คลังสั่งแบงก์รัฐห้ามขึ้นดอกเบี้ย
คลังย้ำแบงก์รัฐ ห้ามขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้ หลังมติ กนง.เสียวแตก 6 ต่อ 1 คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่าเดิม สั่งห้ามไม่ได้ ด้าน”อภิศักดิ์”ชี้ ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุด “อิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนต์” หลังแบงก์เอกชนลดค่าธรรมเนียนการโอนเงินผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง
“สถาบันการเงินของรัฐยังไม่ควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินของรัฐมีหน้าที่เดินตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งสิ่งสำคัญในขณะนี้คือ ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายการเติบ โตลงไปในทุกภาคส่วนให้ทั่วถึง ไม่ใช่การเติบโตแบบกระจุกตัวเหมือนปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องเร่งผลักดันการเจริญเติบโตลงสู่เศรษฐกิจระดับฐานรากให้เร็วที่สุด” นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวและกล่าวว่า
กรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 คงอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม 1.5% ต่อปี ถือเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว จะห้ามคงไม่ได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีทฤษฎีที่ให้นำมาพิจารณาได้ค่อนข้างมาก
นอกจากนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังพบว่า ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐหลายแห่งออกมาประกาศยก เลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ ถือเป็นการส่งสัญญาณของสถาบันการเงินไทยที่เข้าสู่ยุคอิเล็กทรอ นิกส์เพย์เมนต์ตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งมองว่า เรื่องนี้ จะยิ่งสนับสนุนให้ระบบพร้อมเพย์มีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้นพร้อมกันนี้ ปัจจัยที่ทำให้สถาบันการเงินปรับตัวถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องรักษาฐานลูกค้าโดยเรื่องดังกล่าวมองว่าเป็น ไปตามคาดการณ์ของรัฐบาล และยิ่งผลักดันให้นโยบาย National e-Payments สำเร็จเป็นรูปธรรมเร็วยิ่งขึ้น
“ผมยังต้องการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมทางการเงินของไทยไปยังประเทศที่มีชายแดนติดอยู่กับไทย ซึ่งล่าสุดมีการหารือเบื้องต้นกับประเทศสิงคโปร์แล้ว โดยหากสำเร็จก็จะเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเชื่อมโยงไปยังประเทศกลุ่ม CLMV” (กัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม)
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ธนาคารจะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ให้นานที่สุดหรืออย่างน้อยภายในปีนี้ จะไม่เห็นว่าธนาคารปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เพราะถือเป็นนโยบายที่ธนาคารเฉพาะกิจต้องปฏิบัติตามเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ขณะเดียวกัน ธนาคารก็ยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะรองรับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารหรือมีสภาพคล่องประมาณ 300,000-400,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ คาดแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทยจะปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด โดยตลาดคาดว่าจะมีการปรับขึ้น 2-3 ครั้งในปีนี้ ครั้งละ 0.25% อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพคล่องในระบบที่มีจำนวนมากถึง 3-4 ล้านล้านบาท ทำให้ธนาคารพาณิชน์ไม่ได้เร่งระดมเงินฝาก ขณะที่การปล่อยสินเชื่อก็ขยายตัวเพียง 1 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ทำให้สภาพคล่องที่มีอยู่ในขณะนี้ น่าจะเพียงพอกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ
“ถ้าหากเฟดขึ้นดอกเบี้ยมากเงินก็จะไหลออกจากไทยทำให้เงินบาทอ่อนค่าและเมื่อเงินไหลออกมีปริมาณมากๆ อัตราดอก เบี้ยในประเทศก็จะต้องปรับเพิ่มขึ้น แต่เบื้องต้น คิดว่า ภายในครึ่งปีนี้ จะยืนไว้ในระดับเดิม ส่วนครึ่งปีหลังก็จะเป็นไปตามสถานการณ์ ในส่วนของธนาคารออมสินเองจะพยายามตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ให้ได้ถึงสิ้นปี แต่ถ้าจะปรับขึ้น ก็จะขึ้นทั้งสองขาคือขาเงินฝากและสินเชื่อ”
ด้านนายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ขณะนี้ ธอส.ยังไม่มีแผนจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปจนถึงเดือนมิ.ย.2561 และมีแผนตรึงดอกเบี้ยยาวจนถึงกลางปีนนี้ และหากในช่วงครึ่งปีหลัง กนง.มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก1.50% เป็น 1.75% ต่อปี ธนาคารก็ยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้ สภาพคล่องส่วนเกินของธนาคารมีประมาณ 80,000-100,000 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอกับการปล่อยสินเชื่อตลอดทั้งปี แต่หากสภาพคล่องปรับลดลงมากกว่านี้ และธนาคารมีภาระต้นทุนที่สูงขึ้นก็อาจจะมีพิจารณาปรับชึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ .125% หรือ 50% ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้น.