ธุรกิจในยุโรปสะดุดตั้งแต่ต้นปี
เมื่อวันที่ 22 ม.ค. มีข้อมูลว่าธุรกิจในยุโรปเริ่มต้นไม่ดีนักตั้งแต่ต้นปี จากที่เคยคาดการณ์ว่า การลดราคาสินค้าจะช่วยดันอุปสงค์ในยุโรปให้เพิ่มขึ้น แต่นักช้อปในอังกฤษกลับอยู่แต่ในบ้านช่วงเดือน ธ.ค.
อุปสงค์ที่ซบเซาจากต่างประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากโรงงานในยุโรปสะท้อนให้เห็นว่า แรงสั่นสะเทือนจากเศรษฐกิจจีน และที่อื่นๆ กำลังแพร่กระจายไปทั่ว มีผลทำให้ธนาคารกลางของยุโรปต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบใหม่เมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา
นายแจ็ค อัลเลนจากแคปปิตัล อิโคโนมิกส์ ให้ความเห็นว่า “ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่า เศรษฐกิจในยุโรปกำลังค่อยๆ ฟื้นตัวอย่างช้าๆ”
“การเติบโตที่ค่อนข้างชะลอตัวมาจากปัจจัยควบคู่กันของราคาน้ำมัน และค่าเงินที่อ่อนค่าลง เศรษฐกิจในยุโรปยังคงซบเซาเกินกว่าจะสร้างแรงผลักดันดันให้เกิดการขยายตัวได้ ธนาคารกลางยุโรปกำลังแบกรับแรงกดดันที่จะต้องติดตามผลจากมาตรการกระตุ้นที่จะเห็นผลในทางปฏิบัติในเดือนมี.ค.นี้”
นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป กำลังทบทวนถึงการผ่อนคลายมาตรการที่มากขึ้น ถึงแม้ธนาคารกลางจะเพิ่งประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ย และขยายโปรแกรมการซื้อสินทรัพย์ในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาก็ตาม เนื่องจากมีความผันผวนเพิ่มขึ้นในตลาดเกิดใหม่ ความไม่แน่นอนของตลาดการเงิน และความเสี่ยงในภูมิศาสตร์การเมือง
โดย นายดรากี กล่าวกับสื่อหลังจากมีการตัดสินใจเรื่องนโยบายเมื่อวันที่ 21 ม.ค.ว่า “เราจะไม่ยอมจำนนต่อปัจจัยหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้”
อย่างไรก็ตามหุ้น และน้ำมัน ที่ได้รับผลกระทบ จากการที่จีนดิ้นรนเพื่อจะคงสถานะของเศรษฐกิจประเทศไว้เมื่อปีที่แล้ว กลับดีดกลับขึ้นมาได้อย่างแรงเมื่อวันที่ 22 ม.ค.ที่ผ่านมา
ผู้ค้าในตลาดชี้ให้เห็นถึงสัญญาณของนโยบายการเงินที่จะมีมากขึ้นจากการสนับสนุนของธนาคารกลางยุโรป อย่างเช่น การตามล่าหาซื้อของถูกจากนักลงทุนที่บอบช้ำ อย่างน้ำมัน เพื่อรอการฟื้นตัว ดัชนีพีเอ็มไอของยูโรโซน ที่อ้างอิงจากการสำรวจบริษัทผู้ประกอบการนับพันแห่ง แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของการเติบโต โดยเพิ่มเป็น 54.3 จุดจากเดิมอยู่ที่ระดับ 53.5 จุดมานานถึง 11 เดือน ดัชนีนี้ที่อยู่เหนือกว่าระดับ 50 จุด เป็นการแบ่งแยกการเติบโตออกจากการหดตัวมาตั้งแต่เดือนก.ค.2556
ข้อมูลของยูโรโซนจากการสำรวจแสดงว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวมากขึ้นในเยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่มีการดีดตัวขึ้นเล็กน้อยในฝรั่งเศส ซึ่งภาคบริการยังคงเติบโตหลังจากเหตุการณ์โจมตีกรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พ.ย. ปีที่แล้ว ในประเทศอังกฤษซึ่งไม่ได้ใช้สกุลเงินยูโร การใช้จ่ายในภาคค้าปลีกได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ดิ่งลงมามากที่สุดในรอบ 6 ปีจากการลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ช่วงเทศกาลคริสต์มาส
อย่างไรก็ตามมีแรงเชียร์ส่งไปถึง นายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของอังกฤษที่ตัวเลขในรายงานแสดงว่า รัฐบาลอังกฤษลดการกู้ยืมเงินลงได้อย่างรวดเร็ว