คนขับญี่ปุ่นวัย 80 พุ่งชนดับ 2 เจ็บ 8
เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ตำรวจรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และได้รับบาดเจ็บ 8 รายหลังรถยนต์คันหนึ่งพุ่งเข้าชนคนข้ามถนนบนทางม้าลายที่สี่แยกพลุกพล่านแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียว
โดยผู้ขับรถยนต์คันที่ก่อเหตุเป็นชายสูงอายุวัยแปดสิบกว่าปี เขาขับชนคนเดินถนนในเขตอิเคบุคุโร และชนรถเก็บขยะในเวลาประมาณ 12.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น อ้างอิงจากรายงานของตำนวจนครบาล
เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย ซึ่งเป็นหญิงวัยสามสิบกว่าปีและลูกสาว วัย 2 ปีของเธอเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ขณะที่ผู้บาดเจ็บ 3 รายที่มีอายุประมาณ 70 – 80 กว่าปียังคงบาดเจ็บสาหัส จากรายงานของตำรวจ
พยานชายคนหนึ่งระบุว่า “ ผมเห็นรถคันหนึ่งพุ่งเข้าหาคนที่กำลังข้ามถนน ซึ่งผมกำลังจะข้ามต่อ และก็มีเสียงดังเกิดขึ้น คนที่อยู่ข้างหน้าผมถูกรถชน” เขายังกล่าวต่อไปว่า “ ผมกลัวมากว่าอาจเป็นผมก็ได้ถ้าผมมาถึงเร็วกว่านี้อีกนิดเดียว”
ทั้งนี้ เหตุร้ายเกิดขึ้นใกล้สถานีรถไฟใต้ดินฮิงาชิ – อิเคบุคุโร ซึ่งให้บริการรถไฟเส้นทางโตเกียว เมโทร ยุราคุโช และให้บริการผู้โดยสารประมาณ 43,000 คนต่อวัน
นอกจากจะเป็นพื้นที่สำนักงานจำนวนมากแล้ว บริเวณนี้ซึ่งกล้กับที่เกิดเหตุ ยังเป็นที่ตั้งของ ตึกระฟ้า Sunshine 60 สูง 240 เมตร ซึ่งเป็นสถานที่ดึงดูดนักช้อป นักท่องเที่ยว และนักธูรกิจจำนวนมาก
วิกฤตคลื่นยักษ์จากผู้สูงอายุ ( silver tsunami ) ซึ่งดูจะเลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ประเด็นคนขับรถสูงอายุกลายเป็นหัวข้อที่มีการพูดถึงในระดับชาติ
โดยผู้ขับขี่วัย 75 ปี หรือสูงวัยกว่า รวมถึงผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการทดสอบความรู้ความเข้าใจ เป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึงแก่ชีวิตมากถึง 418 ครั้ง เฉพาะในปี 60 เพียงปีเดียว ประมาณ 41% เป็นการชนรถยนต์ และ 19 % เป็นการชนทั้งรถยนต์และคนเดินถนน
อ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น (NPA) มีผู้เสียชีวิต 194 รายจากอุบัติเหตุที่คนขับอยู่ในภาวะสมองเสื่อมหรือการรับรู้เสียหายหลายคดี โดยคนขับต้องการจะเหยียบเบรค แต่กลับไปเหยียบคันเร่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากเกือบ 8 เท่าของของจำนวนผู้สูงอายุในช่วงที่ได้รับรายงานอุบัติเหตุ
ภายใต้กฎหมายจราจรที่มีการปรับแก้ไขและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมี.ค. 60 ผู้ขับขี่วัย 75 ปีหรือมากกว่า จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อการคัดกรองเบื้องต้น หากผู้ขับขี่ต้องสงสัยว่ากำลังอยู่ในภาวะสมองเสื่อม
ทั้งนี้ NPA รายงานว่ามีผู้ขับขี่สูงอายุประมาณ 1,900 คน ที่ถูกเพิกถอน หรือถูกระงับใบอนุญาตขับขี่ หลังจากเข้ารับการตรวจจากแพทย์ในปีแรกภายใต้กฎหมายจราจรที่แก้ไขใหม่.