แอร์เอเชียหวังเข้าร่วมตลาดอีคอมเมิร์ซ
บริษัทแอร์เอเชียกรุ๊ป สายการบินราคาประหยัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศอยากจะขายมากกว่าแค่ตั๋วเครื่องบินราคาถูก
Aireen Omar รองหัวหน้ากลุ่มผู้บริหารให้สัมภาษณ์ว่า ทางแอร์เอเชีย กำลังเจรจากับผู้ร่วมลงทุนในอนาคต เกี่ยวกับการสร้างแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ ที่ทางแอร์เอเชียต้องการให้บริการอีคอมเมิร์ซตามธุรกิจสายการบินให้ทันให้ได้ ส่วนทางสายการบินซึ่งมีรายได้ 1 พันล้านริงกิดต่อปี หรือ 7,634 ล้านบาท จากระบบสำรองห้องพัก โดยทางสายการบินคาดว่าการขยายฐานทางแอปพลิเคชันที่มีทั้งสินค้าไลฟ์สไตล์ และการบริการต่าง ๆ จะสร้างเงินได้มากกว่าเดิมถึง 20 เท่า
Aireen ให้สัมภาษณ์ในออฟฟิศของเธอที่ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ว่า “แอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซของเราจะเติบโตจนใหญ่กว่าสายการบินอีกค่ะ แค่แอปเดียวแต่สามารถทำอะไรได้หลายอย่าง และนี่คือที่เรากำลังพยายามทำแอปพลิเคชันเพื่อท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ของเราค่ะ”
Tony Fernandes ซีอีโอและผู้ก่อตั้งสายการบินระบุไว้ในเดือนก่อนว่า แอร์เอเชียเป็นสายการบินราคาประหยัดที่มีผู้โดยสารมากถึง 100 ล้านรายต่อปี พยายามเพิ่มขอบเขตความสามารถด้านเทคโนโลยีของบริษัท เพื่อตีตลาดอีคอมเมิร์ซในระดับภูมิภาคที่คาดว่าจะสร้างเงินมากขึ้น 3 เท่า เป็นเงิน 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 7,627 ล้านบาท ภายในปี พ.ศ.2568
ส่วนสายการบินระดับพรีเมียมอย่าง สิงคโปร์ แอร์ไลน์ และคาเธ่ย์ แปซิฟิก แอร์เวย์ส์ หันไปขายสินค้าปลอดภาษีบนเครื่องเพื่อกระตุ้นรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันของแอร์เอเชียเองก็จะให้บริการทุกอย่างตั้งแต่การสำรองที่พัก ไปจนถึงการขายผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และส่วนลดมื้ออาหาร
Aireen ระบุว่า ธุรกิจดิจิทัลมีแนวโน้มที่จะแตกแขนงต่อยอดในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเธอไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มแต่อย่างใด
ทางนาย Fernandes เตรียมบริษัทให้พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนทางดิจิตอลอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง สายการบินแอร์เอเชีย ได้ขายเครื่องบินที่จอดทิ้งไว้ให้บริษัทเช่า และขายหุ้นในการดำเนินการจัดการภาคพื้นดิน นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างบริษัทให้มีกลุ่มบริษัทร่วมลงทุนหลังเข้าตลาดหุ้นและแยกธุรกิจสายการบินออกไป
การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นเพราะทางแอร์เอเชียต้องต่อสู้กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในฐานะบริษัทสายการบิน นับตั้งแต่การหยุดเที่ยวบินไปยังเกาะท่องเที่ยวโบราไกย์ ในฟิลิปปินส์ และเหตุภัยพิบัติในอินโดนีเซียปีก่อน รวมถึงการที่ทางมาเลเซียควบคุมราคาที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูท่องเที่ยว
ขณะเดียวกัน น้ำมันดิบเบรนท์ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 30% ในปีนี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายของสายการบินสิงคโปร์ แอร์ไลน์ และบริษัทดอยซ์ ลุฟท์ฮันซ่า เอจี ซึ่งทำให้กำไรในไตรมาสแรกลดลง เนื่องจากค่าน้ำมันที่แพงขึ้น ส่วนรายได้สุทธิของแอร์เอเชียลดลงถึง 92% ในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
Aireen ระบุว่า ทางบริษัทวางแผนที่จะใช้ข้อมูลของผู้บริโภคที่มีอยู่มาก โดยจะนำไปใช้ในการทำการตลาดสินค้าและบริการ เพื่อเจาะตลาด นอกจากนี้ยังให้บริการอินเทอร์เน็ตบนเครื่องบินทุกลำเพื่อขายสินค้าให้ผู้โดยสารระหว่างเดินทางบนเครื่องบิน
แอปพลิเคชันใหม่นี้ยังรวบรวมการเป็นสมาชิก AirAsia BIG Loyalty ซึ่งเป็นการจับมือกับบริษัทผู้ขายสินค้าอย่างไนกี ไปจนถึงเซโฟรา เพื่อมอบสิทธิพิเศษและส่วนลดให้กับผู้ใช้อีกด้วย.