ผวาจีดีพีไทยทรุดหนักติดลบ6%
เศรษฐกิจไทยทรุดหนักกว่าที่คาด สศช.ชี้จีดีพีไตรมาสแรก ติดลบ 1.8% มากที่สุดในรอบ 6 ปี ขณะที่ตลอดทั้งปีสาหัสมาก คาดติดลบถึง 6% ลุ้นงบพื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก 4 แสนล้านบาท “หัวเชื้อตัวใหม่เศรษฐกิจไทย”
“จีดีพี ไตรมาสแรกของปีนี้ ติดลบ 1.8% ไม่ใช่ติดลบมากที่สุด เพราะผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 เริ่มเกิดขึ้นในเดือนก.พ.และส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค. จึงคาดว่า จีดีพีไตรมาสที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย.) จะติดลบมากที่สุด” นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าว เช้าวันจันทร์ที่ 18 พ.ค.2563
พร้อมทั้งระบุว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะขยายตัวติดลบ 6-5 (-6.0)-(5.0) ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดจากผลกระทบของโควิด -19 การปิดเมือง ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ยอดส่งออกลดลง การท่องเที่ยวลดลง และการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่ไม่เป็นตามเป้าหมาย
นายทศพร กล่าวว่า จีดีพีไตรมาสแรกที่ติดลบ 1.8% เป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 24 ไตรมาส หรือ 6 ปี นับตั้งแต่ไตรมาสแรกปี2557 ซึ่งในช่วงนั้น เศรษฐกิจขยายตัวติดลบ 0.4%
สถานการณ์ของไวรัส โควิด-19 ในประเทศไทย มีเริ่มดีขึ้นอย่างต่อเรื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 26 มี.ค.2563 และมีการบังคับใช้เคอร์ ฟิว พร้อมกับสั่งปิดห้างสรรพสินค้า และมีบางจังหวัดปิดเมือง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีขึ้น โดยประเทศไทย ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 70 โลก ณ วันที่ 18 พ.ค.2563 โดยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมอยู่ที่ 3,301 ราย เสียชีวิต 56 ศพ.
ขณะที่บางวัน กระทรวงสาธารณะสุขของไทย ไม่พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ได้รับการยกย่องจากองค์กรอนามัยโลก หรือ WHO แต่ในภาพของความประสบความสำเร็จ จากการปิดเมือง ทำให้คนไทยต้องตกงานมากกว่า 10 ล้านคน ภาย ในระยะเวลา 3 เดือน อัตราการฆ่าตัวตายมีเห็นเกือบทุกวัน ในเว็บไซต์ และหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน
สศช.ระบุว่า ปัจจัยลบ ที่ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโควิด -19 มีหลายองค์ประกอบเช่น ยอดส่ง ออกลดลดและติดลบ 8% การลงทุนภาครัฐติดลบ 9.3% การใช้จ่ายภาครัฐติดลบ 2.7% การลงทุนภาคเอกชนติดลบ 5.5% สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารติดลบมากถึง 24% และจำนวนนักท่องเที่ยวติดลบ 38% เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสืบเนื่องมาจากการเมือง ทำให้งบประมาณปี2563 มีความล่าช้า สศช.จึงเสนอให้รัฐบาลเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 63 ให้ไม่ต่ำกว่า 90.2% ของวงเงินงบประ มาณ 3.2 ล้านล้านบาท โดยเบิกงบประจำและงบลงทุนได้ไม่ต่ำกว่า 99.0% และ 55.0% ตามลำดับ, การเบิกจ่ายงบ ประมาณเหลื่อมปีไม่ต่ำกว่า 90.0% และการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจไม่ต่ำกว่า 75.0%
พร้อมยืนยันว่า พ.ร.ก.กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท จะช่วยสร้างโอกาส หรือเป็นหัวเชื้อแห่งการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะเงินกู้จำนวน 400,000 ล้านบาท จะลงสู่ชนบททั้งหมด
ขณะที่ วงเงินใหญ่ 1 ล้านล้านบาท ตามพ.ร.ก.กู้เงินนั้น เงินจำนวน 600,000 ล้านบาท ได้ถูกนำไปเยียวยาประชาชนและเกษตรกร จำนวน 555,000 ล้านบาท กระทรวงการคลัง ได้กันเงินดังกล่าวไปช่วยเหลือประชาชนรายละ 5,000 บาท ระยะเวลา 3 เดือน จำนวน 16 ล้านคน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร ได้กันเงินสำหรับเยียวยาเกษตรกร 10 ล้านคน ครัวเรือนละ 5,000บาท จำนวน 16 ล้านคน และประกันสังคมอีก 11 ล้านคน ส่วนกลุ่มเปราะบางและคนชายขอบของสัง คม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้รับไปดูแล้ว 14 ล้านคน
“เงินกู้ 600,000 ล้านบาท ยังเหลือเงินที่สามารถนำไปใช้ได้อีกประมาณ 190,000-200,000 ล้านบาท ซึ่งเงินก้อนนี้ เราเตรียมเอาไว้เป็นก๊อก 2 หากมีการแพร่ระบาดโควิดอีกระลอก แต่หากไม่มีก็เก็บเอาไว” นายทศพร กล่าว
ส่วนวงเงินกู้ที่เหลืออีก 400,000 ล้านบาท จะเป็นงบสำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งจะเป็นเงินที่ลงสู่ท้องถิ่นรวมถึงการจ้างงาน ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานอยู่ระหว่างจัดทำโครงการ คาดจะเสร็จภายในเดือนมิ.ย. และคาดว่า จะเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ต้นเดือนก.ค.นี้ เป็นต้น
นายทศพร กล่าวว่า เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เพียงพอต่อการดำเนินมาตรการต่างๆ ในการแก้ไขสถานการณ์ของโควิด-19 โดยมองว่า เศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ไป จะเริ่มฟื้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือภาษาอังกฤษอักษร ตัวยู “U” ไม่ได้ซึมยาวเป็นตัวแอล “L” หรือกระเด้งขึ้นเป็นตัววี “V” ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่การระบาดรอบที่ 2 เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาขับ เคลื่อนได้ในไตรมาส 2 และเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ในไตรมาส 3
ขณะที่ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มกลับมาท่องเที่ยวไทยในช่วงไตรมาส 3 และ 4 จึงคาดว่า ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะติดลบมากกว่าไตรมาสแรก แต่หลังจากนั้น จะเริ่มดีขึ้น.