ค้าปลีกสหรัฐฯ ไตรมาส 2 โตเกินคาด
ยอดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาในเดือนมิ.ย. ขยายตัวเกินคาดการณ์ แรงหนุนสำคัญเกิดจากชาวอเมริกันซื้อรถยนต์และสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น
ชี้ให้เห็นสัญญาณการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 2
การคาดการณ์ถึงเศรษฐกิจที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นมาจากข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย. ทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 11 เดือน โดยได้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เสริมด้วยอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง และตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น
ตลาดหุ้นวอลล์สตรีทที่อยู่ในช่วงขาขึ้นอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ในปีนี้ แต่ยังต้องขึ้นอยู่กับการประเมินของฝ่ายบริหารถึงผลกระทบของเบร็กซิทเมื่อวันที่ 23 มิ.ยที่มีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ด้วย
นายฮาร์ม บันดอลซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์สหรัฐฯ ประจำบริษัทยูนิเครดิตรีเสิร์ชในนครนิวยอร์คให้ความเห็นว่า “หากอยู่ในช่วงเวลาปกติ นี่คงจะเพียงพอให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องได้ แต่ตอนนี้ ทางเฟดคงต้องรอดูผลกระทบของเบร็กซิทที่มีต่อแนวโน้มของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก่อนที่จะออกนโยบายมารับมือกับสถานการณ์นี้ ”
นอกจากยานยนต์ น้ำมัน วัสดุก่อสร้างและบริการด้านอาหาร ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.5% หลังจากทรงตัวในเดือนพ.ค. โดยยอดค้าปลีกหลักมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายของผู้บริโภคในรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
จากยอดค้าปลีกหลักที่ดีเกินคาดการณ์ในเดือนมิ.ย. ชี้ให้เห็นถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4.5% ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา อ้างอิงจากข้อมูลของนักเศรษฐศาสตร์
ในส่วนรายงานที่แยกออกมา ทางเฟดรายงานว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 0.6% ในเดือนมิ.ย.สวนทางกับการหดตัวลง 0.3% ในเดือนพ.ค. การผลิตของอุตสาหกรรมถ่านหินมีกำไร 2 เดือนติดต่อกันจากการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันและภาคบริการ ชดเชยการหดตัวของน้ำมันและก๊าซ และอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ไม่ใช่โลหะ
นอกจากนี้ อุปสงค์ภายในประเทศที่ค่อยๆ แปลเปลี่ยนเป็นราคาผู้บริโภคที่สูงขึ้น โดยในรายงานฉบับที่ 3 กระทรวงแรงงานรายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือนที่แล้วหลังจากทรงตัวในเดือนพ.ค.
ทั้งนี้ CPI ในเดือนพ.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.3% จากเดิม 2.2% ในปีที่แล้ว โดยการปรับเพิ่มขึ้นครั้งนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยประจำปีที่ 1.9% ซึ่งเป็นมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
ในรายงานฉบับที่ 4 ชี้ให้เห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงในช่วงต้นเดือนก.ค. เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่มีรายได้สูงต่อผลกระทบของเบร็กซิทต่อราคาหุ้นในตลาด อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นกลับดีดกลับขึ้นมาและมีการซื้อขายสูงเป็นประวัติการณ์
ขณะเดียวกัน ค่าแรงที่ปรับสูงขึ้นและเงินออมที่เพิ่มขึ้นช่วยหนุนให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคสูงในปีนี้ ยอดค้าปลีกในเดือนมิ.ย. พุ่งทะยานขึ้นจากยอดซื้อวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์สิ่งทอ เพิ่มขึ้นถึง 3.9% ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มสูงสูดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2553 เป็นต้นมา.