Reopening THAILAND มุมมองและจุดเปลี่ยนสำคัญ ของเศรษฐกิจไทย
Reopening THAILAND ร่วมสัมมนาในหัวข้อทำไมเศรษฐกิจไทยทดถอยในครั้งนี้จึงมีความแตกต่าง โดยเชิญ ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดี นิด้า , คุณวสันต์ เบนซ์ทองหล่อ ร่วมพูดคุยถึงวิกฤติในครั้งนี้ ดร.เปรมประชา ศุภสมุทร นายกสภา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก เปิดประเด็นได้น่าสนใจคือโรคระบาดทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยมีผลกระทบเยอะมากคนในประเทศประสบปัญหาตกงาน3-5ล้านคนในไทยและแรงงานทั่วโลกกว่า 3,300 ล้านคนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ และคาดว่าจะมีพนักงานประจำกลายเป็นคนว่างงานราว 195 ล้านคนในทั่วโลกวิกฤตครั้งนี้จึงหนักหนาสาหัสเป็นอย่างยิ่ง
ดร. เปรมประชา ศุภสมุทร นายกสภา สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก มองว่าโควิด-19 ส่งผลให้เรารู้จักปรับตัวมากกินขึ้น ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์เริ่มออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับอัตราการว่างานที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและราคาหุ้นร่วงไม่น้อยกว่า 20% นำไปสู่เศรษฐกิจทดถอยอย่างที่เห็น ทั้งนี้มีจุดจบที่เห็นได้ชัดเจนจากการทดถอยทางเศรษฐกิจเมื่อใดก็แล้วแต่ที่มีวัคซีนเศรษฐกิจที่ตกต่ำจะเริ่มดีขึ้นเศรษฐกิจทดถอยก็จะหมดไปอาจใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ต้องแก้ปัญหา2ทาง
1)ทำยังไงให้เศรษฐกิจมันดีขึ้นต้อง
2)ให้กลับมาทำทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนเดิมแต่การทำกิจกรรม อาจทำให้โรคระบาดกลับมาอีก
ด้าน คุณวสันต์ เบนซ์ทองหล่อ มองว่าถ้าเปิดประเทศแล้วเศรษฐกิจประเทศจะกลับมาดีขึ้นไหมวิกฤติครั้งนี้คุณวสันต์มองว่าเบากว่าต้มยำกุ้งตัวเลขผู้เสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกาสูงมาก แต่ผมมองว่าการเปิดประเทศจะทำให้ผู้เสียชีวิตมากที่สุดและอาชีพที่จะทำกำไรมากสุดคืออาชีพทำโลงศพ ผมมองว่าเราต้องป้องกันไม่ใช่การรักษาอีกหนึ่งเดือนที่ประชาชนคนไทยต้องอดทน
รัฐบาลต้องประกาศไปเลยว่าอดทนอีกหนึ่งเดือนและรัฐบาลจะไม่ทำให้ท่านลำบากและรัฐบาลต้องส่งถุงยังชีพไปให้ถึงทุกบ้านรัฐบาลตอนนี้ช่วยทุกอย่างแล้วกระทรวงการคลังก็ออกมาตรการช่วย แบงค์ชาติก็ให้หยุดหนี้ และให้กู้ดอกเบี้ยต่ำอีกสองปี วันนี้ยังมีคนทำงานได้บ้างและมีคนที่ทำงานไม่ได้เลยส่วนคนที่ทำงานไม่ได้เลยต้องไม่ให้เค้าหมดหวัง
วันนี้แบงค์ชาติให้หยุดหนี้ ผมมองว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก ผมมองว่าถ้าตัวเลขผู้ติดเชื้อ วันนึงไม่เกินหนึ่งถึงสองคนน่าจะเปิดประเทศได้แต่เราต้องเปิดแค่ภายในประเทศและต่างประเทศอย่าพึ่งให้เดินทางเข้ามาในประเทศ การใช้จ่ายในประเทศผมมองว่าจะช่วยให้ประเทศไปรอดและรัฐบาลก็อุดอัดเงินอุดหนุนเข้ามาในระบบ
ปัจจุบันเฝคนเจอวิกฤติต้มยำกุ้งมาเจอวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้ผมมองว่าเบามาก วันนี้ธนาคารพาณิชย์เองก็ลำบากสายการบินก็ลำบากในมุมมองของผมมันมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นในวิกฤตโควิด-19 ไฟป่าก็น้อยลงรถไม่ติดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ก็น้อยลง.
ด้วยประสบการณ์ผมไม่ไว้ใจโรคระบาดโควิด-19 ผมมองว่าจะทำราคาน้ำมันโลกติดลบอยู่
วิถีชีวิตของคนจะเปลี่ยนคนเจอคนเพราะเราไม่รู้ว่าอีกคนไปสัมผัสใครมาบ้าง และพอโรคหายแล้วเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นยากก
ศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ อธิการบดี นิด้า
มองว่าสิ่งที่เราทำมันอาจจะสูญเปล่าถ้ามีการปลดล็อคเร็วขึ้นผมว่าเราต้องค่อยค่อยเป็นค่อยค่อยไปต่างประเทศเค้าก็ชมเราว่ามาตรการของเราทำได้ดีในระดับหนึ่งส่วนหนึ่งที่น่าสนใจคือ
ผลวิจัยของสิงคโปร์ เรื่องของโควิด-19 จะจบเมื่อไหร่ดูตามเติมตัวเลขที่ 26 เมษา น่าจะจบโควิด-19 ทั้งหมด 97% จากผลวิจัยขอมหาวิทยาลัยที่สิงคโปร์
ผมถึงมองว่าเราต้องมีความอดทนอีกอย่างน้อยหนึ่งเดือนอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือการเรียนออนไลน์นะวันนี้มันมีหลายภาคส่วนที่สนับสนุนให้มีการเรียนออนไลน์เกิดขึ้นมุมมองของผมมองว่ามีอุปสรรคและความท้าทายเยอะมากมายในส่วนของนิด้า จากมีโควิด-19 เกิดขึ้นเป็นตัวเลขที่ทำให้ฉันใช้เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเทคโนโลยีออนไลน์สำหรับผมมองว่ามีประโยชน์การเรียนที่ผมมองว่าไม่ใช่การฝึกงานเป็นการเรียนที่ถ่ายทอดความรู้การเรียนออนไลน์ผมมองว่ามีประโยชน์
เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในโลกเราอุตสาหกรรมการศึกษาถูกกระทบน้อยที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อ 700 ปีที่แล้วการเรียนก็ยังเหมือนในครั้งนี้คือการเรียนอยู่ในห้องหนึ่งห้องและมีอาจารย์สอน ตอนนี้ได้มีการสอนออนไลน์และมีการโต้ตอบกับนักศึกษาทำให้ผมรู้ว่านักศึกษามีความสนใจมากน้อยขนาดไหน
ดังนั้นสำหรับผมการเรียนออนไลน์มันมีประโยชน์สำหรับผมแต่ต้องแยกในมุมที่เป็นการให้ข้อมูลอย่างเดียวเรียนออนไลน์ได้แต่ถ้าต้องมีการใช้ทักษะผมบอกว่าออนไลน์ยังไม่ตอบโจทย์