มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตเด็ก 6 แสนคนต่อปี
องค์การยูนิเซฟเรียกร้องให้ผู้นำประเทศทั่วโลกลดปริมาณมลพิษทางอากาศ เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ เสียชีวิตมากกว่าจำนวนเด็กที่เสียชีวิตจากไข้มาเลเรียและเอชไอวีรวมกัน
โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีเสียชีวิตประมาณ 600,000 คนทุกปีจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศทั้งนอกบ้านและในบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ยากจน อ้างอิงจากการรายงานของนายแอนโธนี เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟ ที่เกริ่นนำเข้าสู่รายงานในห้วข้อ ‘ อากาศสะอาดให้เด็ก ’
เขาเสริมว่า มลพิษทางอากาศยังทำร้ายทารกที่ยังไม่ถือกำเนิดด้วย
“ อากาศพิษนอกจากจะทำอันตรายต่อการพัฒนาปอดของเด็ก ยังสามารถทำลายการพัฒนาของสมองและอนาคตของพวกเขาอีกด้วย ไม่มีสังคมใดที่สามารถจ่ายเงินเพื่อจะไม่รับรู้เรื่องอากาศพิษได้ ”
ทั้งนี้ มีการเผยแพร่รายงานล่วงหน้าจากการประชุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะจัดขึ้นที่เมืองมาราเกช ประเทศโมรอกโค ในวันที่ 7-18 พ.ย.ที่จะถึงนี้ (หรือที่เรียกว่า COP22) ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งที่22 COP21 ที่จัดขึ้นที่กรุงปารีสในเดือนพ.ย.ปี 2558 และได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากเป็นการชุมนุมของผู้นำระดับโลก หลังจากเกิดเหตุโจมตีกรุงปารีสครั้งใหญ่ไม่นาน
โดยที่ประชุมประสบผลสำเร็จตามเป้าที่สำคัญคือ บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะลดอุณหภูมิโลกให้ต่ำลง 2 องศาเซลเซียส
โดยยูนิเซฟร้องขอให้ผู้นำประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการประชุม COP22 เพื่อให้มีความก้าวหน้า 4 ขั้นคือ
- ลดมลพิษทางอากาศด้วยการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและลงทุนในพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพ
- เพิ่มการดูแลสุขภาพเด็ก รวมถึงให้เด็กๆมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นและให้ข้อมูลมากขึ้นในการป้องกันโรคปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่คร่าชีวิตเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
- ลดโอกาสเสี่ยงที่เด็กจะได้รับมลพิษทางอากาศ ด้วยการให้โรงเรียนตั้งอยู่ห่างจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งมลพิษอื่น และใช้เตาหุงต้มที่มีความปลอดภัยกับสุขภาพมากขึ้น
- ปรับปรุงพัฒนาระบบการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ
ทั้งนี้ มลพิษทางอากาศเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงสำหรับเด็ก เพราะปอดและระบบภูมิคุ้มกันของเด็กกำลังพัฒนา อ้างอิงจากรายงาน
นายเลคกล่าวว่า “ การปกป้องเด็กๆจากมลพิษทางอากาศไม่ใช่หนทางที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่ยังดีที่สุดสำหรับสังคมของพวกเด็กๆ ด้วย เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ เพิ่มกำลังการผลิตในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัยขึ้น และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ”