ชงมาตรการภาษีบรรเทาค่าแรงขั้นต่ำ
คลังชงมาตรการบรรเทาภาระผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ให้สามารถนำค่าแรงมาหักค่าใช้จ่ายได้ 1.15 เท่า ลดภาระได้ 9-10 บาท จากการปรับขึ้นค่าแรงตั้งแต่ 5-20 บาท เริ่ม 1 เม.ย.สิ้นสุด 30 ธ.ค.61
“ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 ม.ค.2561 กระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.พิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) เนื่องจากได้รับกระทบปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 5-20 บาทต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้น ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าว ส่ง ผลให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีภาระต้นทุนสูงขึ้น” นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าว และกล่าวว่า
ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปีและมีแรงงานไม่เกิน 200 คน หลังจากที่ได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับลูกจ้างแล้วสามารถนำค่า ใช้จ่ายจากค่าจ้างทั้งหมดมาหักค่าใช้จ่าย 1.15 เท่า ซึ่งเป็นมาตรการที่ปรับปรุงแก้ไขจากเดิมที่เคยใช้เมื่อปีที่แล้ว ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนำส่วนต่างของค่าแรงใหม่มาหักค่าใช้จ่ายได้ 1 เท่า เช่น เดิมได้รับค่าแรง 300 บาทต่อวัน ค่าแรงใหม่ได้รับ 320 บาทต่อวัน นำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 20 บาท เป็นต้น แต่มาตรการใหม่คือค่าแรงเก่า 300 บาทต่อวัน ได้รับค่า แรงใหม่ 320 บาทต่อวัน สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 1.15 เท่าของค่าแรงงางทั้งหมด 320 บาท โดยกระทรวงการคลังจะเสนอให้ ครม.อนุมัติและมีผลบัง คับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 ธ.ค.2561
“เศรษฐกิจไทยขณะนี้ เริ่มดี ผู้ประกอบการก็มีรายได้ดีขึ้น รัฐบาลมีแนวคิดที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่แรงานทั่วประเทศ เนื่องจากผู้ประกอบการที่ขายของได้มากขึ้น ก็ไม่ควรเก็บเงินไว้ใช้คนเดียว จึงต้องกระจายรายได้ออกไป แรงงานก็ควรได้รับผลตอบ แทนที่ดี เนื่องจากในช่วง 4 ปี ค่าแรงเพิ่มขึ้นแค่ 4% หรือเฉลี่ยปีละ 1% ถือว่าต่ำมาก”
นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงการคลังเชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยลดภาระผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้มาก เพราะเป็นการนำค่าจ้างทั้งหมด มาคำนวณเป็นรายจ่าย ไม่ใช่เฉพาะค่าจ้างในส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นเหมือนมาตรการที่ผ่านมา ส่งผลให้เมื่อมีการคำนวณผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวแล้ว จะพบว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มสูงสุด 20 บาท สามารถนำมาหักค่า ใช้จ่ายได้ 9-10 บาท เท่ากับว่า รัฐจะเข้าไปชดเชยค่ 1.15าแรงให้กับผู้ประกอบการได้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ส่วนจะมีการชดเชยมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับแรงงานแต่ละจังหวัดที่ขึ้นไม่เท่ากัน
“มาตรการที่กระทรวงการคลังจะให้ ครม.อนุมัติ จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไม่มาก แต่ในทางกลับกันสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและบรรเทาความเดือดร้อนได้จำนวนมาก”
ขณะที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ค่าจ้างแรงงานในไทยใช้อัตราคงที่มาหลายปี ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจ แต่ปีนี้สถานการณ์ดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวได้ดี เอกชนเริ่มมีการลงทุนมากขึ้น ทุกอย่างไปในทิศทางเดียว กัน ถ้าไม่มีการปรับขึ้นค่าแรงตามไปด้วย ก็จะเกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีก.