ครม.หนุนมาตรการ “ภาษี-การเงิน” อุ้ม ผปก.ท่องเที่ยว
ครม.ไฟเขียวคลัง งัดมาตรการ “ภาษี-การเงิน” อุ้มผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกือบทุกมิติที่ได้รับผลกระทบจากพิษโคโรนา ด้าน “โฆษกคลัง” หวังเม็ดเงินกู้-ดอกเบี้ยต่ำจากแบงก์รัฐ 1.23 แสนล้าน จะช่วยกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวไม่จมไปกับอาการหวาดเชื้อไวรัสฯ เผยกลุ่มธุรกิจการบินรับอานิสงส์ได้ลดภาษีน้ำมันเหลือแค่ลิตรละ 20 ส.ต. นานถึง 30 ก.ย.นี้
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง และ นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร ร่วมแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ปี 2563 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ปี 2563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกประเทศที่เกิดจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ
โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวถึงมาตรการการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจการท่องเที่ยว ปี2563 ว่า ประกอบด้วยมาตรการด้านภาษี และมาตรการด้านการเงิน
โดยมาตรการด้านภาษี ได้แก่ 1.การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร ภ.ง.ด. 90 และ ภ.ง.ด. 91 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการและช าระภาษีภายในเดือน มี.ค.2563 โดยให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในเดือน มิ.ย.2563
2.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้น ให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2563 เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง
3.มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกจิการโรงแรม โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม หักรายจ่ายสำหรับเงินได้เท่ากับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ ตั้งแต่วันที่1 ม.ค. – 31 ธ.ค.2563 เป็นจำนวน 1.5 เท่าของรายจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง
4.มาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับนำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น (น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินฯ) โดย ปรับลดอตัราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบินฯ ที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเที่ยวบินในประเทศ จากเดิม 4.726 บาทต่อลิตร เหลือ 0.20 บาทต่อลิตร ถึงวันที่ 30 ก.ย.2563
ส่วนด้านมาตรการด้านการเงิน มอบหมายให้สถาบันการเงินของรัฐ มีการดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขผ่อนปรน และการขยายเวลาชำระหนี้และค่าธรรมเนียม เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับเสริมสภาพคล่องและปรับปรุงสถานประกอบการ สำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา รวมถึงเพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการในช่วงที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ดังนี้
1.มาตรการขยายเวลาชำระหนี้และค่าธรรมเนียม ได้แก่ (1) ธนาคารออมสิน ขยายระยะเวลาการชา ระหนี้ให้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญา สูงสุดไม่เกิน 5 ปี
(2) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พักชำระหนี้เงินต้น สำหรับเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีวงเงินคงเหลือไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยต้องมีประวัติการผ่อนชำระหนี้
ดีไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนวันเข้าร่วมโครงการ และต้องไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผัดผ่อนการชำระหนี้ได้ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน ต่อเนื่องไม่เกิน 5 ครั้ง หรือสามารถขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ได้ไม่เกิน 20 ปี
(4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และงวดผ่อนชำระได้ไม่เกิน 6 เดือน โดยคิด
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี ส หรับลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ไกด์นา เที่ยว พนักงานโรงแรมผู้ประกอบการรายย่อยที่ขายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น
(5) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พักการชำระค่าธรรมเนียมการค้า ประกันสินเชื่อ 12 เดือน สำหรับลูกค้าธุรกิจบริการท่องเที่ยว ร้านอาหารและโรงแรมที่พักที่ได้รับผลกระทบ
2.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเงื่อนไขผ่อนปรน ของธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย วงเงินรวม 123,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น ร้อยละ 3 ต่อปี
นายลวรณ กล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังคาดหวังมาตรการการเงินการคลังข้างต้น จะช่วยกระตุ้นภาคธุรกิจการท่องเที่ยวปี 2563 ในช่วงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนาฯ ใหม่โดยจะช่วยเสริมสภาพคล่องและแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น สนับสนุนการปรับปรุงกิจการโรงแรม ซึ่งจะมีส่วนเป็นการจูงใจนักท่องเที่ยวให้เกิดการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น รวมถึงบรรเทาผลกระทบให้แก่อุตสาหกรรมการบินในประเทศไทย.