เกาหลีใต้ยกเลิกแบนนำเข้าไข่จากสหรัฐฯ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯระบุเมื่อวันที่ 17 ส.ค.ว่า ประเทศเกาหลีใต้ยกเลิกการระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกและไข่จากสหรัฐฯแล้ว ทำให้เกษตรกรชาวอเมริกันสามารถจำหน่ายผลผลิตไปยังเกาหลีใต้ที่ประสบปัญหาขาดแคลนไข่ได้ หลังจากเกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา
เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้นำเข้าไข่จากสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่ต้องรับมือและต่อสู้กับไวรัสไข้หวัดนกที่แพร่ระบาดอย่างรุนแรงภายในประเทศ แต่เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา เกาหลีใต้กลับจำกัดการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯตรวจพบไวรัสไข้หวัดนกในฟาร์มไก่เชิงพาณิชย์ ที่รัฐเทนเนสซี
Jim Sumner ประธานสภาผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ปีกและไข่ของสหรัฐฯ หรือกลุ่มการค้า ระบุว่า ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ส่งออกไข่ไปยังเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก เขากล่าวว่า “ในตอนนี้เกาหลีใต้กลับต้องการสินค้านำเข้าอย่างมาก”
ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในภูมิภาคเอเชีย ถูกไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N8 โจมตีอย่างรุนแรงหลังจากมีการยืนยันเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือน พ.ย.ปีก่อน ทำให้มีการกำจัดสัตว์ปีกในฟาร์มมากกว่า 37 ล้านตัว ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่า ⅕ประชากรสัตว์ปีกทั้งหมดภายในประเทศ
ในเดือนก่อน รัฐบาลเกาหลีได้ลดระดับการเตือนภัยไข้หวัดนกลงมา 1 ระดับ จากเดิมที่อยู่ในระดับสูงสุด หลังจากที่ไม่มีผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเดือน
เกาหลีใต้ระงับการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีกจากสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯตรวจพบผู้ป่วยจากไวรัสไข้หวัดนก ทางกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯกำลังประสานงานเพื่อโน้มน้าวให้ทางเจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้กำหนดขอบเขตการขนส่งสินค้าในอนาคตเพื่อการแบ่งภาคภูมิศาสตร์เมื่อมีการตรวจพบไวรัส
Sonny Perdue เลขาธิการของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุในแถลงการณ์ว่า“การยกเลิกการแบนของเกาหลีใต้ที่ผ่านมานี้ ถือเป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ปีกและไข่ของเรา แต่ก็ยังถือว่าเป็นแค่ก้าวแรกเท่านั้น”
ในปี 2557 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายก่อนที่มีการบังคับใช้ข้อกำหนดการค้าขายกับสหรัฐฯเนื่องจากพบการแพร่ระบาดของไข้หวัด ทางเกาหลีใต้ใช้จ่ายในสินค้าเนื้อสัตว์ปีก รวมถึงไข่ ของสหรัฐฯเป็นจำนวนเงิน 122 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ10
ในปีก่อน เกาหลีใต้นำเข้าสินค้าจากทุกประเทศมากกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯเพียงแค่ 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น.