“ดี มันนี่” Disruptive จาก Non-Bank
มิติที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกการเงินยุคใหม่ ยากจะหาจุดสิ้นสุดและเส่นแบ่งความลงตัวที่แน่นอนได้ ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งต่างเร่งปรับตัวให้เข้ากับสภาวะ “ดิจิทัลเทคโนโลยี” และนำตัวเองไปสู่ความเป็น “ดิจิทัลแบงกิ้ง” เพื่อจะไม่ต้องตกอยู่ในฐานะ Disruptive Technology ในอนาคตอันใกล้
การได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ให้สามารถดำเนินการจัดตั้งตัวแทนให้บริการทางการเงิน หรือ “แบงก์กิ้งเอเจนท์” เพื่อทำหน้าที่รับ-ฝาก-ถอนเงินสด และชำระค่าบริการต่างๆ ในพื้นที่ที่ธนาคารไม่มีสาขาได้นั้น อาจต้องแลกด้วยการเปิดทางให้กลุ่มธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) เข้ามาแข่งขันในการทำธุรกรรมด้านการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศ และสัญญาณนี้ ชัดเจนขึ้นหลังจาก ธปท. เพิ่งได้มอบใบอนุญาตให้กับเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงรายแรกและรายเดียวในตอนนี้ ที่สามารถให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศได้แบบครบวงจร
บริษัท สวัสดีช้อป จำกัด คือเอกชนรายที่ว่านี้ กับรูปแบบการดำเนินงานภายใต้ชื่อ “ดี มันนี่” (DeeMoney) แต่พวกเขาจะพลิกโฉมการให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศได้แตกต่างไปจากธนาคารพาณิชย์ที่เคยผูกขาดธุรกิจนี้เพียงใด เวลาจะเป็นคำตอบ…
สำหรับบริษัท สวัสดีช้อปฯ พวกเขาให้คำจำกัดความของตัวเองว่า “เป็นผู้นำด้านการสื่อสารระหว่างประเทศในประเทศไทย และมีศักยภาพมากพอจะพลิกโฉมการโอนเงิน การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการชาระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-payment)”
ทั้งนี้ นายอัศวิน พละพงศ์พานิช ซีอีโอ บริษัท สวัสดีช้อปฯ กล่าวว่า การดำเนินงานของ “ดี มันนี่” จะทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์การโอนเงินที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยโซลูชันที่รวดเร็ว ปลอดภัย มีความสะดวก และประหยัดค่าใช้จ่ายเนื่องจาก “ดี มันนี่” เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลตัวแรกของไทยที่สร้างขึ้นในประเทศไทย สำหรับการโอนเงินและแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ คือ การเป็นพันธมิตรกับคู่ค้าชั้นนำที่ได้รับสิทธิการชาระเงินในแต่ละพื้นที่หลัก ๆ เช่น กัมพูชา พม่า เวียดนาม อินเดีย ฟิลิปปินส์ จีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น
“ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนของระบบการเงินแบบดั้งเดิมที่ดำเนินงานเป็นเวลาหลายปี จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ภายในปีนี้ และในอนาคตข้างหน้า ซึ่งนวัตกรรมใหม่นี้จะเติมเต็มและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านบริการการเงินส่วนบุคคลอย่างแน่นอน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัท สวัสดีช้อปฯ จานวน 3 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตประกอบการโอนเงินที่ได้รับอนุญาต (Authorized Money Transfer Agent License) ใบอนุญาตให้บริการชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment Service License) และใบอนุญาตให้แลกเงินที่ได้รับอนุญาต (Authorized Money Changer License)โดยที่ “ดี มันนี่” สามารถรองรับการโอนเงินเริ่มต้นที่ 1,000 บาทจนสูงสุดที่ 800,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าผู้ให้บริการที่มีอยู่เดิม และในอนาคตยังมีแผนให้บริการทางการเงินรูปแบบอื่นๆ มากขึ้น อย่าง e-Wallet ไปจนถึงบริการด้าน Digital Asset และ Cryptocurrency ด้วย” นายอัศวินย้ำ
