บริษัทญี่ปุ่นตึงเครียดวิกฤตกาตาร์
บริษัทหลายแห่งในญี่ปุ่นต่างเฝ้าระวังเกี่ยวกับผลกระทบที่จะได้รับ หลังจากเกิดเหตุการณ์ระหว่างประเทศซาอุดิอาระเบียและกาตาร์ ซึ่งอาจมีผลมาถึงบริษัทในญี่ปุ่นหลายแห่ง
บริษัทบางแห่งเริ่มคิดหาวิธีรับมือกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างซาอุดิอาระเบีย และกาตาร์ เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ให้กับญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ซาอุดิอาระเบีย และประเทศพันธมิตรใกล้เคียง ทั้งอียิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกมาประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ โดยอ้างว่ากาตาร์นั้นสนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. มีประเทศในตะวันออกกลางทั้งหมด 9 ประเทศ และประเทศในแอฟริกาบางประเทศที่ประกาศตัดความสัมพันธ์กับประเทศกาตาร์
อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศระบุว่า ญี่ปุ่นนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด 9% และก๊าซธรรมชาติเหลว 13% จากกาตาร์ รวมถึงบริษัทของญี่ปุ่นที่ส่วนมากเป็นธุรกิจด้านทรัพยากร ก็ตั้งบริษัทอยู่ในกาตาร์ โดยในเดือน ต.ค. 2558 มีบริษัทของญี่ปุ่นที่ตั้งถิ่นฐานที่กาตาร์ทั้งหมดถึง 46 แห่ง
ผู้คนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการนโยบายทางการค้าของญี่ปุ่นระบุว่า “ เราต่างตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ”
อย่างไรก็ตาม บริษัทส่งออกส่วนมากมองว่าไม่มีผลกระทบที่รุนแรงในทันทีแต่อย่างใด แต่กลับมองว่าอาจมีผลกระทบในระยะยาวมากกว่า
บริษัทมารุเบนิ คอร์ป ซึ่งนำเข้า LNG จากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและขายให้กับบริษัทผลิตพลังงานไฟฟ้ารวมถึงบริษัทอื่น ๆ ตั้งแต่ปี 2539 กำลังกังวลเกี่ยวกับพนักงานของบริษัทที่ต้องเดินทางระหว่างกรุงโตเกียวและดูไบ เมืองหลวงของสหรัฐฯ อาหรับเอมิเรตส์ หรือที่ตั้งของบริษัทแม่
ทางบริษัทโอบายาชิ คอร์ป กล่าวว่า ทางบริษัทกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์ในประเทศกาตาร์ที่ทางบริษัทกำลังก่อสร้างโรงแรมอยู่ อย่างใกล้ชิด
มีบริษัทด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างหลายบริษัทที่ต้องจับตาดูสถานการณ์ในกาตาร์อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีโครงการก่อสร้างหลายแห่งที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่นสิ่งก่อสร้างที่จะรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2565 ที่กาตาร์จะเป็นเจ้าภาพ.