ญี่ปุ่นไม่ทำงานหนักเกินช่วงเตรียมงานโอลิมปิก
หน่วยงานด้านกีฬาของญี่ปุ่นให้สัญญาในวันที่ 13 ต.ค.ว่าจะทำงานร่วมกับบริษัทผู้ก่อสร้างสนามกีฬาสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเสียชีวิตเพราะทำงานหนักเกินไป ซึ่งเป็นการรับมือของทางการในสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขานรับกับการฆ่าตัวตายของแรงงานที่สร้างสนามกีฬารายหนึ่ง
ผู้ปกครองของชายวัย 23 ปีคนหนึ่งเข้ามาร้องเรียนกับทางภาครัฐในปีนี้ว่า การฆ่าตัวตายของเขาเป็นกรณีที่เรียกว่า ‘คาโรชิ’ หรือ การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก โดยทางสื่อรายงานว่า เขาทำงานล่วงเวลาถึง 200 ชั่วโมงต่อเดือนก่อนที่จะเสียชีวิต
“ พวกเรารู้สึกเสียใจกับการทำงานล่วงเวลาอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นผลจากการตรวจสอบของกระทรวงแรงงาน” ทาดาชิ โมชิซูกิ ผู้อำนวยการในการบริหารจัดการสนามกีฬาของสภากีฬาประเทศญี่ปุ่น ( JSC) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนร่วมกับบริษัทก่อสร้างไทเซ
“ เรา ซึ่งก็คือ JSC และไทเซ จะทำเรื่องนี้อย่างจริงใจและจะทำอย่างดีที่สุด (เพื่อให้เป็นไปตามตามกฎหมาย) ในกระบวนการก่อสร้างทั้งหมด”
โดยทางการเปิดเผยถึงแบบของสนามกีฬาใหม่ในกรุงโตเกียว ซึ่งมีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนพ.ย. 2562 หลังจากการก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนธ.ค.ปี 2559
การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วของญี่ปุ่นทำให้นายจ้างต้องดิ้นรนกับปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง แรงงานที่มีงานทำอยู่ส่วนใหญ่จึงต้องทำงานอย่างหนักจนส่งผลกระทบเลวร้ายต่อร่างกาย มีการจำแนกอาการคาโรชิอย่างเป็นทางการได้เป็น 2 แบบ คือ ความเจ็บป่วยด้านหัวใจและหลอดเลือดจากการทำงานหนัก และการฆ่าตัวตายจากความเครียดสะสมที่เกิดจากการทำงาน
ทั้งนี้ นายจ่างต้องประสบกับข้อจำกัดเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างของลูกจ้าง ทำให้ 1 ใน 5 ของพนักงานในญี่ปุ่นทำงานล่วงเวลาเกินกำหนดของกฎหมายภาครัฐคือ 80 ชั่วโมงต่อเดือน อ้างอิงจากรายงานที่เผยแพร่ในปี 2559
กรณีการเสียชีวิตจากการทำงานหนักของพนักงานในบริษัทโฆษณาเดนท์สุในปี 2558 เป็นการจุดประกายให้มีการตระหนักถึงปัญหาการทำงานหนักเกินไปของชาวญี่ปุ่นมากขึ้น และในสัปดาห์ก่อน สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคแถลงยอมรับว่า ผู้สื่อข่าววัย 31 ปีคนหนึ่งของสถานีเสียชีวิตจากการโหมงานหนักเกินไปเมื่อ 4 ปีก่อน
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหา รัฐบาลมีแผนจะปฏิรูปการปฏิบัติงาน ทั้งการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างที่ดีขึ้นกว่าเดิมสำหรับพนักงานพาร์ทไทม์และพนักงานสัญญาจ้าง.