เงินเฟ้อญี่ปุ่นเพิ่มครั้งแรกในรอบปี

ตัวเลขราคาผู้บริโภคของญี่ปุ่นปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปีในเดือนม.ค.จากราคาพลังงานที่สูงขึ้นและการบริโภคภาคเอกชน สร้างความหวังให้กับธนาคารกลางที่จะผลักดันให้เงินเฟ้อเป็นไปตามเป้าคือ 2%
แต่การใช้จ่ายครัวเรือนลดลงในเดือนม.ค.เนื่องจากตลาดงานมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น เน้นให้เห็นว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงมีความอ่อนไหว
ดัชนีราคาผู้บริโภคหลัก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมัน แต่ไม่รวมราคาอาหารสด เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนม.ค.จากตัวเลขเดิมของเมื่อปีที่แล้ว จากข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันที่ 3 มี.ค. เป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค. ปี 2558 เป็นต้นมา
เมื่อเปรียบเทียบกับการคาดการณ์ตลาดโดยเฉลี่ยว่าจะมีการเติบโตที่ไม่หวือหวาและอาจจะซ้ำรอยตัวเลขเดิมที่ลดลง 0.2% ในเดือนธ.ค.
ดัชนีแยกที่ไม่รวมกับผลกระทบของพลังงานและราคาอาหารสด แต่รวมราคาเนื้อปรุงสำเร็จ ปรับเพิ่มขึ้น0.2% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อ้างอิงจากข้อมูลของรัฐบาล
ตัวเลขเงินเฟ้อต่ำในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนมานานกว่า 2 ทศวรรษ เป็นอุปสรรคที่หนักหนาที่สุดในการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถทำตัวเลขเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าได้ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว
เมื่อวันที่ 3 มี.ค.กระทรวงได้เผยแพร่ดัชนีราคาผู้บริโภคล่าสุดที่ไม่รวมผลกระทบจากราคาอาหารสดและพลังงานที่ผันผวน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีประโยชน์ในการติดตามแนวโน้มราคาผู้บริโภค
ข้อมูลที่แยกส่วนกันอีกชุดหนึ่งชี้ให้เห็นว่า การใช้จ่ายครัวเรือนลดลง 1.2% ในเดือนม.ค.จากปีก่อนหน้าแย่กว่าการคาดการณ์โดยเฉลี่ยของตลาดคือลดลงเพียง 0.4% และเป็นการลดลงอย่างต่อเนื่องถึง 11 เดือนแล้ว ในขณะที่อัตราการว่างงานลดลง 3% ในเดือนม.ค.ซึ่งครงกับการคาดการณ์
โดยเศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในไตรมาสเดือนก.ค. – ก.ย.และนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าการเติบโตจะเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่จะถึงนี้ จากการส่งออกและผลผลิตแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยได้แรงหนุนจากตลาดประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่
รัฐบาลหวังว่า แนวโน้มการฟื้นตัวที่ยั่งยืนจะช่วยให้บรรดาบริษัทปรับขึ้นค่าแรงและส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นจุดอ่อนของญี่ปุ่นที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าราคาผู้บริโภคจะปรับเพิ่มขึ้น 1% ในปีนี้ ถึงแม้ว่าจะทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อยังคงห่างจากเป้า 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJ อยู่ก็ตาม.