RCEP ยังมีงานต้องทำอีกมาก
นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุงแห่งสิงคโปร์กล่าวว่า ยังมีงานที่ต้องทำอีกมากเพื่อให้ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) สำเร็จลุล่วง
ที่ผ่านมา การเจรจาเรื่อง RCEP ซึ่งเป็นการตกลงทางการค้าระหว่าง 10 ประเทศอาเซียน และอีก 6 ประเทศคือ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ต้องพบกับปัญหาและความยุ่งยากมากมาย
เมื่อวันที่ 26 ม.ค.นายกรัฐมนตรีลีกล่าวในวันสุดท้ายของทริปการเยือน 5 วันไปอินเดียและศรีลังกาว่า “ ผมไม่สามารถพูดอย่างมั่นใจได้ว่า มันจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แต่ผมได้ยินบรรดาผู้นำกล่าวเมื่อวานนี้ และทุกคนแสดงออกถึงความเชื่อมั่นที่ถูกต้อง ผมจึงคิดว่ามีความต้องการที่จะทำให้ RCEP เกิดขึ้นได้ ”
“ แต่เราต้องลดช่องว่าง ช่องว่างของมุมมองและการคาดหวัง ถึงแม้แต่เป้าหมายของการทำข้อตกลงนี้ มันเกี่ยวกับอะไร แต่เมื่อคุณทำข้อตกลงการค้าแบบนี้ มันจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจ หรือการค้าเท่านั้น ” ผู้นำสิงคโปร์กล่าวเสริม
นายกฯลี กล่าวว่า การทำความตกลงนี้ยังเกี่ยวกับด้านอื่นๆ เช่น ความร่วมมือทวิภาคี มิตรภาพ การประเมินยุทธศาสตร์ และประเภทของกรอบการทำงานที่ทุกประเทศต้องจัดสรรให้ลงตัว “ และผมคิดว่า เรามีการโต้เถียงกันในการประชุมเมื่อวานนี้ ผมแย้งว่ามันไม่ได้เป็นเพียงแค่การตกลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น ”
มีการลงลึกในรายละเอียดของการทำงานก่อนที่ RCEP จะได้บทสรุป นายกฯลี กล่าว “ เราจะต้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ของคนในประเทศคุณต้องทำงานผ่านคณะกรรมการทางการค้า และรัฐมนตรีของคุณและตัวแทนภาคส่วนอื่นๆ ดังนั้น ผมคิดว่ายังมีงานต้องทำอีกมาก ”
นายกฯลีเสริมว่า นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดิกล่าวว่า อินเดียจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อหาข้อสรุปในประเด็น RCEP ให้ลุล่วงในปีนี้
“ ในฐานะประธานอาเซียน เราไม่ใช่ผู้นำ เราเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือประสานงานกัน และในฐานะตัวแทนที่ซื่อสัตย์ ผู้ประสานงาน เราจะนำอาเซียนมารวมกัน และพยายาม และทำงานเพื่อให้ RCEP มีมติเป็นเอกฉันท์ ”
ทั้งนี้ ในปี 2560 ที่ผ่านมา มีการผลักดันการเจรจา RCEP ให้สำเร็จโดยเร็ว หลังจากสหรัฐฯ ถอนตัวจาก TPP โดยญี่ปุ่นซึ่งเป็นสมาชิกทั้ง RCEP และ TPP พยายามจะให้ได้ข้อสรุปและมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เนื่องจาก RCEP เป็นความตกลงขนาดใหญ่ มีมูลค่าจีดีพีสูงถึง 22.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 29% ของจีดีพีโลก
โดย RCEP จะครอบคลุมการเปิดเสรีด้านสินค้า บริการ และการลงทุน โดยการเจรจาล่าสุดเมื่อปี 2560 ประเทศสมาชิกตกลงจะเปิดเสรีสินค้าแล้ว 80% ของสินค้าที่ค้าขายกัน ส่วนที่เหลืออีก 20% ญี่ปุ่นจะกำหนดรูปแบบ หรือเกณฑ์การลดภาษี แต่ที่ยากในการเจรจาและหาข้อสรุปมากที่สุดคือ การกำหนดเป้าหมายการลดภาษีกับทุกประเทศในระดับเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมาอาเซียนเปิดเสรีสินค้าหมดแล้ว จึงต้องการให้อีก 6 ประเทศเปิดตลาดให้สูงในระดับเดียวกัน
ความตกลง RCEP มีมาตรฐานไม่น้อยกว่า TPP แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่าในแง่ของเงื่อนไขเวลา และไม่มีการชี้นำจากประเทศใด คือต้องเป็นมติจากอาเซียนก่อน แล้วเจรจาหาข้อสรุปอีกครั้งกับอีก 6 ประเทศ เพื่อให้ได้ข้อสรุป.