ปิดฉาก “too fast to sleep” แหล่งมั่วสุมทางปัญญาของผู้ใฝ่ความรู้
หากเอยถึงชื่อ “เอนก จงเสถียร” หลายคนคงไม่รู้จัก เพราะคนๆ นี้ ไม่ใช่นักการเมือง ไม่ใช่ดาราหรือนักแสดงที่โด่งดัง มีค่าตัวเป็นหลักแสนหรือหลักล้าน แต่หากเอยถึงชื่อ “too fast to sleep” ความหมายว่า “เร็วเกินไปที่จะนอน” คนที่ชื่อ “อเนก” คือ บุคคลที่อยู่เบื้องหลังในฐานะเจ้าของกิจการ และยังอยู่ในฐานะนักบุญ ผู้ที่ยอมขาดทุนมากกว่า 200 ล้านบาท ภายในช่วงระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา
“too fast to sleep” กำลังจะปิดตัวเองลง “ข่าวใหญ่” ของคนที่อยู่ในละแวกตลาดสามย่าน-จุฬาฯ และยังเป็นข่าวใหญ่ในหมู่นักเรียน-นักศึกษาอีกด้วย ภายหลังจากที่ร้านได้เริ่มเปิดดำเนินการวันแรก เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2554 ภายใต้แนว ความคิด “แหล่งมั่วสุมทางปัญญา” ซึ่งในตอนนั้น ประเทศไทยไม่มีจุดศูนย์กลางหรือ Centre Point ให้แก่เด็กๆ น้องๆ นักเรียนนักศึกษาในการร่วมกลุ่ม หรือทำกิจกรรมร่วมตัวกันแม้แต่แห่งเดียว
“เอนก จงเสถียร” กล่าวเปิดประเด็นถึงจุดเริ่มต้นของ “too fast to sleep” และกล่าวว่า ผมมาเรียนหนังสือตอนแก่แล้วครับ อายุก็ประมาณ 40 ปีกว่าๆ เพราะตอนเด็กทำงานช่วยครอบครัวจนมีฐานะที่ดีขึ้น จึงเริ่มกลับมาสู่ระบบการศึกษาแบบผู้ใหญ่ ผ่านการอบรมคอร์สต่างๆ จากหลายมหาวิทยาลัย แต่มีอยู่ช่วงหนึ่งต้องเรียนหนักมาก นัดเพื่อนร่วมรุ่นทำงานกลุ่มอยู่หลายครั้ง ใต้ต้นไม้ ในโรงอาหาร หรือใต้ถุงตึกอาคารเรียนก็ไปมาครบทุกแห่ง ในบ้างครั้ง สถานที่ก็ไม่ค่อยจะปลอดภัย เพราะต้องอยู่กันค่ำๆ มืดๆ ผมเห็นถึงความยากลำบากของนักเรียนเหล่านี้ ขณะที่ มหาวิทยาลัยเองก็ไม่ได้ทำอะไร
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยกำลังบูมเรื่อง CSR : Corporate Social Responsibility “ความรับผิดชอบต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อมขององค์กร” ผมเป็นเจ้ากิจการ 2-3 บริษัท มีกำไรเยอะมากในแต่ละปี พอดีมีเพื่อนๆ ที่มีแนวคิดความคิดเดียว กันที่จะทำเรื่อง Centre Point พื้นที่สำหรับการศึกษาโดยเฉพาะตลอด 24 ชั่วโมง เพียงซื้อน้ำแก้วเดียว ราคาไม่ถึง 40 บาท ก็สามารถนั่งยาวๆ มีที่ชาร์จแบตมือถือ แอร์เย็นๆ และไม่มียุง อ่านหนังหรือรวมกลุ่มทำกิจกรรม ทำการบ้านโดยไม่มีใครมาไล่
“ตอนแรกที่ทำ หลายคนบอกว่า ผมบ้าไปแล้ว แต่มาจนถึงวันนี้ มีคนมาขอร่วมทำบุญเยอะมาก ถ้าอย่างนั้น คนบ้าๆ แบบผมก็มีเยอะมาก” เอนก จงเสถียร กล่าวสั้นๆ หัวเราะดังๆ แบบสะใจ
ผมจำได้ดี วันแรกที่เปิดมีคนมานั่งแค่ 20 คน วันที่ 2 เพิ่มขึ้นมาเป็น 200 คน วันที่ 3 มากันทั้งวัน ประมาณ 2,000 คน สถานที่เราเตรียมไว้ไม่พอกับจำนวนน้องๆ ที่เข้ามาในร้าน บางคนต้องนั่งริมบันได ทุกจุดทุกมุม ผมยอมรับว่า คนมาเยอะจริงๆ จึงต้องควักเงินไปซื้อโต๊ะญี่ปุ่น ซื้อปลั๊กสายไฟมาวางเอาไว้ตามจุดต่างๆ หลังจากนั้น เราก็ขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ จนเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
“เด็กดูหนังสือสมัยนี้ ไม่เหมือนสมัยเรา ต้องตื่นตี 4 ตี 5 มาดูหนังสือ ผมเรียน 8 โมงเช้า เลิก 3 โมงเย็น เวลาที่เรียนมีความแน่นอน แต่เด็กรุ่นใหม่เวลาเรียนของเขาไม่แน่นอน แบ่งตามคาบเรียนตามวิชาที่อาจารย์เข้าสอน ไลฟ์สไตล์จึงเปลี่ยนไป ผมมาเรียนตอนแก่ๆ มองเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงเปิด too fast to sleep เด็กๆ แฮปปี้มาก มาดูหนังสือมาติวกัน”
