“อาคม”สั่งแบงก์รัฐพักดอกเบี้ย-เงินต้น
ภายในสัปดาห์นี้ กระทรวงการคลังจะมีข้อสรุปที่ชัดเจน กรณีมาตการของแบงก์ชาติ ที่จะยุติในวันที่ 22 ต.ค. หลังจากได้ประกาศใช้มาตรการดังกล่าว มาตั้งแต่เดือนเม.ย. เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19
“รองนายกรัฐมนตรี (สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ได้รายงานที่ประชุม ครม. (20 ต.ค.) ว่า ไอเอ็มเอฟได้ปรับตัวเลขประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจของไทย จากเดิมคาดว่า ปีนี้ จะติดลบอยู่ที่ 7.7% ก็ปรับดีขึ้นเป็นติดลบ 7.1% แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังสถานการณ์ โควิด-19 ปรับตัวที่ดี” นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าว และกล่าวว่า
ที่ผ่านมา รัฐบาลที่ดำเนินการอย่างต่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน เนื่องจากมีการล็อกดาวน์ และค่อยๆ ผ่อนคลายลง ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็เข้าไปช่วยเหลือเหลือสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ เอสเอ็มอีและผู้ประกอบการรายย่อย
ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารโลกระบุว่า ประเทศทางแถบเอ เชีย มีการฟื้นตัวเร็วกว่าภูมิภาคอื่นของโลก และที่สำคัญ เศรษฐกิจของอาเซียนปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 และจะดีต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 ปีนี้
รมว.คลัง กล่าวย้ำว่า ปัญหาของเศรษฐกิจไทยยังต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเติมสภาพคล่องเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจนั้น ยังจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะวันที่ 22 ต.ค.นี้ มาตราการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการช่วยภาระลูกหนี้ด้วยการหยุดชำระเงินและดอกเบี้ยระยะเวลา 6 เดือนจะสิ้นสุดลงนั้น แต่ยังมีลูกหนี้ที่ต้องได้รับการดูแลต่อไป
ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้จัดกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มๆ จำแนกตามสี ออก 4 กลุ่มประกอบด้วย 1.ลูกหนี้ที่สามารถกลับมาดำเนินการธุรกิจตามปกติ (สีเขียว) มีสัดส่วน 60% 2.กลุ่มลูกหนี้ที่กลับมาดำ เนินธุรกิจได้ แต่ยังไม่ฟื้นตัวดี มีอยู่ประมาณ 30% (สีเหลือง) 3.กลุ่มลูกหนี้ ที่ไม่สามารถชำ ระหนี้ได้ คือกลุ่มที่ รัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือ (สีแดง) ประมาณ 4% และ4.กลุ่มสุดท้ายคือ ลูกหนี้ที่ขาดการติดต่อกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6%
โดยกระทรวงการคลัง สั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศ รีบออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม นอก จากเหนือ จากที่ให้ความช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้
“ลูกหนี้ ที่ขอรับความช่วยเหลือจากมาตราการมีประมาณ 12 ล้านราย จำนวนเงิน 5.5 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 ล้านราย มีวงเงินสินเชื่อรายย่อย เอสเอ็มอี บริษัทห้างร้านและธุรกิจขนาดใหญ่คิดเป็นเม็ดเงิน 1.9 ล้านล้านบาทหรือ คิดเป็นประมาณ 30% ของยอดสินเชื่อทั้งหมด” นายอาคม กล่าวและยืนยันว่า รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่ม non-bank เพื่อเติมสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจไม่ให้ขาดหายไป.