อังกฤษผลักดันข้อตกลงยากับอียูหลังเบร็กซิท
สหราชอาณาจักรจะยังคงร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการทดสอบยาแม้ว่าจะออกจากสหภาพยุโรปแล้วก็ตาม
นายเกร็ก คลาร์ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและนายเจเรมี ฮันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ข้อตกลงจะเป็นไปเพื่อ “ประโยชน์ต่อสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน”
ทั้งสองเขียนจดหมายระบุกับสำนักพิมพ์ Financial Times ระบุว่า “สหราชอาณาจักรจะหาหนทางในการทำงานร่วมกันกับสหภาพยุโรปให้ได้”
ผู้คนมากมายกังวลกันว่าเบร็กซิทอาจทำให้เกิดความล่าช้าในการเสาะหายาใหม่ให้กับผู้ป่วยภายในสหราชอาณาจักร
ขณะนี้ข้อกำหนดการใช้ยาของสำนักงานผลิตยาของยุโรปที่มีฐานในลอนดอนหรือ EMA เป็นที่ใช้กันทั่วสหภาพยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม EMA ได้คาดการณ์ว่าจะย้ายฐานการผลิตออกจากสหราชอาณาจักรหลังจากเบร็กซิท ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนว่าสหราชอาณาจักรจะต้องสร้างระบบการรับรองยาของตนเองแยกออกมาหรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมได้เตือนว่า หากเกิดขึ้นจริง บริษัทผลิตยาอาจต้องใช้เวลานานและช้าลงในการขออนุญาตสำหรับการใช้ยาภายในประเทศเพียงประเทศเดียว ทำให้ต้องมุ่งเป้าไปที่การจะทำให้ยาได้รับการรับรอง มากกว่าการจะขยายตลาดให้กว้างขึ้นหรือได้กำไรเพิ่มมากขึ้น
สมาคมผู้ค้ายาในสหราชอาณาจักรเองก็ถูกเตือนเหมือนกันว่าเบร็กซิทอาจทำให้การลงทุน การวิจัย และอาชีพต่าง ๆ ภายในประเทศลดน้อยลง
แต่นายเอริค นอร์ดแคมป์ ผู้จัดการบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Pfizer ในสหราชอาณาจักร ให้สัมภาษณ์ใน BBC ว่า ยังมีประเด็นอีกมากมายมากกว่าเบร็กซิทที่อุตสาหกรรมดังกล่าวอยากให้มีการพูดถึงเช่นกัน
ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา นายกิวโด ราซิ ผู้บริหารของ EMA ระบุว่า ตามหลักทฤษฎีแล้วการร่วมมือทำงานต่อไปหลังจากเบร็กซิทก็ถือว่าเป็นไปได้ แต่ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลของสหภาพยุโรปในการตัดสินใจในข้อตกลงดังกล่าว
บริษัทผู้ผลิตยาจำนวนมากผลักดันให้เกิดความชัดเจนว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมผู้ผลิตยาเมื่อสหราชอาณาจักรต้องออกจากสหภาพยุโรป
ไมค์ ทอมป์สัน ซีอีโอของสมาคมอุตสาหกรรมยาในอังกฤษระบุว่า จดหมายของรัฐมนตรีทั้งสองถือเป็น “การยอมรับว่าการรับรองยาในอนาคตถือเป็นเรื่องสำคัญของรัฐบาล”