เปิดงบ 64 วงเงิน 3.3 ล้านล้าน กลาโหม ได้เยอะเป็นอันดับ 3
1 ก.ค. สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ.2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท ในวาระที่ 1
โดยงบประมาณปี 2564 แบ่งเป็นงบกลาง 614,616,246,500 บาท ส่วนกระทรวงที่ได้งบประมาณมาก 3 อันดับ ประกอบด้วย 1.กระทรวงมหาดไทย 261,708,146,900 บาท 2.กระทรวงศึกษาธิการ 131,708,139,800 บาท 3.กระทรวงกลาโหม 115,528,646,800 บาท
กระทรวงอื่นๆได้งบประมาณ ดังนี้ กระทรวงแรงงาน 65,688,427,300 บาท , กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม 48,347,159,000 บาท , กระทรวงคมนาคม 58,804,859,000 บาท ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 32,150,235,500 บาท ,กระทรวงสาธารณสุข 27,771,139,100 บาท ,กระทรวงการคลัง 12,181,280,500 บาท ,กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 19,113,286,100 บาท ,กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 12,019,276,700 บาท ,กระทรวงยุติธรรม 13,464,435,500 บาท
กระทรวงวัฒนธรรม 5,351,155,200 บาท , กระทรวงพาณิชย์ 4,143,615,800 บาท ,กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 5,013,142,100 บาท ,กระทรวงการต่างประเทศ 4,777,660,900 บาท ,กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 3,800,781,600 บาท ,กระทรวงพลังงาน 1,535,496,900 บาท ,กระทรวงอุตสาหกรรม 2,349,425,400 บาท
สำหรับโครงสร้างของงบประมาณรายจ่ายปี 2564 จำนวน 3,300,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายลงทุน 674,868.2 ล้านบาท รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 99,000 ล้านบาท และจำแนกเป็น 6 กลุ่มงบประมาณรายจ่าย ประกอบด้วย
1.งบประมาณรายจ่ายงบกลาง 614,616.2 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.6 ของวงเงินงบประมาณ
2.งบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณ 1,135,182.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.4 ของวงเงินงบประมาณ
3.งบประมาณรายจ่ายบูรณาการ 257,877.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.8 ของวงเงินงบประมาณ
4.งบประมาณรายจ่ายบุคลากร 776,887.7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.6 ของวงเงินงบประมาณ
5.งบประมาณรายจ่ายสำหรับทุนหมุนเวียน 221,981.9 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.7 ของวงเงินงบประมาณ
6.งบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ 293,454.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.9 ของวงเงินงบประมาณ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้แจงกรอบงบประมาณต่อสภาผู้แทนราษฎร ตอนหนึ่งว่า หลักการตั้งงบประมาณปี 2564 นั้น เป็นการดำเนินงานจากปี 2563 เพื่อให้การดำเนินงานด้านต่างๆ มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิ์ภาพ ทั้งแผนการปฏิรูป แผนยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งตอนนี้ประเทศไทยและทั่วโลก ต่างเผชิญกับโรคโควิด-19 แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 และควบคุมได้จนใกล้สถานการณ์ปกติในไตรมาสที่ 3.