บริษัทเอเชียสู้อูเบอร์
คู่ต่อสู้ของอูเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เงินสนับสนุนก้อนใหญ่จากนักลงทุนที่ทรงอิทธิพลเพื่อรับมือกับอูเบอร์
บริษัทซอฟท์แบงค์ของญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการลงทุนในบริษัทรถร่วมโดยสารที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์อย่างแกร็บ อ้างอิงจากแหล่งข่าววอลล์สตรีทเจอร์นัลและบลูมเบิร์ก โดยในรายงานข่าวคาดว่าแกร็บจะระดมทุนได้สูงถึง 1,500 – 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
บริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมโดยสารของจีนอย่างติตี้ ฉงชิ่งก็สนใจที่จะเข้ามามีส่วนในข้อตกลงนี้เช่นกัน อ้างอิงจากรายงาน ที่ผ่านมา อาลีบาบา ก็เป็นผู้สนับสนุนที่มีศักยภาพ ถึงแม้ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซจะปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายที่จะพูดคุยถึงการลงทุนที่เฉพาะเจาะจง บริษัทอื่นๆยังไม่ได้ขานรับข้อเสนอโดยทันทีในการยืนยันความเกี่ยวข้องกับข้อตกลงนี้
การลงทุนครั้งใหม่จะสามารถสร้างคู่ต่อสู้ที่ทรงพลังของอูเบอร์ในเอเชีย ซึ่งอูเบอร์ต้องดิ้นรนอย่างหนักในการสร้างฐานที่มั่นคง เมื่อปีที่แล้ว อูเบอร์ตัดสินใจขายกิจการให้ดิตี้ ฉงชิ่งเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับหุ้นในบริษัทที่ควบรวมกัน
ปัจจุบัน แกร็บดำเนินธุรกิจใน 55 เมืองทั่วทั้ง 7 ประเทศ โดยบริษัทสามารถระดมทุนได้สูงถึง 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการระดมทุนรอบเดือนก.ย.ปีที่แล้ว ทำให้ตอนนี้บริษัทมีมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ขณะเดียวกัน เอริค อเล็กซานเดอร์ ประธานธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของอูเบอร์ถูกปลดออกจากตำแหน่งในปีนี้ท่ามกลางข่าวฉาวที่เกี่ยวกับการสอบสวนเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศที่ไม่เป็นธรรมของ
บริษัท ทั้งการละเลยต่อกรณีการร้องเรียนของผู้โดยสารที่ถูกคนขับอูเบอร์ข่มขืน และกรณีที่อดีตวิศวกรหญิงของอูเบอร์ออกมาแฉว่าเธอเกือบถูกเพื่อนร่วมงานล่วงละเมิดทางเพศด้วย นอกจากนี้ อูเบอร์ยังวุ่นวายอยู่กับการเป็นนายหน้าในการควบรวมกิจการในรัสเซียของบริษัทกับผู้ประกอบการในท้องถิ่น
และซอฟท์แบงค์ของญี่ปุ่นก็ไม่ใช่บริษัทเล็กๆ เพราะ ซีอีโอมาซาโยชิ ซัน มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับแอปเปิล
ทั้งนี้ การขยายกิจการของแกร็บยิ่งเป็นอุปสรรคที่ท้าทายอูเบอร์มากยิ่งขึ้นในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเมื่อเดือนมิ.ย. อลัน เจียง ซึ่งเคยบริการกิจการของอูเบอร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เขียนอธิบาย
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในภูมิภาคนี้ว่า ‘แตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ’
“ ถ้าคุณต้องการเติบโต คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ตลาดต่างประเทศอย่างเร็ว ซึ่งหมายถึงต้องมีความเข้าใจในวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง ทำสินค้าให้เข้ากับท้องถิ่น กำหนดทิศทางตามสภาพแวดล้อมทางการเมือง เชื่อมต่อกับสัญญาการทำธุรกิจในประเทศ รับสมัครคัดเลือกทีมทำงานในแต่ละประเทศ และ ฯลฯ ”.