ฮ่องกงประท้วงนับแสนต้านส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปจีน
ฮ่องกง – เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ประชาชนหลายแสนคนรวมตัวชุมนุมกันบนท้องถนนหลายสายในฮ่องกงเพื่อคัดค้านกฎหมายส่งผู้ต้องสงสัยไปจีนเพื่อดำเนินคดี โดยมีกำลังตำรวจมาประจำการในเมืองมากที่สุดในรอบ 15 ปี
สื่อ RTHK รายงานว่า ผบ.ตร.เรียกร้องให้ประชาชนอยู่ในความสงบ โดยได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่กว่า 2,000 คนไปควบคุมสถานการณ์การชุมนุมซึ่งผู้ประสานงานคาดว่าจะดึงดูดผู้คนให้มารวมตัวกันได้มากกว่าครึ่งล้านคน
เป็นการเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2546 เพื่อท้าทายแผนการของรัฐบาลในการคุมเข้มกฎหมายความมั่นคงให้เข้มงวดขึ้น
คำรวจและผู้ประสานงานยังไม่ได้ประเมิน แต่มีผู้คนหลายหมื่นคนที่เดินขบวนไปถึงสภานิติบัญญัติในเขตธุรกิจ โดยจุดสตาร์ทในวิคทอเรีย พาร์คเต็มไปด้วยคนหลายพันที่มารอเพื่อจะเข้าร่วมในการชุมนุม
ถนนหลายสายเต็มไปด้วยผู้คน โดยนักข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์ที่จุดสำคัญประเมินว่ามีผู้คนหลายร้อยคนมาร่วมชุมนุม
การดีเบตเริ่มที่สภาเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.เกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมาย Fugitive Offenders Ordinance โดยกฎหมายจะผ่านสภาภายในสิ้นเดือนมิ.ย.
มีเสียงตะโกนก้องของผู้ประท้วงว่า “ ไม่ส่งตัวไปจีน ไม่เอากฎหมายปีศาจ ” ไปทั่วถนนหลายสายในเมือง ขณะที่การเดินขบวนที่อื่นเรียกร้องให้แคร์รี แลม ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง ออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้ประท้วงคนหนึ่งถือป้ายประท้วงว่า “ แคร์รี ออกไป ”
โดยผู้ว่าการแลมปรับแต่งร่างที่เสนอ แต่ปฏิเสธที่จะถอนกฎหมายออกจากสภา โดยระบุว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องอุดช่องโหว่กฎหมาย
แกร์รี ชิว ครูโรงรียนเข้าร่วมในการประท้วงพร้อมกับภรรยาและลูกสาววัย 1 ปี เขาระบุว่า
“ นี่ไม่เกี่ยวกับผม แต่ผมอยากช่วยปกป้องลูกสาวผม หากกฎหมายมีผล ใครก็ได้อาจหายตัวไปจากฮ่องกง ไม่มีใครได้รับความยุติธรรมในจีน เรารู้ว่าที่นั่นไม่มีสิทธิมนุษยชน ” เขากล่าว
การประท้วงมีการวางแผนจะประท้วงพร้อมกันในอีก 25 เมืองทั่วโลก ทั้งกรุงลอนดอน ซิดนีย์ นิวยอร์ก และชิคาโก
ผู้คัดค้านกฎหมายใหม่ตั้งคำถามถึงความยุติธรรมและความโปร่งใสของระบบศาลจีน และกังวลเกี่ยวกับการตั้งข้อหาด้านความมั่นคง
สื่อรอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่าผู้พิพากษาอาวุโสของฮ่องกงมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยชี้ว่าขาดความเชื่อถือในระบบศาลของจีน รวมถึงสภาพการณ์จำกัดของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย ทางการฮ่องกงระบุว่า “ เรายังคงรับฟังมุมองและความเห็นจากทุกภาคส่วน และเปิดรับคำแนะนำเพื่อปรับปรุงกฎหมายใหม่ให้ดีขึ้น”