เศรษฐกิจญี่ปุ่นโตเพิ่ม 0.5%
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสเดือนต.ค. – ธ.ค.เติบโตสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ โดยได้แรงหนุนบางส่วนมาจากการลงทุนของบรรดาบริษัท อ้างอิงจากตัวเลขทางการเมื่อวันที่ 8 มี.ค.
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกมีการเติบโต 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมคือ 0.3% สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
โดยตัวเลขล่าสุด (คิดเป็นอัตราต่อปีคือ 1.9%) ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย ยืนยันว่าญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นกลับมาเติบโตจากผลกระทบด้านลบของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน
การใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 2.0% สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าจะลดลง 0.5% ผลสำรวจจากกระทรวงมหาดไทยระบุ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าบ้าน ยานพาหนะ และโทรคมนาคม และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้าที่จะเริ่มปีงบประมาณในเดือนเม.ย. กระทรวงระบุ
ข้อมูลของวันที่ 8 มี.ค.ชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการเติบโตถึง 8 ไตรมาสต่อเนื่องกันสิ้นสุดลงในไตรมาสเดือนม.ค. – มี.ค.ในปี 61 ขัดขวางไม่ให้มีการเติบโตต่อไป ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลังเศรษฐกิจญี่ปุ่นเคยบูมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 มี.ค.สำนักคณะรัฐมนตรีปรับการคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจลง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในเดือนม.ค.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีการประเมินดัชนีล่าสุดว่า “ส่งสัญญาณว่าอาจมีจุดเปลี่ยน” จากภาวะชะลอตัว สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
นักวิเคราะห์ยังเตือนว่า สงครามการค้าที่นำโดยสหรัฐฯอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืดที่มีมายาวนาน
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโตขึ้น หลังจากดิ่งลงในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในฤดูร้อนปีที่แล้ว ทั้งน้ำท่วมในพื้นที่ตะวันตกจากฝนที่ตกหนัก พายุไต้ฝุ่นที่ถล่มท่าอากาศยานสำคัญ และแผ่นดินไหวทางภาคเหนือที่กระทบซัพพลายเชน
การปิดท่าอากาศยานคันไซเป็นการชั่วคราวส่งผลทำให้การท่องเที่ยวและการจัดส่งสินค้าต่างประเทศลดฮวบลง
สำนักคณะรัฐมนตรีระบุว่า ในปี 61 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต 0.8% หลังจากมีการเติบโต 1.9% ในปี 2560
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสเดือนต.ค. – ธ.ค.เติบโตสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ โดยได้แรงหนุนบางส่วนมาจากการลงทุนของบรรดาบริษัท อ้างอิงจากตัวเลขทางการเมื่อวันที่ 8 มี.ค.
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกมีการเติบโต 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมคือ 0.3% สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
โดยตัวเลขล่าสุด (คิดเป็นอัตราต่อปีคือ 1.9%) ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย ยืนยันว่าญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นกลับมาเติบโตจากผลกระทบด้านลบของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน
การใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 2.0% สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าจะลดลง 0.5% ผลสำรวจจากกระทรวงมหาดไทยระบุ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าบ้าน ยานพาหนะ และโทรคมนาคม และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้าที่จะเริ่มปีงบประมาณในเดือนเม.ย. กระทรวงระบุ
ข้อมูลของวันที่ 8 มี.ค.ชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการเติบโตถึง 8 ไตรมาสต่อเนื่องกันสิ้นสุดลงในไตรมาสเดือนม.ค. – มี.ค.ในปี 61 ขัดขวางไม่ให้มีการเติบโตต่อไป ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลังเศรษฐกิจญี่ปุ่นเคยบูมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 มี.ค.สำนักคณะรัฐมนตรีปรับการคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจลง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในเดือนม.ค.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีการประเมินดัชนีล่าสุดว่า “ส่งสัญญาณว่าอาจมีจุดเปลี่ยน” จากภาวะชะลอตัว สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
นักวิเคราะห์ยังเตือนว่า สงครามการค้าที่นำโดยสหรัฐฯอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืดที่มีมายาวนาน
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโตขึ้น หลังจากดิ่งลงในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในฤดูร้อนปีที่แล้ว ทั้งน้ำท่วมในพื้นที่ตะวันตกจากฝนที่ตกหนัก พายุไต้ฝุ่นที่ถล่มท่าอากาศยานสำคัญ และแผ่นดินไหวทางภาคเหนือที่กระทบซัพพลายเชน
การปิดท่าอากาศยานคันไซเป็นการชั่วคราวส่งผลทำให้การท่องเที่ยวและการจัดส่งสินค้าต่างประเทศลดฮวบลง
สำนักคณะรัฐมนตรีระบุว่า ในปี 61 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต 0.8% หลังจากมีการเติบโต 1.9% ในปี 2560
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสเดือนต.ค. – ธ.ค.เติบโตสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ โดยได้แรงหนุนบางส่วนมาจากการลงทุนของบรรดาบริษัท อ้างอิงจากตัวเลขทางการเมื่อวันที่ 8 มี.ค.
ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกมีการเติบโต 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์เดิมคือ 0.3% สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
โดยตัวเลขล่าสุด (คิดเป็นอัตราต่อปีคือ 1.9%) ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย ยืนยันว่าญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้นกลับมาเติบโตจากผลกระทบด้านลบของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูร้อน
การใช้จ่ายของครัวเรือนในเดือนม.ค.เพิ่มขึ้น 2.0% สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าจะลดลง 0.5% ผลสำรวจจากกระทรวงมหาดไทยระบุ
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าบ้าน ยานพาหนะ และโทรคมนาคม และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นปัจจัยที่ทำให้การใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ก่อนหน้าที่จะเริ่มปีงบประมาณในเดือนเม.ย. กระทรวงระบุ
ข้อมูลของวันที่ 8 มี.ค.ชี้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากการเติบโตถึง 8 ไตรมาสต่อเนื่องกันสิ้นสุดลงในไตรมาสเดือนม.ค. – มี.ค.ในปี 61 ขัดขวางไม่ให้มีการเติบโตต่อไป ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน หลังเศรษฐกิจญี่ปุ่นเคยบูมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1980
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 มี.ค.สำนักคณะรัฐมนตรีปรับการคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจลง เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจลดลงในเดือนม.ค.เป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดยมีการประเมินดัชนีล่าสุดว่า “ส่งสัญญาณว่าอาจมีจุดเปลี่ยน” จากภาวะชะลอตัว สำนักคณะรัฐมนตรีระบุ
นักวิเคราะห์ยังเตือนว่า สงครามการค้าที่นำโดยสหรัฐฯอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ยังคงต้องดิ้นรนเพื่อเอาชนะภาวะเงินฝืดที่มีมายาวนาน
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการเติบโตขึ้น หลังจากดิ่งลงในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในฤดูร้อนปีที่แล้ว ทั้งน้ำท่วมในพื้นที่ตะวันตกจากฝนที่ตกหนัก พายุไต้ฝุ่นที่ถล่มท่าอากาศยานสำคัญ และแผ่นดินไหวทางภาคเหนือที่กระทบซัพพลายเชน
การปิดท่าอากาศยานคันไซเป็นการชั่วคราวส่งผลทำให้การท่องเที่ยวและการจัดส่งสินค้าต่างประเทศลดฮวบลง
สำนักคณะรัฐมนตรีระบุว่า ในปี 61 เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโต 0.8% หลังจากมีการเติบโต 1.9% ในปี 2560 .