นักลงทุนต่างชาติยังแห่ลงทุน “อีอีซี”
การลงทุนในอีอีซี ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่า ในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนจะแผ่วลงเล็กน้อย ก็เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ระบุว่า โครงการอีอีซี หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน ออก คือมรดกที่เราทำเพื่อลูกหลากหลาน ในอีก 10-20 ปีข้างหน้า
เมื่อวันที่ 12 พ.ย.2563 คณะกรรมการอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ได้มีการประชุมครั้งที่ 4/2563 โดยมี นายสุพัฒพงษ์ เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรกของปีนี้ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลทางด้านเศรษฐกิจ
“วันจันทร์ที่ 16 พ.ย.นี้ จะมีข่าวดีจากสภาพัฒน์อย่างแน่นอน” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวและกล่าวว่า ที่ผ่านมา รัฐบาลพยา ยามอย่างเต็มที่ในการผลักดันในเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกและไวรัส โควิด-19 ให้น้อยสุดและล่าสุด เราคาดว่า สภาพัฒน์จะแถลงข่าวดีถึงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
ทั้งนี้ การขอรับส่งเสริมการลงทุนในอีอีซี ในช่วงเดือนม.ค.จนถึงเดือนก.ย.ปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนถึงแม้จะลดลงก็ตาม แต่ก็ไม่มาก โดยในพื้นที่ 3 จังหวัดของอีอีซี ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง รวม 9 เดือน มีจำนวนโครง การที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ทั้งสิ้น 313 โครงการ มูลค่า 109,430 ล้านบาท
ขณะที่ ช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีทั้งหมด 329 โครงการ มูลค่า 128,720 ล้านบาท
โดยมูลค่าของรับการส่งเสริมในอีอีซี คิดเป็น 49% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมทั้งประเทศ
ส่วนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง หรือเอฟดีไอ ในพื้นที่อีอีซี คิดเป็นสัดส่วน 58% ของมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมทั้งหมด โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 63,925 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีมูลค่า 94,687 ล้านบาท โดยประเทศที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น 16,533 ล้านบาท เนธอร์แลนด์ 13,697 ล้านบาทท จีน 13,019 ล้านบาท สิงคโปร์ 7,815 ล้านบาท และไต้หวัด 7,608 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากจำแนกการลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย พบว่า มีมูลค่า 53,058 ล้านบาท คิดเป็น 48% ของมูลค่าขอรับการส่งเสริมในอีอีซี ประกอบด้วย เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ 21,044 ล้านบาท ยานยนต์และชิ้นส่วน 13,799 ล้านบาท ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 7,866 ล้านบาท การเกษตรและแปรรูปอาหาร 1,468 ล้านบาท การท่องเที่ยว 744 ล้านบาท เทคโนโลยีชีวภาพ 5,598 ล้านบาท การแพทย์ 1,601 ล้านบาท ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ 645 ล้านบาท อากาศยาน 244 ล้านบาท และดิจิทัล 18 ล้านบาท
นายสุพัฒนพงษ์ กล่าวย้ำว่า การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในอีอีซี แสดงให้เห็นว่า การลงทุนยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะเป็นคำขอการลงทุนก็ตาม แต่การการลงทุนจริงๆ ก็มีจำนวนมาก ไม่ได้ลดลง
สำหรับแผนพัฒนาพื้นที่อีอีซี ที่อนุมัติในครั้งนี้คือ การสร้างราคาสินค้าเกษตรให้เท่าเทียมสินค้าจากอุตสาหกรรม
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า สิน ค้าเกษตรที่จะทัดเทียมอุตสาหกรรมตอนนี้คือ ทุเรียน เพราะคนจีนกินตลอดทั้งปีและมีราคาแพง ส่วนสินค้าอื่นๆ ที่จะสามารถพัฒนาได้นั้น จะให้ความสำคัญ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ ผลไม้ เน้นพัฒนาคุณภาพสินค้าเข้าถึงตลาด เพิ่มมูลค่าสินค้าเพิ่มรายได้เกษตรกร ประมงเพาะเลี้ยง เพิ่มมูลค่า ส่งเสริมแบบ Smart Farm สร้างอุตสาหกรรมอาหาร พืชชีวภาพ เชื่อม โยงความต้องการวัตถุดิบ สร้างมูลค่าเพิ่ม พืชสมุนไพร เชื่อมโยงความต้องการอุตสาหกรรมอาหารยา เครื่องสำอาง ปศุสัตว์ แปรรูปเนื้อโคคุณภาพสูง ยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้เกษตรกร
ทั้งนี้ แผนพัฒนาการเกษตรใน อีอีซี จะดำเนินโครงการสำคัญ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก พัฒนาความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซให้กับเกษตรกร พัฒนาเวชสำอางจากผลิตผลการเกษตร และพัฒนาการปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น รวมถึงการนำโครงข่าย 5 จี มาใช้อีอีซี ซึ่งขณะนี้ ไทยนำหน้าประเทศเพื่อนนานมากกว่า 2 ปี จึงเป็นจุดแข็งที่สำคัญในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ.