เวิลด์แบงก์ชี้ไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นในเอเชีย
ช่องว่างระหว่างคนร่ำรวยและคนยากจนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือภัยคุกคามรากฐานของความสำเร็จทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ธนาคารโลกระบุเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา
“ พื้นฐานโดยรวมสำหรับความสำเร็จของเอเชียตะวันออกเป็นความรู้สึกที่ว่า ทุกอย่างยุติธรรม คือถ้าคุณทำงานหนัก คุณก็ก้าวหน้า แต่นั่นคือการเริ่มต้นของการแก้ไขเพียงเล็กน้อย” Sudhir Shetty หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกของธนาคารโลกให้ข้อมูล
การเติบโตทางเศรษฐกิจที่กำลังบูมได้ช่วยให้ประชากรหลายล้านคนในภูมิภาคพ้นจากความยากจนขั้นสุดนับตั้งแต่ทศวรรษปี 1980 เป็นต้นมา แต่กระแสของความมั่งคั่งไม่ได้เป็นการการันตีความเคลื่อนไหวในการยกระดับฐานะ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจสำหรับประชากรส่วนใหญ่ ธนาคารโลกระบุในรายงาน
นอกจากนี้ ในรายงานยังเสริมว่า การพัฒนาประเทศในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกต้องสร้างความมั่นคงทางสังคม และช่วยเหลือพลเมืองที่ยากจนให้สามารถไต่ระดับฐานะทางเศรษฐกิจ หากพวกเขาต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของความไม่เท่าเทียมกัน
โดยธนาคารโลกรายงานว่า การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว การพัฒนาให้เป็นเมือง และการหายไปของแรงงานในโรงงานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ผลักให้ประชากรหลายล้านคนต้องมีฐานะต่ำกว่าเส้นชี้วัดความยากจน คือใช้ชีวิต
อยู่ด้วยเงินระหว่าง 3.10 – 5.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 101.77 – 180.56 บาทต่อวัน
ทั้งนี้ จำนวนพลเมืองที่ยากจนทั่วภูมิภาค ประมาณ 12 ประเทศและหมู่เกาะแปซิฟิก แต่ไม่รวมประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในหลายทศวรรษที่ผ่านมา
ประมาณ 2 ใน 3 ของประชากรมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือกลายเป็นชนชั้นกลางในปี 2558 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 20% ในปี 2545 ธนาคารโลกระบุ
แต่ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในอินโดนีเซียและจีน อ้างอิงจากรายงาน
ในภูมิภาคนี้ มีการถือกำเนิดขึ้นของกลุ่มชนชั้นมหาเศรษฐีใหม่ โดยจำนวนมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯคิดเป็นเกือบ 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพีของภูมิภาค ซึ่งเป็นการทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง Shetty ระบุ
ธนาคารโลกให้คำแนะนำว่า รัฐบาลของทุกประเทศควรมีระบบจัดเก็บภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่เข้มงวดโดยการอุดช่องโหว่และขยายฐานภาษี รวมถึงการปราบปรามคอร์รัปชั่น และปรับปรุงการเข้าถึงงานอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีแผนการสร้างเมืองที่ระมัดระวังเพื่อรับมือกับความแออัด การขยายตัวเพิ่มขึ้นของชุมชนแออัด และความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ.