สหรัฐฯ ขึ้นแท่นความสามารถแข่งขันสูงสุดในโลก
สหรัฐฯขึ้นอันดับ 1 ในผลสำรวจประจำปีด้านความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกของ World Economic Forum นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินในปี 2550 – 2552 เป็นต้นมา
จากการจัดอันดับของ World Economic Forum ( WEF) ซึ่งเป็นองค์กรของสวิตเซอร์แลนด์ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ต.ค.สิงคโปร์อยู่ในอันดับ 2 แซงเยอรมนีที่อยู่อันดับ 3 โดยสวิตเซอร์แลนด์ ( ซึ่งเมื่อปีที่แล้วรั้งอันดับ 1) หล่นมาอยู่อันดับ 4 และญี่ปุ่นเป็นที่ 5
WEF ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมบรรดาผู้นำทางธุรกิจและทางการเมืองประจำปีที่เมืองดาวอส ระบุว่า ใช้ทฤษฎีวิธีการวิจัยใหม่สำหรับรายงานความสามารถในการแข่งขันทั่วโลกประจำปี 2561 เพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในโลกที่มีการเปลี่ยนผ่านด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ
โดยรายงานในปีนี้ได้ทำการศึกษาถึงวิธีการจัดการของ 140 ประเทศกับ 98 ตัวบ่งชี้ซึ่งรวมถึง 12 หลักการสำคัญอย่างสถาบันการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน เสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค สภาพคล่องทางธุรกิจ และความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
สิงคโปร์ได้คะแนนทั้งหมด 83.5 คะแนน และมีคะแนนสูงสุดในด้านโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม สาธารณสุข และการเปิดกว้างทางธุรกิจ
ขณะที่สหรัฐฯประสบความสำเร็จด้วยคะแนนรวมสูงสุด 85.6 คะแนน WEF ระบุ
“ ทั้งสองประเทศเป็นแหล่งพลังงานด้านนวัตกรรม” Saadia Zahidi สมาชิกบอร์ดบริหารของ WEF กล่าวกับสื่อ AFP
“ พวกเขาทำได้ดีในแง่ของตลาดแรงงาน ในแง่ของขนาดตลาด พวกเขาทำได้ดีในด้านสถาบันการศึกษา” เธอกล่าว
เมื่อถูกถามว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ควรได้เครดิตสำหรับอันดับของสหรัฐฯ ที่พุ่งขึ้นมาในปีนี้หรือไม่ Thierry Geiger หัวหน้านักวิเคราะห์และวิจัยที่ WEF ย้ำว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในรายงานเกิดขึ้นก่อนที่ประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้ารับตำแหน่งในปีที่แล้ว
“ สิ่งที่เราใช้เป็นแรงขับเคลื่อนระยะยาว” เขากล่าวกับผู้สื่อข่าว
ขณะเดียวกัน Zahidi กล่าวว่า “ ยังมีสัญญาณของความกังวลอยู่มาก” สำหรับความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯ โดยเธอชี้ว่า สหรัฐฯได้คะแนนต่ำในด้านการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในกำลังแรงงาน โดยสหรัฐฯ อยู่ในอันดับ 37 รวมถึงอยู่ที่ 40 ในหัวข้อเสรีภาพสื่อ
โดย WEF ยังเน้นถึงความสำคัญของการเปิดกว้างเพื่อความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงมาตรการจัดเก็บภาษีศุลกากรในอัตราต่ำ และข้อกีดกันทางการค้าที่ไม่เกี่ยวกับภาษีศุลกากร และมาตรการผ่อนคลายในการจ้างแรงงานต่างชาติ
โดยรวมแล้ว สหรัฐฯได้คะแนนเฉลี่ย 85.6 จากดัชนีชี้วัดเกือบ 100 ตัว โดยมีการให้คะแนนจาก 0 ถึง 100 ทำให้สิงคโปร์อยู่ที่ 2 และเยอรมนีอยู่ในอันดับ 3 ขณะที่สวิตเซอร์แลนด์ร่วงลงมาอยุ่ในอันดับ 4 ด้วยคะแนน 82.6 หลังครองอันดับ 1
จากการจัดอันดับของ WEF มานานถึง 9 ปี และหลายประเทศทั่วโลกมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 60 กว่าคะแนน
Klaus Schwab ผู้ก่อตั้ง WEF ระบุว่า ความเข้าใจและการเปิดกว้างรับแรงขับเคลื่อนทางเทคโนโลยีที่เรียกว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นสิ่งสำคัญกับความสามารถในการแข่งขันของทุกประเทศ
“ ผมเล็งเห็นว่าโลกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มประเทศที่เข้าใจการเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรม และอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่เข้าใจ” เขาระบุในแถลงการณ์
อย่างไรก็ตาม Zahidi ย้ำว่า เทคโนโลยีไม่ใช่กระสุนเงินที่ทำได้หลายอย่าง “ หลายประเทศต้องลงทุนกับคนและสถาบันการศึกษาเพื่อส่งผ่านคำสัญญาด้านเทคโนโลยี” .