เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้

ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ แจเนท เยลเลนส่งสัญญาณว่า อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆ นี้
โดยเธอกล่าวว่า ตลาดงานมีตัวเลขที่ดีขึ้นมากในปีนี้ และถึงแม้ว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะยังคงต่ำกว่า 2% ตามเป้าที่ตั้งไว้ แต่ก็เริ่มขยับขึ้นบ้าง ตลาดการเงินคาดการณ์กันว่า เฟดจะมีท่าทีที่ชัดเจนในการประชุมของธนาคารเดือน ธ.ค.นี้
นางสาวเยลเลน ผู้บริหารสูงสุดของเฟดกล่าวปกป้องความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร หลังจากถูกนายโดนัลด์ ทรัมป์ วิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงโดยนางเยลเลนให้ความเห็นในเรื่องนี้ก่อนที่จะมีการประชุมของสภาคองเกรสเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา
นี่จะเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เฟดประกาศใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำสุดมาตลอดในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงินทั่วโลก โดยเมื่อเดือนธ.ค.ปี 2558 ทางเฟดได้ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี จาก 0% มาอยู่ระหว่าง 0.25% – 0.5%
นายแอนดรูว์ วอคเกอร์ นักวิเคราะห์จากสำนักข่าวบีบีซี กล่าวว่า มีสัญญาณที่ชี้ว่านายทรัมป์จะลดภาษีและใช้เงินงบประมาณจำนวนมากในโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งทำให้เฟดต้องการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อควบคุมแรงกดดันของตัวเลขเงินเฟ้อ
ทางเฟดยังไม่แน่ใจว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่และคณะกรรมาธิการสภาคองเกรสชุดใหม่เข้ามาทำงานในปีหน้า แต่เธอเสริมว่า ธนาคารกลางต้องมีการตัดสินใจโดยทำเนียบขาวและสภาคองเกรส เมื่อมีการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย
โดยผู้บริหารสูงสุดของเฟดให้ความเห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการเจริญรุดหน้าในปี 2559 นี้ จึงทำให้มีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ว่า จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 14 ธ.ค. นั้น
“ จากผลลัพธ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจ มีความเป็นไปได้ถึง 90% ที่ทางเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนหน้า ” บริษัท Goldman Sachs รายงาน และนักวิเคราะห์หลายคนก็เห็นพ้องกันในเรื่องนี้
เมื่อกล่าวถึงความเป็นอิสระของธนาคารกลาง นางสาวเยลเลนกล่าวว่าต้องการจะเลื่อนการตัดสินใจไปในระยะยาว โดยในหลายประเทศ ธนาคารกลางมักถูกกดดันทางการเมือง ซึ่งจะกลายเป็นสถานการณ์ต่อเนื่องที่ย่ำแย่ นางสาวเยลเลนยังได้คอนเฟิร์มว่า เธอมีแผนจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระ 4 ปี ซึ่งจะหมดอายุลงในเดือน ม.ค.ปี 2561
ทั้งนี้ ในช่วงการหาเสียงของนายทรัมป์ เขาได้กล่าววิจารณ์ทั้งเฟด และนางสาวเยลเลนในเรื่องการรับมือทางด้านเศรษฐกิจ
ทางธนาคารกลางของอังกฤษก็กำลังเผชิญกับแรงกดดันที่คล้ายคลึงกันจากพวกอนุรักษ์ ในเรื่องผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดๆ และมาตราการผ่อนคลายทางการเงิน ตีั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินในปี 2551.