UN สอบสวนสงครามยาเสพติดฟิลิปปินส์
เจนีวา (รอยเตอร์) – เมื่อวันที่ 11 ก.ค. คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีมติให้มีการสอบสวนการสังหารหมู่ในฟิลิปปินส์ ระหว่างการทำสงครามยาเสพติดของประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเคลื่อนไหวระบุว่ายาวนานเกินขอบเขต
โดยรัฐบาลของประธานาธิบดีดูเตอร์เตระบุว่า ตำรวจได้ทำวิสามัญฆาตกรรมไปประมาณ 6,600 ราย จากการยิงต่อสู้กับผู้ต้องสงสัยว่าค้ายา นับตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2559 แต่นักเคลื่อนไหวระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27,000 ราย
โดยการโหวตลงมติให้มีการแก้ไขเป็นครั้งแรกในประเด็นสงครามยาเสพติดในฟิลิปปินส์ ที่นำโดยไอซ์แลนด์ มีผู้ออกเสียงเห็นด้วย 18 ประเทศ คัดค้าน14 ประเทศ รวมทั้งจีน และงดออกเสียง 15 ประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น
“นี่ไม่ใช่แค่ความก้าวหน้าขึ้นอีกขั้นในการทวงคืนความยุติธรรมให้กับหลายพันครอบครัวของเหยื่อจากการถูกวิสามัญฆาตกรรมในฟิลิปปินส์ แต่ยังเป็นข้อความที่เราได้ส่งถึงผู้ที่ยกย่องประธานาธิบดีดูเตอร์เตด้วย ” Ellecer Carlos จากกลุ่มสิทธฺิ iDefend ที่มีฐานในฟิลิปปินส์ระบุ “ สงครามยาเสพติด เป็นสงครามที่น่าละอาย เขากล่าวในการแถลงข่าวในเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
นักเคลื่อนไหวฟิลิปปินส์ระบุว่ามีผู้ถูกสังหารไปนับหมื่นคนจากการเข้าตรวจชุมชนยากจน โดยใช้แค่รายชื่อผู้ที่ถูกเฝ้าระวังในการตรวจสอบผู้ต้องสงสัยว่าจะเสพ หรือค้ายา
ตำรวจปฏิเสธคำกล่าวหาเหล่านี้ โดยระบุว่าการวิสามัญฆาตกรรมของพวกเขาเป็นการป้องกันตัวเองจากการที่ผู้ต้องหายิงต่อสู้
ทั้งนี้ Myca Ulpina เด็กวัย 3 ปีถูกเจ้าหน้าที่สังหารเมื่อวันที่ 29 มิ.ย.ใกล้กรุงมะนิลา เป็นกรณีล่าสุดที่เหยื่อมีอายุน้อยที่สุด แต่ตำรวจอ้างว่าพ่อของเธอ ใช้ลูกสาวเป็นโล่มนุษย์กำบังตัวเอง
ซัลวาดอร์ ปาเนโล โฆษกของประธานาธิบดีดูเตอร์เต ตั้งคำถามสงสัยว่าการโหวตลงมติครั้งนี้ไม่ได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกส่วนใหญ่ เขาระบุว่า ชาวฟิลิปปินส์สนับสนุนความเป็นผู้นำและแนวปฏิบัติของประธานาธิบดีดูเตอร์เตที่ไม่เหมือนใคร
ทั้งนี้ ผู้แทนจากฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 47 ประเทศสมาชิก ได้พยายามล็อบบี้เรื่องนี้ อย่างหนัก โดยสัญญาจะให้ความร่วมมือกับ Michelle Bachelet ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งจะรายงานผลการไต่สวนในเดือนมิ.ย.ปีหน้า
หากดูเตอร์เตอนุญาตให้มีการสอบสวนและกระบวนการที่เที่ยงธรรม ปาเนโลกล่าวว่า
“เราแน่ใจว่าผลการสอบสวนที่ได้จะทำให้ผู้สอบสวนรู้สึกละอายใจ รวมทั้งไอซ์แลนด์ และอีก 17 ชาติด้วย”