สำหรับบริการโอนเงินระหว่างประเทศของ “ดี มันนี่” จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน (ASEAN) และเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบดิจิทัลด้านการเงิน โดยกลุ่มลูกค้าหลักของ “ดี มันนี่” ได้แก่ คนไทย แรงงานข้ามชาติในประเทศไทย นักท่องเที่ยว และชาวต่างชาติที่อาศัยและทางานในไทย ดังนั้น การสร้างวิธีการโอนเงินและแลกเปลี่ยนเงินที่ง่ายขึ้น จะตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกที่มีการย้ายถิ่นฐานในประเทศไทย การเดินทางระหว่างประเทศ และการเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน การให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศในไทยจะต้องได้รับใบอนุญาตจากทางธปท. ซึ่งมีเพียงไม่กี่รายในกลุ่ม Non-Bank และส่วนใหญ่พบว่าการใช้บริการผ่านธนาคารจะมีข้อจำกัดในเรื่องความล่าช้าค่าบริการที่สูง ต้องมีบัญชีธนาคาร และไม่สามารถโอนเงินได้ทันที นอกจากนี้ ช่องทางการข้ามพรมแดนอย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศพม่าและกัมพูชา ยังสร้างความไม่แน่นอนในแง่ของอัตราแลกเปลี่ยนและการส่งมอบ
“บ่อยครั้งที่แรงงานข้ามชาติต้องเผชิญกับอุปสรรค เช่น การเข้าถึงธนาคารในท้องถิ่น การขาดสิ่งอำนวยความสะดวกในท้องถิ่น และอุปสรรคด้านภาษาการบริการของ “ดี มันนี่” จึงนับเป็นการพลิกโฉมตลาดและมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ความรวดเร็วและราบรื่นให้กับกระบวนการแบบดั้งเดิม ซึ่งมักไม่เป็นประโยชน์ และไม่สามารถเข้าถึงได้สาหรับผู้ที่ต้องการใช้บริการเหล่านี้มากที่สุด ด้วยค่าบริการคงที่ 150 บาท”
นายอัศวินกล่าวอีกว่า การลงทะเบียนผ่านหมายเลขประจาตัวที่ถูกต้อง ด้วยบริการผ่านทางแอพพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือ โดยลูกค้าของ “ดี มันนี่” สามารถโอนเงินจากไทยผ่านแอพพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ในระบบแอนดรอยด์ (Android) ไปยัง 17 ประเทศ ส่วนแอพพลิเคชันระบบ “IOS” จะเปิดตัวอีกครั้งช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ ซึ่งจะให้บริการโอนเงินแบบดิจิทัลได้ทั่วโลกไปยัง 180 ประเทศในอนาคต ด้วยการร่วมมือกับบริษัทด้านการโอนเงินระดับโลก อาทิ มันนี่แกรม (MoneyGram) ประเทศสหรัฐอเมริกา, เมอร์ชานเทรด (Merchantrade) ประเทศมาเลเซีย, เอ็กซ์เพรสมันนี่ (Xpress Money) และวิงมันนี่ (Wing Money) ประเทศกัมพูชา ในขณะเดียวกันยังได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็กซ์เชนจ์ (1965) ช่องทางการจัดจาหน่ายเงินตราที่ใหญ่ที่สุดในไทย เพื่อนำเสนอการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 34 สกุลในอัตราต่ำสุดสาหรับลูกค้า “ดี มันนี่”
อนึ่ง “ดี มันนี่” ผู้ให้บริการทางการเงินระหว่างประเทศ ที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) แห่งแรกในไทย มีสำนัก งาน 4 สาขา ภายในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยอนาคตพวกเขายังวางแผนจะเพิ่มสาขาขึ้นอีกหลายแหล่ง