สิทธิมนุษยชนในฮ่องกงแย่สุดในรอบ 20 ปี
สิทธิมนุษยชนในฮ่องกงเลวร้ายที่สุดตั้งแต่สหราชอาณาจักรส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้กับจีนเมื่อ 20 ปีก่อน
อ้างอิงจากถ้อยแถลงของนักเคลื่อนไหวเพื่อสังคมเมื่อวันที่ 11 ม.ค. เนื่องจากจีนเข้มงวดกับฮ่องกงซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษมากเกินไป
โดยรายงานล่าสุดของ Amnesty International Hong Kong ในปี 2559 ชี้ว่า สิทธิของพลเมืองถูกลิดรอนและล้มเหลวในหลายประเด็น
ในรายงานยังได้แสดงให้เห็นถึงการขาดการสืบสวนในกรณีการหายตัวไปอย่างมีปริศนาของเจ้าของร้านขายหนังสือ 5 คนที่กล่าววิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครองในปักกิ่ง ซึ่งทำให้เกิดความหวาดระแวงของประชาชนในฮ่องกงที่ไม่มีการรับประกันได้ถึงความปลอดภัย โดยทั้ง 5 คนถูกกักขังอยู่ในจีน และถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว 1 คน
ทาง Amnesty กล่าวว่า รัฐบาลจีนล้มเหลวในการพิสูจน์กรณีการหายตัวไปของทั้ง 5 คนถึงแม้จะมีการกดดันจากกลุ่มปกป้องสิทธิ์ในปีที่แล้ว พวกเขากล่าวว่า ผู้บริหารเกาะฮ่องกงควรมีความรับผิดชอบมากกว่านี้
ในรายงานยังแสดงให้เห็นว่า การตีความของจีนที่มีต่อรัฐธรรมนุญของฮ่องกง ซึ่งตัดสินให้ส.ส.2 คนที่มีแนวคิดเสรีนิยมขาดคุณสมบัติ ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับระบบยุติธรรมของฮ่องกง ซึ่งอยู่ภายใต้นโยบาย ‘หนึ่งประเทศ สองระบบ’ ของจีน
การทำร้ายผู้สื่อข่าวของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ได้มีการสืบสวนทางอาชญากรรม และพยายามที่จะยับยั้งไม่ให้ประชาชนแสดงออกถึงสิทธิในการมีเสรีภาพยังคงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่
“ เป็นปีที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ส่งมอบฮ่องกงคืนให้กับจีนในแง่กฎหมายและเสรีภาพในการแสดงออก ” เมเบิลอู ผู้อำนวยการของ Amnesty International Hong Kong กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี
“ รัฐบาลมีความรับผิดชอบที่จะทำให้ประชาชนมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ปราศจากความกลัว ” อ้างอิงจากรายงานที่เสริมว่า เจ้าหน้าที่รัฐไม่ควรใช้กฎหมายที่คลุมเครือเพื่อขู่ให้ประชาชนเกรงกลัว
โดยรายงานยังได้กล่าวถึงความไม่เชื่อใจในรัฐบาลและแคลงใจสงสัยว่านักการเมืองกำลังขายประชาชนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง เนื่องจากฮ่องกงกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งเพื่อเลือกผู้นำอย่างเคร่งเครียด
“ คณะผู้บริหารฮ่องกงและข้าราชการควรปกป้องสิทธิของประชาชนในฮ่องกงก่อนเป็นอันดับแรก ” อ้างอิงจากรายงาน
นอกนี้ ในรายงานยังได้ชี้ให้เห็นถึงความกังวลหลังจากผู้นำของฮ่องกงคือนาย เหลียง ชุน ยิงกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ฮ่องกงเลือกที่จะไม่ทำตามการประชุมขององค์การสหประชาชาติต่อความทารุณเพื่อปกป้องผู้ลี้ภัยซึ่งจะต้องเผชิญกับโทษประหารเมื่อกลับถึงบ้าน
ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการวิจารณ์จากส.ส.และผู้คนจากหลายภาคส่วนที่ว่า ฮ่องกงรับผู้อพยพลี้ภัยมากเกินไป.