เด็กๆ มาขอบคุณผม เพราะหาที่นั่งอ่านหนังสือนานๆ ไม่ได้ ถ้าไม่ซื้ออะไรเลย 2-3 ชั่วโมง ก็โดนไล่ออกจากร้าน แต่สำหรับtoo fast to sleep เราเปิดเป็นพื้นที่ให้เด็กมีที่นั่งอ่านหนังสืออย่างเต็มที่ ตลอด 24 ช.ม. อาหารก็ขายถูกๆ เพียง 40 บาทให้เด็กๆ กิน หากไม่กิน-ไม่ซื้อ ก็มานั่งได้ เราตั้งใจทำจริงๆ เพื่อ CSR ยอมจ่ายเดือนละ 200,000-300,000 บาท จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับผมและเพื่อนๆ แต่การยอมขาดทุนก็ต้องมีที่สิ้นสุด
เพราะขณะนี้ เราเชื่อว่า สิ่งที่ “too fast to sleep” ได้ดำเนินการมาถึงจุดนี้ บรรลุเป้าหมายเรียบร้อยแล้ว โดยทุกมหาวิทยาลัยมีพื้นที่เปิดแบบเรา เพื่อสนับสนุนการศึกษาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในอนาคต “too fast to sleep” จะเหลือชื่อเพียงแค่ชื่อและตำนานเท่านั้น “เอนก จงเสถียร” กล่าว และเล่าให้เห็นภาพของเหตุการณ์ปัจจุบัน
“too fast to sleep” ไม่มีประโยชน์แล้ว หน้าที่ของเราสิ้นสุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแข่งกับใคร ในเมื่อเราสามารถจุดประกายให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ดำเนินการตามที่เด็กๆ เรียกร้องได้อย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็เลิกทำและลดบทบาทลง นำรายได้ของเราไปทำอย่างอื่นต่อไป
ต่อคำถามที่ว่า “คิดจะเปิดก็เปิด คิดจะปิดก็ปิด” too fast to sleep มีอะไรแอบแฝงซ่อนเร้น ยอมขาดทุนเดือนละเป็นแสนบาท ใครทำก็บ้าแล้ว… “ก็มีผมนี้แหละบ้า” เอนก จงเสถียร เล่าไป หัวเราะไป “ขอบอกก่อนเลยนะ ที่ทำเช่นนี้ก็ เพราะผมมีความตั้งใจทำเพื่อสังคมจริงๆ ต้องการคืนความสุขให้กับสังคม ไม่ต้องรอให้รวยแล้วมาช่วย แต่พอเรามีกิน ก็แบ่งปันกันได้ ทุกคนช่วยกันทำ ประเทศไทยจะมีความสุข “เอนก” กล่าวและกล่าวต่อไปว่า
“ในช่วงที่ผ่านมา ผมมีความสุขและสนุกมาก แม้จะหมดเงินไปแล้วถึง 250 ล้านบาท ผมก็มีความสุขที่ได้ทำบุญช่วยเหลือสังคม” เอนก กล่าวและกล่าวถึงเรื่องการทำบุญและช่วยเหลือสังคม ผมคงไม่ได้หยุดเพียงแค่ เพราะเจ้าของที่ดินที่ผมเช่าเปิดร้าน too fast to sleep รู้ว่า เรามีหน้าตาเป็นอย่างไร เรายังมีความสามารถช่วยเหลือสังคมและคนด้อยโอกาสได้มากน้อยเพียงไหน เจ้าของที่ดินก็คิดค่าเช่าเราถูกมากๆ เพราะอยากให้ผมทำงานด้านนี้ ต่อไป
ขณะที่ ผมเองหากหยุด too fast to sleep แล้วอยู่เฉยๆ อาจต้องไปบวช (หัวเราะ) ดังนั้น too fast to sleep จากนี้ไปจะกลายเป็นร้าน “อิ่มละ 1 บาท” สำหรับภารกิจต่อไปของผม
“จริงๆ แล้ว อาหารราคาถูกมีคนทำกันเยอะแยะ แต่เราก็จะทำของเรา ที่ผ่านมาได้จัดช่วงเวลาพิเศษคือ ทุกๆ วันอาทิตย์ ที่ร้าน too fast to sleep (ร้านเดิมสามย่าน) จะทำโครงการ “อิ่มละ 1 บาท” เพื่อช่วยเหลือผู้ที่รายได้น้อย ”
โดยได้เริ่มต้นโครงการนี้ หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายมาตราการล็อกดาวน์โควิด-19 โครงการ ปรากฏว่า.. มีผู้คนเข้ามารับ ประทานอาหารเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง วินมอเตอร์ไซด์ พนักงานส่งอาหาร และผู้ที่สัญจร ผ่านไปมา
