H&M หั่นราคารับคอลเลคชั่นใหม่
ตลาดสินค้าแฟชั่นสำหรับคนรุ่นใหม่ ถูกเปลี่ยนจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ในเวลาอันรวดเร็ว จนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งภายใต้ยอดขายที่ไม่เป็นที่พอใจในระยะเวลา 2-3 ปีมานี้
แบรนด์ H&M ผู้ผลิตเสื้อผ้าราคาไม่แพงจำเป็นต้องหั่นราคาสินค้าจำนวนมาก เพื่อทำการโละเสื้อผ้าหน้าร้อนที่ขายไม่ออก เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าทางบริษัทต้องเผชิญปัญหาและต้องขับเคี่ยวกับคู่แข่งหลายราย หลังจากที่นักช็อปหน้าใหม่หันมาซื้อสินค้าออนไลน์แทน
แม้ว่าจะมียอดขายที่ดีมาตลอดหลายสิบปี แต่ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา H&M ต้องต่อสู้กับบรรดาคู่แข่งที่มีหน้าร้านและคอยหั่นราคาตัดหน้ากันจำนวนมาก นอกจากนี้ทาง H&M ยังต้องการที่จะพัฒธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เพื่อเข้าถึงลูกค้าออนไลน์หน้าใหม่
ในไตรมาสที่ 3 ทาง H&M ยังมีสินค้าคงเหลือที่จำเป็นต้องนำมาขายก่อนสินค้าคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วงจะออกขายมากกว่าทุกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ความต้องการในตลาดสำคัญบางแห่งยังต่ำกว่าปกติอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมนี
แอน คริทช์โลว นักวิเคราะห์จากบริษัท Societe Generale ซึ่งติดอันดับผู้ค้าหุ้นของ H&M ระบุว่า “ การเปลี่ยนแปลงจากธุรกิจออฟไลน์ไปเป็นออนไลน์อย่างรวดเร็วในตลาดสินค้าแฟชั่น ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ยอดขายทั่วโลกลดน้อยลงในระยะเวลาไม่นานมานี้ ”
“ ในหลายประเทศ ร้านค้าออนไลน์ก็ยังไม่ได้ผันตัวเข้าหาร้านค้าทั้งหมดเสียทีเดียว และการส่งสินค้าหรือคืนสินค้ายังจำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่ ”
ยอดขายของ H&M ถือว่ามากเป็นอันดับที่ 2 ของผู้ผลิตเสื้อผ้าค้าปลีก ซึ่งถือว่ายังตามหลังบริษัท Zara เจ้าของ Inditex ซึ่งมียอดขายทั้งหมดถึง 6,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือน มิ.ย.-ส.ค. ต่างจากที่รอยเตอร์ได้คาดการณ์ไว้ที่ 6,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ทาง H&M ได้เปิดตัวแบรนด์อิสระและแบรนด์ระดับหรูอีกหลายแบรนด์ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ เพื่อเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าให้กว้างมากยิ่งขึ้น รวมถึงเตรียมพร้อมเผชิญหน้ากับการแข่งขันในภาคส่วนสินค้าราคาประหยัดให้มากยิ่งขึ้น แต่ทางเชน H&M หลักเอง ยังคงคาดหวังในยอดขายของ H&M เอง
ปัจจุบัน H&M กำลังทดสอบระบบ “Click-and-collect” ซึ่งเป็นการรับสินค้าที่สั่งจากออนไลน์ด้วยตัวเองในร้านค้า และเริ่มมีการทดสอบระบบในอังกฤษแล้ว
รวมไปถึงทาง H&M ยังเปิดให้มีตัวเลือกการส่งของที่รวดเร็วว่องไวมากขึ้น และมีบริการคืนสินค้าที่ซื้อออนไลน์กับทางหน้าร้านได้ในบางประเทศ.
หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 33.27 บาท /18 ก.ย.2560