แรงงานญี่ปุ่นฟ้องโรงไฟฟ้า

ศาลญี่ปุ่นเริ่มไต่สวนคดีของชายซึ่งป่วยเป็นโรคลูคีเมียหรือโรคเม็ดเลือดขาวผิดปกติ หลังจากทำงานเป็นช่างเชื่อมในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดความเสียหายอย่างหนักในปี 2554
โดยฝ่ายโจทก์ผู้ยื่นฟ้องวัย 42 ปีผู้นี้เป็นคนแรกที่กระทรวงแรงงานยอมรับว่ามีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการเก็บกวาดโรงงานที่พังเสียหาย เขายื่นฟ้องบริษัทไฟฟ้าโตเกียว ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าแห่งนี้
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2554 ทำให้พังเสียหายหนักจนต้องปิดตัวลง นับเป็นหายนะจากนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดหลังจากเหตุการณ์โรงไฟ
ฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในรัสเซียระเบิดในปี 2529 ยังมีการปิดล้อมบริเวณรอบๆโรงไฟฟ้าที่แรงงานนับพันคนยังคงพยายามที่จะเก็บกวาดอยู่จนถึงปัจจุบัน
ชายผู้นี้ทำงานในโรงไฟฟ้าที่จังหวัดฟุกุชิมะ เป็นช่างเชื่อมของผู้รับเหมารายย่อย เขาทำงานเป็นเวลา 6 เดือนในโรงไฟฟ้าโรงที่ 2 ก่อนที่จะย้ายไปทำที่โรงที่ 1 ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด เขาต้องสร้างนั่งร้านเพื่อซ่อมแซมงานที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ 4
ทั้งนี้ วัดค่ารังสีที่สะสมในตัวเขาได้ 19.78 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งต่ำกว่าที่กฎหมายญี่ปุ่นกำหนด ตามกฎหมาย
ของญี่ปุ่นนั้น กำหนดให้ผู้ทำงานในโรงไฟฟ้ามีค่ารังสีสะสมสูงสุดได้ 100 มิลิซีเวิร์ตเป็นเวลามากกว่า 5 ปี โดยผู้ที่มีค่ารังสีสะสม 100 มิลลิซีเวิร์ตใน 1 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้
แต่ในเดือนต.ค.ปี 2558 บอร์ดบริหารของกระทรวงสาธารณสุขตัดสินว่า ความเจ็บป่วยของชายผู้นี้เกิดจากอันตรายของสถานที่ทำงานและสามารถเรียกร้องเงินชดเชยค่าเสียหายได้
“ ถึงแม้ความเกี่ยวข้องระหว่างการได้รับรังสีและโรคที่เขาเป็นยังไม่กระจ่างชัดเจน ทางกระทรวงขอรับรองให้เขาได้รับค่าชดเชย” กระทรวงสาธารณสุขรายงานในเวลานั้น
เหยื่อผู้เสียหายกำลังยื่นฟ้องโรงไฟฟ้าเทปโกและคิวชู ( Kepco) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้าเกงไคด้วยมูลค่า 59 ล้านเยน
“ ผมทำงานที่นั่น ( โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 1 ) เพราะมีความตั้งใจที่จะช่วยควบคุมความเสียหายให้เข้าที่เข้าทาง แต่ผมกลับได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นแรงงานที่ไร้ค่า ผมต้องการให้โรงไฟฟ้าโตเกียวมีความรับผิดชอบ” เขากล่าว
ในการฟ้องร้องเมื่อปีที่แล้ว ทนายของเขากล่าวว่า “ ผู้เสียหายถูกบีบให้ได้รับรังสีโดยไม่จำเป็น อันเนื่องมาจากการจัดการของโรงงานที่สะเพร่าเลินเล่อ”
ทางTepco และ Kepco ได้ขอยื่นคัดค้านต่อศาล โดยตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างค่ารังสีสะสมกับโรคลูคีเมียของเขา อ้างอิงจากการรายงาของสื่อท้องถิ่น
ทั้งนี้ แรงงานหลายหมื่นคนถูกจ้างไปทำงานที่ฟุกุชิมะ หลังจากเกิดหายนะร้ายแรงในเดือนมี.ค.2554 เมื่อช่วงปลายปี 2559 รัฐบาลรายงานว่า ค่าใช้จ่ายในการเก็บกวาดทำความสะอาดโรงไฟฟ้าที่เสียหายเพิ่มขึ้นเป็น 21.5 ล้านล้านเยน.
หมายเหตุ 100 เยน = 31 .94 บาท / 3 ก.พ. 2560