5 ตลาดใหญ่สุดของยูทูบอยู่ในเอเชีย
ยูทูบ แพลตฟอร์มวีดีโอของอัลฟาเบท มีโมเมนตัมที่ยอดเยี่ยมในเอเชียแปซิฟิก ทั้งในแง่จำนวนผู้ใช้งาน และความถี่ในการใช้บริการ จากข้อมูลของผู้บริหารอาวุโส
เมื่อวันที่ 24 เม.ย. Ajay Vidyasagar ผอ.ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของยูทูบระบว่า5 ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของยูทูบทั่วโลกอยู่ในเอเชียแปซิฟิก โดยประเทศเหล่านั้นคือ ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย และเวียดนาม
“ ทั้ง 5 ประเทศ มีระดับการเติบโตสูงเป็นตัวเลขสองหลัก เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือในบางประเทศ เติบโตต่อปีเป็นตัวเลขถึง 3 หลัก” Vidyasagar กล่าวให้สัมภาษณ์กับสื่อ CNBC
“ อันที่จริง การบริโภคสื่อในโทรศัพท์มือถือ เริ่มแสดงให้เห็นว่า เป็นการพลิกทำให้เกมเปลี่ยนจากภูมิภาคนี้”
เอเชียเป็นที่ตั้งของตลาดสมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งอินเดียและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของโทรศัพท์มือถือช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงวีดีโอคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งคนส่วนใหญ่ดูทีวีมากที่สุด จนถึงตอนนี้ ยูทูบมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน
จากข้อมูลของเขา ที่จริงแล้ว สองตลาดแรกในโลกที่เปลี่ยนการเสพสื่อวีดีโอจากคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปมาเป็นสมาร์ทโฟนมากกว่าคือญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่ประทศอื่นๆก็กำลังไล่หลังมาอย่างรวดเร็ว
“ ในช่วง 2 – 3 ปีล่าสุด สิ่งที่เราเห็นในตลาดอย่างอินเดียน่าประหลาดใจจริงๆ” เขากล่าว
“ อินเดียวันนี้มีการบริโภคสื่อเกือบ 85% จากโทรศัพท์มือถือ ในปีที่แล้ว เราเห็นการเติบโตที่สูงมากๆ เกือบ 3 เท่าจากสมาร์ทโฟน สูงที่สุด”
โดยเขาเสริมว่า ตลาดเอชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีการเติบโตมากเช่นกัน อย่างประเทศไทยและอินโดนีเซีย
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โซเชียลแพลตฟอร์มอย่างยูทูบ และอื่นๆถูกควบคุมอย่างเข้มงวดเพื่อจับตาดูข้อความที่สร้างความเกลียดชัง ข้อมูลเท็จ และคอนเทนต์ที่ถูกแบนในแพลตฟอร์มต่างๆ
ตัวอย่างเช่น ในอินเดีย ศาลสั่งให้รัฐบาลกลางแบนแอปพลิเคชั่น Tilk Tok ที่ได้รับความนิยมมากของจีน โดยระบุว่าเป็นการกระตุ้นส่งเสริมภาพลามกอนาจาร จนถึงตอนนี้ มีผู้ดาวน์โหลด Tik Tok ไปเกือบ 300 ล้านคน และคำสั่งแบนจากศาลส่งผลให้มีความเสี่ยงกับคนทำงานกว่า 250 คน
เพื่อรับมือกับมาตรฐานในการกำกับดูแลที่เข้มงวดขึ้น บริษัทอย่างยูทูบและเฟซบุ๊ก จึงต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย รวมทั้งปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจสอบคอนเทนต์ที่สร้างความแตกแยกเกลียดชังบนเว็บไซต์ของตัวเอง
โดย Vidyasagar ระบุว่า ยูทูบและกูเกิลลงทุนกับเทคโนโลยีและคนสูงมาก เพื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เครงครัดขึ้นให้ได้มาตรฐานในแต่ละประเทศ
“ เราจำเป็นต้องมีการผสมผสานทั้งเครื่องมือและการแทรกแซงของมนุษย์เพื่อรับมือให้ได้” เขาเสริม