ญี่ปุ่นกระตุ้น G20 หวั่นใช้เงินดิจิทัลผิดกฎหมาย
ทางเจ้าหน้าที่รัฐบาลของญี่ปุ่นมุ่งกระตุ้นให้ทางกลุ่มประเทศ G20 ที่เข้าร่วมประชุมกันในสัปดาห์หน้า หันมาป้องกันไม่ให้สกุลเงินดิจิทัลถูกใช้เป็นสื่อกลางการซื้อขายสำหรับการฟอกเงิน โดยผู้ที่ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวในครั้งนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ จะมีการประชุมกันในวันที่ 19-20 มี.ค. ที่กรุงบัวโนสไอเรส พร้อมด้วยวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินดิจิทัล
ทางเจ้าหน้าที่ระบุว่า โอกาสที่เหล่าผู้นำด้านการเงินของแต่ละประเทศจะตกลงเกี่ยวกับกฎสากลที่เจาะจง และการระบุถึงเหล่าผู้นำในการแถลงการณ์ร่วมนั้นถือว่าเป็นไปได้ยาก ทำให้การเข้าถึงแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันไป โดยถือเป็นมุมมองที่สะท้อนจากเจ้าหน้าที่อีกรายซึ่งได้มีส่วนร่วมในการเสวนา G20
หนึ่งในเจ้าหน้าที่ระบุว่า “ การหารือกันจะมุ่งที่ขั้นตอนการป้องกันการฟอกเงิน และการปกป้องผู้บริโภค มากกว่าผลกระทบจากการซื้อขายเงินดิจิทัลว่าจะส่งผลต่อระบบธนาคารอย่างไร ”
“ ความรู้สึกโดยทั่วไปของเหล่าสมาชิก G20 ต่างมองว่าการใช้กฎระเบียบข้อบังคับที่เคร่งครัดเกินไปไม่ก่อให้เกิดผลดีแน่นอน ”
คณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน หรือ FATF ที่มีสมาชิกรวม 37 ประเทศ ก่อตั้งโดยกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ ซึ่งมีฐานอยู่ที่ปารีส จะรายงานกับทาง G20 เกี่ยวกับวิธีการของทางกลุ่มที่จะป้องกันไม่ให้เงินดิจิทัลถูกนำไปใช้เพื่อการฟอกเงิน
ด้านผู้สร้างนโยบายของทางญี่ปุ่นกังวลว่า ระหว่างการหารือเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เป็นเอกฉันท์ในหมู่ประเทศ G20 จะต้องใช้ขั้นตอนจำนวนมาก บางประเทศอาจมีกฎข้อบังคับที่หละหลวมกว่าประเทศอื่น ซึ่งทำให้มีช่องโหว่สำหรับการฟอกเงิน
ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศแรกที่ได้นำระบบของประเทศเข้าควบคุมการซื้อขายเงินดิจิทัล แม้ว่าจะมีการตรวจสอบหลายครั้งในการแลกเปลี่ยนค่าเงินในปีนี้ หลังจากมีการขโมยเงินจำนวน 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 16,541 ล้านบาท จากบริษัทคอยน์เช็ค ประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนีได้ระบุว่า พวกเขาจะเข้าร่วมสร้างแผนสำหรับควบคุมบิทคอยน์ในตลาดเงินดิจิทัล
หัวหน้าผู้ตรวจสอบของสหภาพยุโรประบุว่า กลยุทธ์ระยะสั้นอาจสามารถใช้ป้องกันการฟอกเงิน และกฎทางการเงินของกลุ่มก่อการร้าย ช่วยเตือนผู้บริโภคเกี่ยวกับความเสี่ยงในการซื้อขายเงินดิจิทัล และป้องกันธนาคารไม่ให้มีไว้ในครอบครอง
ทางด้านเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นกล่าวว่า กลยุทธ์ดังกล่าวอาจนำไปใช้กับกฎข้อบังคับเพื่อปกป้องผู้บริโภคและป้องกันการกระทำผิดกฎหมายโดยปราศจากการยุติการใช้งานนวัตกรรมเงินดิจิทัลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และฟินเทค หรือกลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยี.