เฟซบุ๊กรับข้อมูลรั่วอาจถึง 87 ล้าน
เมื่อวันที่ 4 เม.ย. เฟซบุ๊กออกมายอมรับว่าบริษัทที่ปรึกษาการเมือง Cambridge Analytica ที่ทำงานในแคมเปญเลือกตั้งให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจมีข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กประมาณ 87 ล้านคนโดยผู้ใช้งานเหล่านั้นไม่รู้ตัว
โดยก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า ข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กที่รั่วไหลไปที่ Cambridge Analytica มีประมาณ 50 ล้านคน
จากการคำนวณของเฟซบุ๊ก จะมีจำนวนผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดถึง 87 ล้านคน โดยมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของเฟซบุ๊กดกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ว่า จำนวนข้อมูลผู้ใช้งานมากที่สุดคำนวณจากจำนวนเพื่อนของผู้ใช้งานแต่ละคนที่เป็นโครงข่ายเชื่อมโยงกันในเวลานั้น
“ผมค่อนข้างเชื่อมั่นในการประเมินของนักวิเคราะห์ของเราว่า ไม่เกิน 87 ล้านคน อาจจะน้อยกว่านั้น แต่เราต้องการแจ้งให้ทราบถึงจำนวนสูงสุดจากการทำงานของนักวิเคราะห์ของเรา” ซัคเคอร์เบิร์กกล่าว
เฟซบุ๊กระบุว่า แรกเริ่มเลยมีอาจารย์คนหนึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเพื่อทำการวิจัยทางการศึกษา แต่ในเวลาต่อมา ข้อมูลกลับถูกถ่ายโอนต่อให้กับบุคคลที่ 3 รวมทั้งบริษัท Cambridge Analytica ซึ่งถือเป็นการละเมิดนโยบายของเฟซบุ๊ก
ทาง Cambridge Analytica โต้แย้งตัวเลขนี้ “ทางบริษัทได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ไม่เกิน 30 ล้านคนจาก GSR ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาของเรากับบริษัทวิจัย เราไม่ได้รับข้อมูลมากกว่านี้” บริษัทระบุในแถลงการณ์
โดยเฟซบุ๊กจะแจ้งกับคนที่ข้อมูลถูกแชร์ให้ Cambridge Analytica เริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
ทั้งนี้ เฟซบุ๊กปิดฟีเจอร์การสืบค้นและเปลี่ยนการฟื้นบัญชีผู้ใช้งานกลับมา การโพสต์มีการกำหนดกรอบ เพื่อให้เฟซบุ๊กควบคุมการเข้าถึงของบุคคลที่ 3 กับข้อมูลที่มีอยู่
บริษัทกำลังพยายามที่จะจำกัดชนิดของข้อมูลที่แอปพลิเคชันบุคคลที่ 3 จะสามารถเก็บรวบรวมได้ โดยจะไม่อนุญาตให้แอปต่างๆมองเห็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น ศาสนา มุมมองทางการเมือง สถานะความสัมพันธ์การศึกษา ประวัติการทำงาน กิจกรรมการออกกำลังกาย และหนังสือ ภาพยนต์ หรือดนตรีแบบไหนที่พวกเขาสนใจ
ตอนนี้ แอปต่างๆต้องได้รับการอนุมัติจากเฟซบุ๊กก่อนที่จะเข้าถึงข้อมูลหลายประเภท เช่น กลุ่มต่าง ๆเพจต่างๆ และการเช็คอิน โดยแอปทั้งหลายจะไม่เห็นชื่อ และรูปโปรไฟล์ของคนที่โพสต์และคอมเมนต์ในกลุ่มได้ หรือเห็นรายชื่อแขกในอีเวนต์
นอกจากนี้ เฟซบุ๊กจะลบข้อมูลการโทรศัพท์ในเมสเซนเจอร์และเฟซบุ๊กที่นานเกิน 1 ปี ฟีเจอร์นี้กลายเป็นข้อถกเถียงในเดือนมี.ค. หลังผู้ใช้งานจำนวนหนึ่งค้นพบว่า การติดต่อและประวัติการโทรศัพท์ย้อนหลังนานหลายปียังคงอยู่ในข้อมูลเฟซบุ๊กของพวกเขา
เมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กจะเห็น option อยู่บนสุดของฟีดข่าวเพื่อตรวจสอบว่า แอปไหนที่เข้าถึงข้อมูลของพวกเขา.