เอเชียต้องปรับตัวถ้าอยากรวยขึ้นกว่านี้
ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เตือนในรายงานล่าสุดว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แต่ต้องเพิ่มการผลิตให้มากขึ้นเพื่อเป็นการไต่ระดับขึ้นไปสู่สถานะประเทศที่มีรายได้สูง
โดยมากกว่า 95% ของจำนวนประชากรในภูมิภาคอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เมื่อเทียบกับปี 2534 ที่มีเพียง 10% เท่านั้น อ้างอิงจากการกำหนดกรอบและแนวโน้มของธนาคารในปี 2560 นี้ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 6 เม.ย.ที่ผ่านมา
ทางธนาคารเตือนว่า “ รัฐบาลต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการเพื่อให้ประเทศพัฒนาขึ้นเป็นประเทศที่มีรายได้สูงไม่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนของการเติบโตอักต่อไป แต่ประเทศต่างๆต้องเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นเพื่อเอาชนะอุปสรรคสุดท้าย ” ยาสุยูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ ADB ให้ความเห็น
ประเทศที่มีรายได้มวลรวมประชาชาติ (GNI) ต่อหัวระหว่าง 1,026 – 4,035 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะถูกจัดเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างน้อย ในขณะที่่ประเทศที่มีรายได้ระหว่าง 4,036 – 12,475 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง และประเทศรายได้สูงคือ ประเทศที่มีรายได้ 12,476 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือสูงกว่า อ้างอิงจากธนาคารโลก
โดยจีน มาเลเซีย และประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ขณะที่อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ ถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางคอนข้างน้อย
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวันอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง ไม่น่าประหลาดใจเลยว่าทั้ง 5 ประเทศมีผลผลิตสูงที่สุดต่อการจ้างงานหนึ่งคนในปี 2559 จากข้อมูลการประชุมของบอร์ดธนาคาร ADB กล่าวว่า การมุ่งเน้นที่นวัตกรรมเป็นหนทางหนึ่งสำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่จะเพิ่มผลผลิต
“ นวัตกรรมต้องการแรงงานทักษะสูง และเน้นการปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาอีกด้วย โดย 20% ที่เพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายต่อหัวสามารถเพิ่มผลผลิตได้ถึง 3.1% ”
การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในด้านพลังงานและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอีกหนทางหนึ่ง
ที่ช่วยได้ “การลงทุนเพียงครั้งเดียวในด้านโครงสร้างพื้นฐานจะมีมูลค่าเท่ากับ 1% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งสามารถยกระดับผลผลิตของประเทศได้มากถึง 1.2% ภายใน 7 ปี ” จากรายงานของ ADB
ทาง ADB ยังประเมินว่า ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชีย-แปซิฟิกจะสูงถึง 5.7% ในปี 2560 – 2561 ซึ่งต่ำกว่าการขยายตัว 5.8% ในปีที่แล้ว
นโยบายด้านการเงินที่เข้มงวดขึ้นของสหรัฐฯ และความเสี่ยงของเงินทุนไหลออกเป็นปัจจัยที่เพิ่มความผกผันและคุกคามแนวโน้มของเอเชียเป็นลำดับต้นๆ อ้างอิงจากคำเตือนของธนาคาร ในขณะที่หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นและฟองสบู่ของตลาดที่อยู่อาศัยยังคงเป็นประเด็นที่น่ากังวลเช่นกัน
ขณะเดียวกัน ADB คาดการณ์ว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่ธนาคารตั้งเป้าไว้ใน 2 ปีข้างหน้ายังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปีในภูมิภาค ที่อยู่ที่ 3.9%.
หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 34.71 บาท / 6 เม.ย. 2560