ไอร์แลนด์โหวตเลิกกม.ห้ามทำแท้ง
เมื่อวันที่ 26 พ.ค.นายกรัฐมนตรีของไอร์แลนด์รายงานผลการลงประชามติที่ประชาชนโหวตให้ยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งชนะไปอย่างถล่มทลาย นับเป็นการปฏิวัติเงียบที่เกิดขึ้นในประเทศที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
ผู้ลงคะแนนเสียงในไอร์แลนด์ซึ่งเป็นแคธอลิกที่เคร่งครัดสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายด้วยสัดส่วนคะแนนถึง 2 ต่อ 1 ถือเป็นความห่างที่มากกว่าโพลล์สำรวจความคิดเห็นใดๆที่เคยมีการคาดการณ์มา และทำให้รัฐบาลประกาศเป็นกฎหมายภายในสิ้นปีนี้
“ไม่น่าเชื่อเลย สำหรับหลายปีที่เราพยายามจะดูแลผู้หญิงและไม่สามารถดูแลผู้หญิงได้ นี่มีความหมายสำหรับทุกอย่างจริงๆ” Mary Higgins สูติแพทย์และเป็นผู้เคลื่อนไหวของแคมเปญ Together For Yes กล่าวด้วยความยินดี
เป็นเวลานานหลายทศวรรษที่กฎหมายที่เคร่งครัด บีบให้ผู้หญิงชาวไอร์แลนด์มากกว่า 3,000 คนต้องเดินทางไปอังกฤษในแต่ละปีเพื่อยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมาย และผู้รณรงค์แคมเปญ Yes โต้แย้งว่า ปัจจุบันผู้หญิงที่ต้องการทำแท้งแอบสั่งยาผิดกฎหมายทางออนไลน์ ทำให้ในความเป็นจริงแล้ว มีการทำแท้งในไอร์แลน์
โดยแคมเปญนี้มีผู้หญิงมาแชร์ประสบการณ์ที่เจ็บปวดของพวกเธอที่ต้องเดินทางไปอังกฤษเพื่อยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมาย นี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งโหวตออกเสียงสนับสนุน
นายกรัฐมนตรีลีโอ วาราดการ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนให้ยกเลิกกฎหมายนี้ เรียกร้องให้มีการออกเสียงเพื่อความเปลี่ยนแปลงในเจเนเรชั่นนี้ และผู้มีสิทธิออกเสียงขานรับในเรื่องนี้ โดยตัวเลขที่สนับสนุนให้ยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งสูงถึง 64% เป็นหนึ่งในผลการลงประชามติที่สูงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ
“วันนี้เป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ของไอร์แลนด์ การปฏิรูปเงียบได้เกิดขึ้นแล้ว” นายกฯราวัดการ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของไอร์แลนดที่เปิดตัวว่าเขาเป็นเกย์เป็นคนแรกของไอร์แลนด์ในปีที่แล้ว ระบุในสุนทรพจน์หลังการลงประชามติ
“ทุกคนได้รับโอกาสเป็นครั้งที่ 2 นี่เป็นโอกาสครั้งที่ 2 ของไอร์แลนด์เพื่อให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกันด้วยความเห็นอกเห็นใจและเคารพซึ่งกันและกัน เราได้ลงคะแนนเพื่อให้มองตามความเป็นจริงและไม่กะพริบตา”
ผลการลงประชามติครั้งนี้ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ของประวัติศาสตร์ไอร์แลนด์ ซึ่งอนุญาตให้มีการหย่าร้างกันได้ในปี 2538 ก่อนที่จะกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุญาตให้มีการแต่งงานของเพศเดียวกันได้จากการโหวตเมื่อ 3 ปีก่อน
ไม่มีประเด็นทางสังคมที่แบ่งแยกประชาชนชาวไอร์แลนด์ 4.8 ล้านคนในเรื่องการทำแท้ง ซึ่งเรื่องนี้ถูกผลักดันเป็นวาระทางการเมือง หลังปี 2555 หญิงผู้อพยพชาวอินเดียวัย 31 ปีเสียชีวิตจากการแท้งติดเชื้อ หลังจากเธอถูกปฏิเสธไม่ให้มีการยุติการตั้งครรภ์
กลุ่มผู้เคลื่อนไหวสนับสนุนให้ยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งพากันมาวางดอกไม้และจุดเทียนที่หน้าภาพวาดผู้หญิงบนผนังขนาดใหญ่คือ Savita Halappanavar (หญิงผู้อพยพชาวอินเดียที่เสียชีวิต) ในย่านเซ็นทรัลดับลิน สื่อไอริชไทม์รายงานโดยยกคำพูดของพ่อแม่ของเธอในอินเดียมาลงโดยพวกเขาขอบคุณชาวไอร์แลนด์และร้องขอให้กฎหมายใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า Savita’s Law.