อียู/ญี่ปุ่นตกลงการค้าเสรี
สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นเห็นพ้องอย่างเป็นทางการในการกำหนดกรอบข้อตกลงการค้าเสรีร่วมกัน
ข้อตกลงนี้เป็นการแผ้วถางทางสำหรับการซื้อขายสินค้าโดยไม่มีภาษีศุลกากรมากั้นขวางระหว่างสองพื้นที่เศรษฐกิจที่ถูกจัดอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงเพียงเล็กน้อย และต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อทำข้อตกลงร่วมกันให้สำเร็จลุล่วง
โดยสองภาคส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดคือ รถยนต์ของญี่ปุ่น และสำหรับยุโรปคือการส่งสินค้าทางการเกษตรไปที่ญี่ปุ่น
มีการลงนามในการกำหนดกรอบข้อตกลงที่กรุงบัสเซลส์หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่น และฌอง คล้อด จุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ก่อนการประชุมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจสำคัญ G-20 จะเริ่มต้นขึ้นที่เมืองฮัมบวร์กในเยอรมนี
โดนัลด์ ทัสค์ ประธานสภายุโรปกล่าวว่า ข้อตกลงแสดงให้เห็นถึงคำมั่นสัญญาของอียูที่มีต่อการค้าโลก
“ เราทำได้ เราผนวกรวมการพูดคุยเรื่องการเมืองและการค้าของอียู-ญี่ปุ่น อียูมีบทบาทในโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ”
โดยประธานสภายุโรปกล่าวว่า ข้อตกลงเป็นการรับมือกับข้อโต้แย้งจากบางคนที่ชื่นชมเบร็กซิทที่ว่าอียูไม่สามารถส่งเสริมการค้าเสรี “ ถึงแม้จะมีคนพูดว่าเวลาของการโดดเดี่ยวและสลายตัวกำลังมาถึงอีกครั้ง เรากำลังทำให้ดูว่าไม่ใช่ในกรณีนี้ ”
นอกจากนี้ เขาเสริมว่าข้อตกลงนี้ไม่ใช่แค่ผลประโยชน์ทางการค้าธรรมดา แต่สะท้อนถึงการแบ่งปันคุณค่าในสังคมของเรา ผมหมายถึงประชาธิปไตยเสรีนิยม สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ด้วยจำนวนประชากรประมาณ 127 ล้านคน และเป็นประเทศตลาดส่งออกของยุโรปที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 7 โดยหนึ่งในประเภทสินค้าที่สำคัญที่สุด
สำหรับอียูคือ ผลิตภัณฑ์จากนม และความนิยมในนมและผลิตภัณฑ์จากนมในตลาดญี่ปุ่นขยายตัวเติบโตขึ้นอย่างมีเสถียรภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เกษตรกรที่ผลิตสินค้าจากนมในอียูต้องดิ้นรนอย่างหนักเนื่องจากดีมานด์ลดลงในกลุ่มประเทศสมาชิกอียู และบรรยากาศในการแข่งขันที่มีสูงเกินไป จนบรรดาเกษตรกรบอกว่า พวกเขาได้กำไรน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการผลิตเสียอีก.