราการ พ.ศ.2561 วงเงินไม่เกิน 51,785,370,000 บาท แบ่งออกเป็น
1.เป็นค่างานโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 44,429,000,000 บาท 2.ชดใช้เงินค่าจัดกรรมสิทธิ์และดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเงินกู้ของค่างานโครงสร้างพื้นฐานที่สำนักงบประมาณได้จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระไปแล้ววงเงิน 7,356,370,000 บาท
นับรวมถึงหนี้ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ค้างชำระค่าจ้างบริษัทบีทีเอสเดินรถ (2560 – 2585) ประมาณ 18,000 ล้านบาทและหนี้จ้างเอกชนติดตั้งงานระบบรถไฟฟ้าประมาณ 20,000 ล้านบาท
นอกจากสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ยัง ลูกผีลูกคน ยังมี เผือกร้อนที่รอให้ผู้ว่าฯชัชชาติ เข้ามาแก้ไขปัญหามาแล้วหลายผู้ว่าฯ กทม. จนหมดหนทาง ไล่ คนกรุงไปอยู่ดอยคือ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก น้ำรอระบาย
ทั้งการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งพิมพ์เขียว 200 นโยบายนายชัชชาติ วางแนวทางการแก้ปัญหาไว้ อาทิ ลดจุดเสี่ยงน้ำท่วม 9 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วมในถนนสานหลัก 48 จุด เพื่อลดแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในเส้นทางสัญจร
ขณะที่แผนระยะสั้น-เร่งด่วน เช่น ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสริมระบบระบายน้ำชั่วคราว ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ 3,000 กิโลเมตร เพิ่มการขุดลอกคลองรอบรับฤดูฝน
เพิ่มแก้ลิงธรรมชาติเพิ่มที่รับน้ำให้กทม. โดยจัดหาพื้นที่เอกชนที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น บึง ทะเลสาบ บึงฝรั่งและสวนสาธารณะกทม. ปรับปรุงซ่อมแซมแก้ฟันหลอกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้า พระยา และคลองสายหลัก
เซนเซอร์สูบน้ำ ไม่ต้องรอขอกุญแจ โดยการติดตั้งระบบควบคุม SCADA เพื่อส่งคำสั่งเปิด-ปิดเครื่องสูบน้ำจากเซนเซอร์ระดับน้ำในสถานีสอบน้ำ 191 สถานี และบ่อสูบน้ำ 306 แห่ง
ทบทวนแผนการก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์ ทั้งการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของโครงการฯเก่า–ใหม่ และโครงการในอนาคตเช่น โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ วงเงิน 1,700 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี วงเงิน 6,000 ล้านบาท
แก้ปัญหาพื้นที่ต่ำ 50 เขต เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขังซ้ำซากในย่านที่อยู่อาศัยและพาณิชยธรรมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ โดยจะยกระดับถนนหรือเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำในชุมชน หมู่บ้าน ถนน ตรอกซอกซอยที่เป็นพื้นที่ต่ำ เป็นแอ่งกระทะ
อีก 1 ปัญหาที่เร่งด่วน รอพิสูจน์ฝีมือ นายชัชชชาติ ผู้ว่าฯ กทม.ป้ายแดง ที่แข็งแกร่งที่สุดในศาลากลางเสาชิงช้าคือ การแก้ปัญหาบนท้องถนน อุบัติเหตุบนทางข้ามไม่ให้เกิดโศกนาฎกรรม ครั้งแล้วครั้งเล่า
ปรับปรุงทางข้าม อาทิ ทาสรแถบทางข้ามให้ชัดเจนเพื่อให้เห็นได้จากระยะไกล กำหนดเขตชะลอและหยุดรถติดตั้งแสงสว่างให้เพียงพอ ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบ ติดตั้งกล้อง CCTV
ติดตั้งป้ายสัญญาณแสดงความเร็วของยานพาหนะ และกำหนดความเร็ว จุดที่มีคนข้ามจำนวนมากและถนนหลักติดตั้งสัญญาณไฟทางข้ามชนิดปุ่มกดพร้อมเสียงเตือน
เพิ่มทางข้ามบริเวณที่มีปริมาณการข้ามถนนสูงแต่ไม่มีทางม้าลาย เช่น สถานศึกษา ตลาด สวนสาธารณะ ทะลายรั้ว-เกาะกลางเพื่อปรับให้สามารถเดินข้ามได้อย่างต่อเนื่องไหลลื่น ทำทางข้ามที่สามารถใช้ได้ทุกคน ทุกสภาร่างกาย
เผือกร้อนสุดท้ายคือ การแก้ปัญหาหาบเร่ แผงลอยที่เป็นปัญหาหมักหมม–ซุกอยู่ใต้พรมทุกยุคสมัย ไม่ว่าจะเปลี่ยนผู้ว่าฯกทม.กี่คน ก็ไม่สามารถสะสางปัญหานี้ได้
ผู้ว่าฯชัชชาติ จึงไม่พลาดที่จะนำบรรจุการแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอยไว้ใน 200 นโยบาย อาทิ หาพื้นที่ของเอกชน-หน่วยงานราชการจัดเป็นพื้นที่ขายของสำหรับหาบเร่หรือเป็นศูนย์อาหาร (Hawker center) สำหรับผู้เช่าในราคาประหยัดโดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นโดยเฉพาะด้านความสะอาดเช่น การจัดตั้งจุดทิ้งและแยกขยะรวม บ่อดักไขมัน
วันที่ 6 มิ.ย. 2565 นายชัชชาติจะเข่าไปจับเข่าคุยกับบิ๊กป็อก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย ตามลำดับชั้น เพื่อหาทางออกหาข้อยุติของทุกปัญหารวมถึงทยอยเข้าพบ บิ๊กรัฐบาลอีกหลายคนในอนาคต
โดยเฉพาะการผูก 3 ปม สัญญาการต่อสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ได้แก่ 1.การรับหนี้มาจาก รฟม.ถูกต้องเป็นธรรมกับกทม.หรือไม่ 2.บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ต่อสัญญาเอกชนว่าจ้างเดินรถไปถึงปี2585 ได้อย่างไรและ 3.สามารถกลับมาใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯได้หรือไม่
แม้มีคนกรุง 1.3 ล้านเสียงหนุนหลัง แต่ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลกลาง อย่างเข้าขาไม่มีรอยต่อ เพราะผู้ว่าฯ กทม.ก็เหมือนยักษ์… ที่ไม่มีกระบอง