เมื่อปิดร้าน “too fast to sleep” ก็มาคิดว่า จะปรับปรุงร้านใหม่ โดยเปลี่ยนชื่อจาก “too fast to sleep” มาเป็น “too fast to food” แบนด์ใหม่ภายใต้ยี่ห้อ “ตาโต โอชา” เน้นขายอาหารราคาถูก บุฟเฟ่ มื้อเที่ยงราคาเพียง 49 บาท กินไม่อั้น ก๋วยเตี๋ยว 3 ชาม 100 บาท จะกินกันกี่คนก็ได้ นับกับที่ชามครบ 3 ชาม จ่าย 100 บาท ถ้าชามเดียวก็ 35 บาท และก็มีช่วงพิเศษเฉพาะวันอาทิตย์ จะมีโครงการ “อิ่มละ 1 บาท” ซึ่งที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก กระแสตอบรับดี เป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน โดยผมกับเพื่อๆ มีความต้องการที่จะร่วมกันทำบุญเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ “บุฟเฟ่มื้อเที่ยง 49 บาท กินไม่อั้น” ที่สามย่านแล้ว ยังมีกระจายไปยังสาขาต่างๆ เช่น ห้างมาบุญครอง, สยามและเตรียมจะเปิดที่ เดอะไนน์ ติวานนท์ ในเร็วๆ นี้ อีกด้วย ใครอยู่ใกล้ที่ไหน อยากไปสนับสนุนก็แวะไปกันได้ครับ
ส่วนโครงการ “อิ่มละ 1 บาท” ตอนนี้ เปิดสาขาเดียวคือ “สามย่าน” และจะเปิดที่ห้างมาบุญครอง หรือศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน เรามีร้าน “ตาโต โอชา” อยู่แล้ว โดยทุกๆ วันเสาร์ จะจัดแคมเปญเพื่อสังคม “อู่ข้าว อู่น้ำ อิ่มละ 1 บาท” ให้บริการประชาชน ซึ่งหาไม่ยากอยู่ ชั้น G มีทั้ง ข้าวราดแกง ข้าวมันไก่ ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน ที่ได้รับความเดือนร้อนทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากสถานการณ์โควิด- 19
“โครงการ อิ่มละ 1 บาท เน้นทำบุญอย่างเดียว ไม่เน้นกำไร ทำเพื่อช่วยเหลือสังคม ที่ผ่านมามีคนเข้ามากินกันเยอะ บ้างคนหยอดเงินเป็นแบงค์ 500 แบงค์ 1000 ก็มี เชื่อว่า เขาอยากจะช่วยพวกเรา รวมทำบุญกับเรามากกว่า” “เอนก จงเสถียร” กล่าวและยืนยันว่า ผมและเพื่อนๆ ร่วมกันทำบุญกุศล ฉะนั้น เรื่องขาดทุนหรือกำไร เราไม่พูดกัน บางคนส่งวัตถุดิบเช่น เนื้อหมู เนื้อไก่และผักสด เราก็รับเอาไว้ เพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารในโครงการ
นี่คือปณิธานของ “เอนก จงเสถียร” ผู้สร้างตำนาน “too fast to sleep” แหล่งมั่วสุมทางปัญหา.. ภาษาวัยรุ่นสมัยนี้ก็ต้องบอกว่า..มันจึ้ง มันต๊าซ มากจริงๆ !!
*****
เดิม “too fast to sleep” จะใช้ชื่อ “Early To Sleep” มีความหมายเดียวกัน คือ “เร็วเกินไปที่จะนอน” แต่ว่า จำไม่ได้พูดก็ยาก “เอนก จงเสถียร” เล่นคำ เปลี่ยนเป็น “too fast to sleep” พูดก็ง่าย จำง่ายกว่า แต่ความหมายเหมือนเดิม
สัญลักษณ์ “นกฮูก” มีความหมายเช่นกัน ชาวฝั่งตะวันตกถือว่า “นกฮูก” เป็นสัตว์ฉลาด จึงเป็นสัญลักษณ์ของ “ความฉลาดรอบรู้” ขณะที่ฝั่งบ้านเรา หรือตะวันออก “นกฮูก” เป็นสัญลักษณ์ของ “คนนอนดึก” ตรงกับคอนเซ็ปท์ของ “too fast to sleep”
ร้าน “too fast to sleep” มีทั้งสิ้น 7 แห่งคือ มีสาขาศาลายา มหาวิทยาลัยเกษตร บางเขน, สยามสแควร์, ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และเชียงใหม่ ล่าสุดได้ทยอยปิดตัวเอง และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกสาขาปิดตัวเองไปโดยปริยาย
ร้าน “too fast to sleep” ถูกขนานนามว่าเป็น “แหล่งมั่วสุขทางปัญญา” และกำลังจะกลายเป็นตำนาน จะเหลือไว้ก็พียง คือ ความสุข ความทรงจำและมิตรภาพที่ดีตลอดไป.. จาก “เอนก จงเสถียร” ผู้ริเริ่มและก่อตั้ง