รายได้ครัวเรือนสหรัฐฯเพิ่ม/ยากจนลดลง
รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันในปี 2560 และอัตราความยากจนลดลงมากขึ้น อ้างอิงจากข้อมูลของรัฐบาลเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา
สำนักสำมะโนประชากรระบุในรายงาน ‘ รายได้ ความยากจน ประกันสุขภาพที่ครอบคลุม และมาตรการลดความยากจน ’ ว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1.8% เป็น 61,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่แล้ว
“ รายได้เฉลี่ยเป็นสถิติที่ผูกติดกับการประเมินก่อนหน้าการถดถอยทางเศรษฐกิจในปี 2550 และ 2542 ซึ่งเป็นปีที่มีรายได้เฉลี่ยของครัวเรือนสูงที่สุด ” Trudi Renwick ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายที่สำนักสำมะโนประชากรระบุ
“ นี่เป็นเรื่องจริงที่ว่าบัญชีของคุณมีการเปลี่ยนแปลงในด้านค่าครองชีพและการเปลี่ยนแปลงในปี 2557 “ เธอเสริม
ในรายงานยังชี้ให้เห็นถึงตัวเลขความยากจน (จำนวนของประชาชนที่มีชีวิตอย่างยากจน) ลดลงมาอยู่ที่ 12.3% ในปีที่แล้ว จากเดิม 12.7% ในปี 2559 โดยสำนักสำมะโนประชากรยังระบุว่า ประชาชนประมาณ 28.5 ล้านคนไม่มีประกันสุขภาพในปี 2560 ซึ่งไม่แตกต่างในแง่สถิติจากปีก่อนหน้านี้
ขณะที่ความยากจนมีเกณฑ์การวัดในปี 2560 คือ มีรายได้ 24,858 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 813,358 บาทต่อปี สำหรับสมาชิกครอบครัว 4 คน โดยนักวิเคราะห์รพบุว่า จำนวนประชาชนที่ยากจนลดลงตั้งแต่ปี 2557 ภายใต้การบริหารประเทศของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา
รายได้ที่เพิ่มขึ้นชี้ให้เห็นในรายงานเมื่อวันที่ 12 ก.ย. อย่างไรก็ตามเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากที่เคยอยู่ในภาวะชะงักงันในปี 2550 – 2552 ซึ่งส่งผลกับครัวเรือนอเมริกันในปี 2560 โดยได้แรงขับเคลื่อนส่วนใหญ่จากตลาดงานที่แข็งแกร่ง
“ ตลาดทุนและความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมโดยรวมดีดกลับขึ้นมาในสมัยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่เขารับอานิสงส์ต่อจากรัฐบาลก่อนหน้า ทั้งอัตราการว่างงานที่ลดลง และรายได้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งมาตรวัดอื่นๆเช่นความยากจน ” คริส คริสโตเฟอร์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายเศรษฐกิจผู้บริโภคที่ IHS Markit ในเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี
โดยเศรษฐกิจในสหรัฐฯ เพิ่มการจ้างงานถึง 2.2 ล้านอัตราในปี 2560 ขณะที่การว่างงานช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 4.1% โดยอัตราการว่างงานลดลงในรอบเกือบ 18 ปีลงมาอยู่ที่ 3.9% และเศรษฐกิจยังคงหนุนการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง
สอดคล้องกับข้อมูลรัฐบาลที่มีการเปิดเผยช่วงปลายเดือนก.ค.ที่ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งในไตรมาส 2 โดยมีการเติบโตสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี และแข็งแกร่งที่สุดในประเทศอุตสาหกรรม
โดยตัวเลขจีดีพีในประเทศขยายตัวในอัตรา 4.1% ต่อปี เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้
จีดีพีในไตรมาส 2 นี้ถือว่าเติบโตสูงสุด หลังเคยเติบโตถึง 4.9% ในไตรมาส 3 ของปี 2557 และการเติบโตในไตรมาสเดือนม.ค. – มี.ค.ปรับเพิ่มเป็น 2.2% จากการประเมินก่อนหน้าที่คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโต 2%
ยอดการซื้อสินค้าพุ่งสูงถึง 5.9% เนื่องจากได้แรงหนุนสำคัญจากยอดขายรถยนต์ที่บูมขึ้นมา ขณะที่ภาคบริการเติบโต 3.1%
ชาวอเมริกันมีการใช้จ่ายอย่างอิสระมากขึ้นในด้านการดูแลสุขภาพ การเคหะ สาธารณูปโภค ร้านอาหารและโรงแรม อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์
ขณะเดียวกัน ยอดส่งออกสินค้าสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 13.3% ถือเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2556