ธสน.พร้อมลุยซีแอลเอ็มวี
ธสน.ตั้งเป้าสินเชื่อปีนี้ขยายตัว 9% มุ่งช่วยเหลือเอสเอ็มอีส่งออกในซีแอลเอ็มวี พร้อมเล็งเปิดสำนักงานตัวแทนในลาว กัม พูชาและเวียดนาม
“ธนาคารไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องกำไร เพราะเราได้รับมอบหมายให้ดูแลรายย่อย โดยเฉพาะผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีให้สามารถไปเปิดตลาดต่างประเทศได้” นายพิศิษฐ์ เสรีวัฒนา กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) แถลงข่าวผลดำเนินงานประจำปี2560 และทิศทางของธุรกิจในปีนี้
ในปีนี้ตั้งเป้า หมายการขยายตัวของสินเชื่อปีนี้เพิ่มขึ้น 9% ซึ่งจะส่งผลให้สิ้นปี2561 ยอดสินเชื่อคงค้างจะแตะ 100,000 ล้านบาทจากสิ้นปี2560 มียอดสิน 91,886 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 8,114 ล้านบาท สินเชื่อใหม่ 47,000 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 4-5% โดยวางเป้าหมายนำผู้ประกอบการไทยรุกขยายการค้าการลงทุนในตลาด CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียด นาม) โดยเฉพาะโครงการด้านพลังงานสาธารณูปโภค การบริการและการก่อสร้าง
“สินเชื่อที่ธนาคารปล่อยกู้มียอดคงค้างใน CLMV ปีแล้ว 27,895 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 30% ของพอร์ตสินเชื่อรวม และมีแผนจะเปิดสำนักงานตัวแทนใน สปป.ลาวและกัมพูชา เพิ่มเติมหลังจากปีที่แล้ว เปิดสำนักงานตัวแทนในเมียนมา โดยตั้งเป้าหมายปีนี้ สินเชื่อใน CLMV จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 10% โดยเฉพสะใน สปป.ลาวและเมียมนา นอกจากนี้ ธนาคารยังสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในตลาดใหม่ เช่น เอเชียใต้ และอินเดีย หลังจากตลาดหลักเริ่มแผ่วลง” นายพิศิษฐ์ กล่าวและกล่าวว่า
ในปีนี้ ธนาคารยังมุ่งเน้นช่วยเหลือผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอส เอ็มอี โดยได้พัฒนาบริการใหม่ สินเชื่อส่งออกสุขใจ เป็นบริการสินเชื่อหมุนเวียน พร้อมวงเงินสัญญาซื้อขายเงินตราต่าง ประเทศล่วงหน้า วง เงินสูงสุด 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 4.50% ต่อปี ในปีแรกสำหรับนิติบุคคลบัญชีเดียวตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนดอกเบี้ยปีที่ 2 ดอกเบี้ย Prime Rate – 1% ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย Prime Rate อยู่ที่ 6.25% อนุมัติภายใน 7 วัน ไม่ต้องมีหลักประกันใช้เพียงบุคคลค้ำประกันเท่านั้น ระยะเวลาการกู้ 3 ปี เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ไม่มีหลักประ กันสามารถเริ่มต้นส่งออกได้ โดยมีเป้าหมายอนุมัติวงเงินแก่ผู้ส่งออกเอสเอ็มอีรายใหม่ 750 รายในปีนี้ พร้อมดูแลสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) อยู่ที่ 3.57%
ขณะที่ยอดรับประกันการส่งออกและความเสี่ยงลงทุนปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 85,000 ล้านบาท มากว่าปีที่แล้ว ที่อยู่มียอดรับประกัน 65,903 ล้านบาท หรือเติบโต 30% เนื่องจากผู้ประกอบการไทยนิยมประกันการส่งออก เพราะเกรงกระแสเงินสดสะดุด และการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมืองในประเทศที่ไปลงทุน.